ปลาเวียนทอง
ปลาเวียนทอง | |
---|---|
![]() | |
ปลาวัยรุ่นขนาดประมาณ 35 ซ.ม. (14 นิ้ว) | |
![]() | |
ปลาวัยอ่อนในตู้เลี้ยง | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Actinopterygii |
อันดับ: | Cypriniformes |
วงศ์: | Cyprinidae |
สกุล: | Tor |
สปีชีส์: | T. putitora |
ชื่อทวินาม | |
Tor putitora (Hamilton, 1822) | |
ชื่อพ้อง[1] | |
|
ปลาเวียนทอง, ปลาเวียนยักษ์, ปลาเวียนหิมาลัย หรือในชื่อพื้นเมืองของลุ่มแม่น้ำสาละวินเรียกว่า ปลาคม (อังกฤษ: Putitor mahseer, Himalayan mahseer, Golden mahseer; ชื่อวิทยาศาสตร์: Tor putitora) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างคล้ายปลาที่อยู่ในสกุลปลาพลวง (Neolissochilus spp.) และปลาเวียน (Tor spp.) ชนิดอื่น เพียงแต่ขนาดเมื่อโตเต็มที่สามารถยาวได้ถึง 275 เซนติเมตร น้ำหนักถึง 54 กิโลกรัม ซึ่งนับว่าใหญ่ที่สุดสำหรับปลาในสกุลนี้ และนับว่าเป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งที่ใหญ่ติดอันดับโลก[2]
มีลายแถบสีน้ำเงินนอนขวางลำตัวหนึ่งคู่ เกล็ดตลอดทั้งลำตัวมีสีเหลืองหรือสีทอง ครีบและหางมีสีเหลืองเข้ม
พบในอินเดียทางตอนเหนือและตอนใต้ ในตอนเหนือพบที่เชิงเทือกเขาหิมาลัยแถบรัฐปัญจาบ และในแม่น้ำพรหมบุตร, แคว้นแคชเมียร์ในปากีสถาน, อัฟกานิสถาน, ภูฏาน และพบในแม่น้ำสาละวินแถบชายแดนพม่าติดกับไทยด้วย แต่พบน้อยมาก มีรายงานการพบเพียงแค่ 3 ครั้งเท่านั้น ในรอบ 28 ปี[3]
อ้างอิง[แก้]
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Tor putitora ที่วิกิสปีชีส์