ปราสาทยายเหงา
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
ปราสาทยายเหงา
ที่ตั้ง
[แก้]บ้านพูนทราย ตำบลบ้านชบ อำเภอสังขะ ห่างจาก ที่ว่าการอำเภอ ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ 4 กิโลเมตร อยู่ริมถนน สายโชคชัย - เดชอุดม (ทางหลวงหมายเลข 24) ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 189 - 190 จะมีป้าย บอกทาง จากถนนใหญ่เข้าไป เป็นทางคอนกรีต ปนทรายประมาณ 800 เมตร
ลักษณะปราสาท
[แก้]ปราสาทยายเหงา เป็นศาสนสถาน แบบขอม ที่ประกอบด้วยปรางค์ 2 องค์ ตั้งอยู่เรียงกัน ในแนว ทิศเหนือ-ใต้ หันหน้า ไปทาง ทิศตะวันออก องค์ปรางค์ก่อด้วยอิฐ ตั้งอยู่บน ฐานศิลาแลง มีการแกะสลักอิฐ เป็นลวดลาย เช่น ที่กรอบหน้าบัน เป็นรูปมกร (สัตว์ผสม ระหว่างสิงห์ ช้าง และปลา) คาบนาค 5 เศียร
จากลักษณะ แผนผังของอาคาร ปราสาทยายเหงา น่าจะประกอบด้วย ปรางค์ 3 องค์ ตั้งเรียงกัน แต่ปัจจุบัน เหลือเพียง 2 องค์เท่านั้น ภายในบริเวณปราสาท พบกลีบขนุนยอดปรางค์ เสาประดับกรอบประตู ฯลฯ แกะสลักจากหินทราย จัดแสดงไว้ อย่างเป็นระเบียบ บริเวณด้านหน้าปราสาท
ตำนานปราสาทยายเหงา
[แก้]สมัยก่อนมีคุณยายคนหนึ่งสามีไปออกศึกสงครามนานนมก็ไม่ได้กลับมาสักที ยายอยู่รอที่บ้านก็เลยสร้างปราสาทคอย แต่ไม่ปรากฏว่ายายได้พบกับตาหรือไม่ และปราสาทก็ดูเหมือนจะสร้างไม่แล้วเสร็จ ตำนานนี้เป็นเพียงเรื่องเล่าต่อๆ กันมา
ปราสาทยายเหงานี้มีภูมิลำเนาที่ บ้านสังขะ ตำบลสังขะ อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ มีลักษณะเป็นปราสาทแบบขอม ปรากฏอยู่ 2 หลัง หากดูตามการก่อสร้างอาจมีปรางค์อีกองค์คู่กัน แต่ยังไม่ได้เริ่มสร้าง ก่อด้วยอิฐ เป็นศิลปะแบบเขมร สร้างเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 16-17 ปัจจุบันปราสาทยายเหงาได้รับการบูรณะ ขุดแต่งแล้วเสร็จตามโครงการเมื่อไม่นานมานี้
อ้างอิง
[แก้]- กรมศิลปากร. (2550). ประวัติศาสตร์เมืองสุรินทร์. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์พริ้นติ้งและพับลิชชิ่ง. ISBN 978-974-425-057-5
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ ปราสาทยายเหงา
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
14°37′16″N 103°53′24″E / 14.621194°N 103.890056°E