หม่อมราชวงศ์สดศรี ปันยารชุน
คุณหญิง สดศรี ปันยารชุน ม.ว.ม., ป.ช., ต.จ. | |
---|---|
![]() | |
คู่สมรสนายกรัฐมนตรีไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 2 มีนาคม พ.ศ. 2534 – 7 เมษายน พ.ศ. 2535 | |
ก่อนหน้า | บุญเรือน ชุณหะวัณ |
ถัดไป | วรรณี คราประยูร |
ดำรงตำแหน่ง 10 มิถุนายน – 22 กันยายน พ.ศ. 2535 | |
ก่อนหน้า | วรรณี คราประยูร |
ถัดไป | ภักดิพร สุจริตกุล |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | หม่อมราชวงศ์สดศรีสุริยา จักรพันธุ์ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2479 |
เชื้อชาติ | ไทย |
บิดา | หม่อมเจ้าคัสตาวัส จักรพันธุ์ |
มารดา | หม่อมเจ้าทิตยาทรงกลด รพีพัฒน์ |
คู่สมรส | อานันท์ ปันยารชุน |
บุตร | นันดา ไกรฤกษ์ ดารณี เจริญรัชต์ภาคย์ |
หม่อมราชวงศ์สดศรี ปันยารชุน (เดิม: หม่อมราชวงศ์สดศรีสุริยา จักรพันธุ์; เกิด 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2479) ภริยาของอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ 18 ของไทย
ประวัติ[แก้]
หม่อมราชวงศ์สดศรี ปันยารชุน มีชื่อเดิมว่า หม่อมราชวงศ์สดศรีสุริยา จักรพันธุ์[1] เป็นธิดาของพลโท หม่อมเจ้าคัสตาวัส จักรพันธุ์ (พระโอรสในพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตน์จาตุรนต์ ประสูติแต่หม่อมหวน จักรพันธุ์ ณ อยุธยา) กับหม่อมเจ้าทิตยาทรงกลด รพีพัฒน์ (พระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ประสูติแต่ หม่อมอ่อน รพีพัฒน์ ณ อยุธยา) เกิดเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2479 มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน คือ
- หม่อมราชวงศ์กทลี สุนทรสิงคาล สมรสกับพันตำรวจเอกวสิฐ สุนทรสิงคาล
- หม่อมราชวงศ์ตราจักร จักรพันธุ์ สมรสกับอรวรรณ จักรพันธุ์ ณ อยุธยา (สกุลเดิม ตันตยาวนารถ)
หม่อมราชวงศ์สดศรี ปันยารชุน เป็นลื่อในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระปนัดดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์ และเป็นพระนัดดาในพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์
หม่อมราชวงศ์สดศรี ปันยารชุน สมรสกับอานันท์ ปันยารชุน มีธิดา 2 คน คือ
- นันดา ไกรฤกษ์ สมรสกับไกรทิพย์ ไกรฤกษ์ (บุตรพูนเพิ่ม ไกรฤกษ์ อดีตเลขาธิการสำนักพระราชวัง)
- ดารณี เจริญรัชต์ภาคย์ สมรสกับชัชวิน เจริญรัชต์ภาคย์ (บุตรศาสตราจารย์ นาวาเอก ดร.เจริญ เจริญรัชต์ภาคย์ ร.น. อดีตปลัดกระทรวงคมนาคม กับท่านผู้หญิงสมศรี เจริญรัชต์ภาคย์)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2535 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[2]
- พ.ศ. 2534 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[3]
- พ.ศ. 2534 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 3 ตติยจุลจอมเกล้า (ต.จ.) (ฝ่ายใน)[4]
ลำดับสาแหรก[แก้]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ พีระเดช อนุพงษ์ จักรพันธุ์, ม.ร.ว.. ๑๕๐ ปี สมเด็จเจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมีฯ กรมพระจักรพรรดิพงษ์. กรุงเทพฯ : กระทรวงการคลัง, 2548. 278 หน้า.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๕๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๖, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๒๐๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๒, ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๓๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-06-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๗๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖, ๓ พฤษภาคม ๒๕๓๔
ก่อนหน้า | หม่อมราชวงศ์สดศรี ปันยารชุน | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ท่านผู้หญิงบุญเรือน ชุณหะวัณ | ![]() |
คู่สมรสนายกรัฐมนตรีไทย (สมัยที่ 1) (2 มีนาคม พ.ศ. 2534 – 7 เมษายน พ.ศ. 2535) |
![]() |
คุณหญิงวรรณี คราประยูร |
คุณหญิงวรรณี คราประยูร | ![]() |
คู่สมรสนายกรัฐมนตรีไทย (สมัยที่ 2) (10 มิถุนายน พ.ศ. 2535 – 23 กันยายน พ.ศ. 2535) |
![]() |
ภักดิพร สุจริตกุล |