บัญญัติ (ศาสนาพุทธ)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก บัญญัติ (พุทธศาสนา))

บัญญัติ หรือ ที่ในภาษาบาลีเขียนว่า "ปญฺญตฺติ" คือ สิ่งที่จิตคิดค้นขึ้นเองโดยอาศัยปรมัตถธรรมที่เป็นอารมณ์ในวาระจิตก่อนๆ. บัญญัติจึงไม่มีอยู่จริง เพราะไม่ได้ถูกปัจจัยปรุงแต่งขึ้น เป็นได้แค่อารมณ์ของจิตเท่านั้น ไม่มีความสามารถในการเป็นปัจจยุปบัน ไม่สามารถเป็นผลของเหตุได้. บัญญัติจึงไม่มีสังขตลักษณะ คือ ไม่เกิด ไม่ดับ. ตัวอย่างของบัญญัติ เช่น อัตตา, ต้นไม้, กสิณปฏิภาคนิมิต, อนิจจตา (ไม่ใช่อนิจจัง) เป็นต้น.

ในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาได้แสดงไว้มากมายนับไม่ได้ สาเหตุที่ท่านแสดงไว้มากมายนั้น ก็เพื่อให้ปัญญาเจริญนั่นเอง. ในอภิธัมมัตถสังคหะ[1] นั้นจัดไว้ ๒ หมวด คือ อัตถบัญญัตติ (กสิณปฏิภาคนิมิตเป็นต้น) กับ นามบัญญัตติ (ชื่อว่า "ต้นไม้" เป็นต้น). อนึ่ง นามบัญญัติ ถูกเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สัททบัญญัติ.

  • อัตถบัญญัตติ จิตที่เกิดก่อนๆ จะประมวลมาเพื่อให้จิตหลังๆ รับรู้ โดยอาศัย ปุนสัญชานนปัจจยนิมิตกรณรสา (หน้าที่ทำเครื่องหมายให้จำได้อีกในอนาคตของสัญญาเจตสิก) ของวิถีจิตในวาระก่อนเป็นปกตูปนิสสยปัจจัยแก่วิถีจิตในวาระหลัง ตั้งแต่วาระอตีตัคคหณวิถี และวาระสมูหัคคหณวิถี ไปจนประมวลเป็นบัญญัติวาระอัตถัคคหณวิถี และนามมัคคหณวิถี เช่น จ้องบาตรหาน้ำลาย ที่ตกลงไปจะได้เขี่ยทิ้ง (ถ้ากินอาบัติของไม่ได้ปะเคน) อันนี้ไม่ต้องคิดเป็นคำๆ ไม่ต้องคิดชื่อเลยว่าจะเขี่ย "น้ำลาย" หรือแม้คิดแต่เราก็ไม่เขี่ยคำว่า "น้ำลาย"อยู่แล้ว เราก็คิดถึงน้ำลายซึ่งประมวลมาจากรูปที่เกิดในแบบต่างๆนั่นแหละแล้วก็รีบเขี่ยทิ้ง.

ลำดับวาระดังนี้: วาระที่เห็นสี เป็นวาระจักขุทวารวิถี ทางปัญจทวาร, วาระต่อเนื่องกันที่คิดถึงสี เป็นวาระอตีตัคคหณวิถี ทางมโนทวาร, วาระที่คิดถึงสีโดยไม่จำแนกรายละเอียด เป็นวาระสมูหัคคหณวิถี ทางมโนทวาร, วาระที่คิดถึงกลุ่มก้อนของสี เป็นวาระอัตถัคคหณวิถี ทางมโนทวาร, วาระที่คิดถึงคำเรียกขานของสี หรือของกลุ่มก้อนของสี เป็นวาระนามัคคหณวิถี ทางมโนทวาร. อนึ่งวาระทางมโนทวารทั้งหมดข้างต้น สมัยนี้นิยมเรียกว่า "ตทนุวัตติกะมโนทวาร".

  • นามบัญญัตติ จะประมวลมาเพื่อพูดคุยบอกกล่าว อันนี้ต้องคิดเป็นคำ ๆ เป็นชื่อ ๆ. ถ้าเป็นการฟังจะต้องคิดถึงชื่อก่อนจึงจะรู้อัตถบัญญัตตินะ เหมือนตอนฟังมาแล้วจำคำแปลไม่ได้หน่ะนึกแทบตายใช่ไหมครับ นั่นแหละชื่อมาก่อนอัตถะ. ส่วนทวาร ๔ ที่เหลือต้องรู้อรรถะก่อนจึงรู้ชื่อ เช่น เห็นหน้าดาราคุ้นๆ แต่ก็นึกชื่อไม่ออกนั่นแหละ, ส่วนใจนั้นจะรู้อัตถะหรือรู้ชื่อก่อนแบบไหนก็ได้ทั้งนั้น.

การแปลบาลีที่อธิบายเรื่องบัญญัติ[แก้]

การแปลเรื่องบัญญัติมักมีการแปลที่ผิดหลักความเป็นจริงอยู่บ่อยๆ คือ แปลให้บัญญัติกลายเป็นปรมัตถ์ เช่น แปลว่า "บัญญัติอาศัยปรมัตถ์เกิดขึ้น" เป็นต้น ซึ่งเป็นการแปลที่ขัดกับข้อเท็จจริงตามหลักปัฏฐานที่ว่า บัญญัติเป็นได้แค่อารัมมณปัจจัยเท่านั้น บัญญัติไม่สามารถเป็นปัจจยุปบันได้เลย แต่เมื่อแปลให้เกิดความเข้าใจไปว่า บัญญัติสามารถอาศัยปรมัตถ์ได้ ก็จะทำให้บัญญัติกลายเป็นธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่ง (สังขตธรรม) ขึ้นมาทันที ทั้งๆ ความจริงแล้วบัญญัติเป็นปัจจยุปบันไม่ได้ตามหลักปัฏฐาน.

การแปลที่ถูกต้องตรงตามหลักปัฏฐาน จึงควรโยคสภาวะธรรมที่เกี่ยวข้องกันมาใส่ด้วยให้ครบถ้วนตามหลักบาลี เช่น จากที่แปลว่า "บัญญัติอาศัยปรมัตถ์เกิดขึ้น" ก็ควรโยคจิตเข้ามาเป็น "จิตอาศัยปรมัตถ์ รู้บัญญัติ" โดยในคำแปลที่แก้แล้วนั้นมีอธิบายแยกลงไปว่า คำว่า "จิต" นั้น โยคเพิ่มเข้ามาได้เพราะ คำว่า "อาศัยปรมัตถ์" นั้น ต้องการปัจจยุปบันของปรมัตถ์ เมื่อบัญญัติเป็นปัจจยุปบันของปรมัตถ์ไม่ได้ ก็ต้องหาต้นตอของบัญญัติที่เป็นปัจจยุปบันได้แล้วโยคเข้ามาให้ครบตามหลักบาลี, ส่วนคำว่า "รู้" นั้น ก็โยคมาจากความหมายของบัญญัติที่ว่า "ปัญญาปิยตา (อัตถบัญญัติ)" กับ "ปัญญาปนโต (นามบัญญัติ)". คำโยคเหล่านี้ ถ้าคิดไม่ออก ในพระไตรปิฎก อรรถกถา และฏีกาต่างๆ ก็มักจะแสดงไว้ให้อยู่แล้ว แต่ต้องรอบคอบ ดูเรื่องปัจจัยปัจจยุปบัน และกฎไวยากรณ์ต่างๆ ให้ดี เพื่อไม่ให้โยคผิดพลาด.

ไตรลักษณ์ก็เป็นบัญญัติ[แก้]

ตามคัมภีร์ฝ่ายศาสนา ท่านให้ความหมายของขันธ์ กับ ไตรลักษณ์ไว้คู่กัน เพราะเป็น ลักขณวันตะ และ ลักขณะ ของกันและกัน[2][3][4][5][6] ดังนี้ :-

อนิจจลักษณะทำให้เราทราบได้ว่าขันธ์ 5 เป็นของไม่เที่ยง ไม่คงที่ ไม่ยั่งยืน ซึ่งได้แก่ อาการความเปลี่ยนแปลงไปของขันธ์ 5 เช่น อาการที่ขันธ์ 5 เคยเกิดขึ้นแล้วเสื่อมสิ้นไปเป็นขันธ์ 5 อันใหม่, อาการที่ขันธ์ 5 เคยมีขึ้นแล้วก็ไม่มีอีกครั้ง เป็นต้น.

แหล่งข้อมูลที่กล่าวว่าไตรลักษณ์เป็นบัญญัติ[แก้]

สำหรับแหล่งข้อมูลในคัมภีร์ที่กล่าวถึงไตรลักษณ์นัยที่เป็นบัญญัติ เท่าที่ค้นพบมีดังนี้ :-

  • "วุฏฺฐานคามินี ปน วิปสฺสนา กิมารมฺมณาติ? ลกฺขณารมฺมณาติ. ลกฺขณํ นาม ปญฺญตฺติคติกํ น วตฺตพฺพธมฺมภูตํ.-ก็วุฏฐานคามินีวิปัสสนามีอะไรเล่าเป็นอารมณ์? ตอบว่า มีลักษณะเป็นอารมณ์ ชื่อว่า ลักษณะมีคติเป็นบัญญัตติ เป็นนวัตตัพพธรรม ​"[7] .
  • "​ตทารัมมณ์ย่อม​ไม่ได้​ใน​วิปัสสนาที่มีอารมณ์​ไตรลักษณ์​. ​ตทารมณ์ย่อม​ไม่​ได้​ใน​พลวิปัสสนาที่​เป็นวุฏฐานคามินี​" [8].
  • "อาทิ-คฺคหเณน ขยาทิสภาวํ ตํ ตํ ธมฺมมุปาทาย ปญฺญาปิยมานํ อนิจฺจลกฺขณาทิกํ สงฺคณฺหาติ-ด้วยการถือเอาอาทิศัพท์ ท่านได้สงเคราะห์อนิจจลักษณะเป็นต้น อันบุคคลรู้กันได้โดยอาศัยธรรมะนั้นๆอันเป็นสภาวะที่สิ้นไปเป็นต้น"[9]
  • "​รูปนีลาทิอากา​โร​ ​รูปารมฺมณรูปาทานาการปญฺญตฺติ.​ ตชฺชาปญฺญตฺติ​ ​เหสา​ ​ยถา​ ​อนิจฺจตาทิ-อาการคือสีเขียวของรูปเป็นต้นเป็น (อาการ)บัญญัติแห่งอาการแห่งรูป คือ รูปารมณ์ (วัณณรูป) ที่ถูกจิตยึดเอา. จริงอยู่นี้เป็นตัชชาบัญญัตติ อาทิเช่น อนิจจตาเป็นต้น​"[10].
  • "​ตานิ​ ​ปน​ ​นิสฺสยานเปกฺขํ​ ​น​ ​ลพฺภนฺตีติ​ ​ปญฺญตฺติสภาวา​เนว​ ​ตชฺชาปญฺญตฺติภาวโตติ สตฺตฆฏาทิ​โต​ ​วิ​เสสทสฺสนตฺถํ​ ​ปน​ ​อฏฺฐกถายํ​ ​วิสุ​ ​วุตฺตานีติ. น​ ​หิ​ ​โกจิ​ ​สภา​โว​ ​กุสลตฺติกาสงฺคหิ​โตติ​ ​วตฺตุ​ ​ยุตฺตํ กุสลตฺติกสฺส​ ​นิปฺปเทสตฺตา​- แต่ว่าไตรลักษณ์ทั้งหลายย่อมไม่ได้ที่จะไม่เพ่งถึงที่อาศัยดังนี้ เพราะเป็นตัชชาบัญญัตติแห่งสภาวะที่มีบัญญัตติ ดังนี้,แต่ในอรรถกถาท่านได้กล่าวแยกไตรลักษณ์ทั้งหลายไว้ต่างหาก ก็เพื่อแสดงความแตกต่างจากสัตว์และหม้อเป็นต้น. เป็นการควรที่จะกล่าวว่า จริงอยู่ สภาวะอะไรๆที่จะไม่สงเคราะห์เข้าในกุสลติกะหามีไม่ดังนี้ เพราะกุสลติกะเป็นนิปเทสเทสนา (ทรงแสดงสภาวะไว้ไม่มีส่วนเหลือ)"[11].
  • "อิเม ตโยปิ อาการา อสภาวธมฺมตฺตา ขนฺธปริยาปนฺนา น โหนฺติ ฯ ขนฺเธหิ วินา อนุปฺปลพฺภนียโต ขนฺธวินิมุตฺตาปิ น โหนฺติ ฯ ขนฺเธ ปน อุปาทาย โวหารวเสน ลพฺภมานา ตทาทีนววิภาวนาย วิเสสการณภูตา ตชฺชาปญฺญตฺติวิเสสาติ เวทิตพฺพา ฯ-พีงทราบว่า อาการทั้ง ๓ อย่างไม่นับเข้าในขันธ์ เพราะเป็นธรรมะที่ไม่มีสภาวะ. แต่ก็ไม่เป็นทั้งขันธวินิมุตติด้วย เพราะเว้นจากขันธ์เสียแล้วก็จะมีไม่ได้. แต่เป็นตัชชาบัญญัตติต่างๆที่จิตอาศัยขันธ์ต่างๆ แล้วก็จึงได้บัญญัติมาด้วยอำนาจโวหาร เป็นตัชชาบัญญัตติที่เป็นเหตุแห่งความแตกต่างกันของการแสดงโทษของขันธ์นั้น ดังนี้"[12]

อ้างอิง[แก้]

  1. อภิธมฺมตฺถสงฺคโห,มรมฺม หน้า 57 ปริจเฉท 8 ข้อ 39
  2. พุทฺธโฆสาจริโย, วิสุทฺธิมคฺค-อฏฺฐกถา , อุปกฺกิเลสวิมุตฺตอุทยพฺพยญาณกถา, ปฏิปทาญาณทสฺสนวิสุทฺธินิทฺเทโส, วิสุทฺธิ. 2 ข้อ 739.
  3. ธมฺมปาลาจริโย, ปรมตฺถมญฺชูสา-ฎีกา, อุปกฺกิเลสวิมุตฺตอุทยพฺพยญาณกถาวณฺณนา ปฏิปทาญาณทสฺสนวิสุทฺธินิทฺเทสวณฺณนา วิสุทธิมคฺคมหาฎีกา, วิสุทฺธิ.มหาฏี. 2 ข้อ 739.
  4. พุทฺธโฆสาจริโย, สมฺโมหวิโนทนี-อฏฺฐกถา, อายตนวิภงฺคนิทฺเทสวณฺณนา สุตฺตนฺตภาชนีวณฺณนา อภิธมฺม-อฏฺฐกถา,อภิ.อฏฺ. 2 ข้อ 154.
  5. ธมฺมปาลาจริโย, มูลฎีกา, อายตนวิภงฺคนิทฺเทสวณฺณนา สุตฺตนฺตภาชนีวณฺณนา อภิธมฺม-มูลฎีกา, อภิ. มูลฏี. 2 ข้อ 154.
  6. ธมฺมปาลาจริโย, ลีนตฺถวณฺณนา-ฎีกา, อายตนวิภงฺคนิทฺเทสวณฺณนา สุตฺตนฺตภาชนีวณฺณนา อภิธมฺม-อนุฎีกา, อภิ. อนุฏี. 2 ข้อ 154.
  7. อภิ.ธ.อ.มกุฎ 75/-/620", บาลีอยู่ใน "​โลกุตฺตรกุสลวณฺณนา​ - -34- ​อฏฺฐสาลินี​ ​ธมฺมสงฺคณี​-​อฏฺฐกถา​ (พุทฺธโฆส) - ​อภิ​.​อฏฺ​. 1 ​ข้อ​ ๓๕๐"
  8. ในอภิ.วิ.อ.ฉ. มหามกุฎ 77/-/491 ค้นคำว่า ตทารมณ์ย่อม​ไม่​ได้​ใน​พลวิปัสสนา
  9. อภิธมฺมวิกาสินี 2 - อภิธมฺมาวตารฎีกา ๒ - ๑๒. ทฺวาทสโม ปริจฺเฉโท ปญฺญตฺตินิทฺเทสวณฺณนา - อภิธมฺมาวตารฏี.2/777
  10. ๑๖. ​ญาณวิภงฺ​โค​ - ๑. ​เอกกนิทฺ​เทสวณฺณนา​ - -35-​อนุ​- ​ลีนตฺถวณฺณนา​ 2 ​อนุฎีกาวิภงฺค์​ (ธมฺมปาล) - ​อภิ​.​อนุฏี​. 2 ​ข้อ​ ๗๖๖
  11. ติกนิกฺเขปกถาวณฺณนา - -34-อนุ- ลีนตฺถวณฺณนา 1 อนุฎีกาธมฺมสงฺคณี (ธมฺมปาล) - อภิ.อนุฏี. 1 ข้อ ๙๘๗
  12. ปญฺญานิทฺเทสวณฺณนา - ปฏิปทาญาณทสฺสนวิสุทฺธินิทฺเทสวณฺณนา – อุปกฺกิเลสวิมุตฺตอุทยพฺพยญาณกถาวณฺณนา-ปรมตฺถมญฺชุสา 2 วิสุทฺธิมคฺคมหาฎีกา 2 -วิสุทฺธิ.มหาฎีกา.2 ข้อ 740