นิคหกรรม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

นิคหกรรม (อ่านว่า นิก-คะ-หะ-กำ) แปลว่า การข่ม เป็นวิธีการลงโทษภิกษุตามพระธรรมวินัยเพื่อให้เข็ดหลาบ นิคหกรรม ใช้สำหรับลงโทษภิกษุผู้ทำเสียหาย เช่นก่อการทะเลาะวิวาทบาดหมาง ทำความอื้อฉาว มีศีลวิบัติ ติเตียนพระรัตนตรัย เล่นคะนอง ประพฤติอนาจาร ลบล้างพระบัญญัติ ประกอบมิจฉาชีพเป็นต้น นิคหกรรม เป็นกิจที่พึงทำอย่างหนึ่งของผู้ปกครองหมู่คณะ เป็นคำคู่กับปัคหะคือการยกย่อง ทั้งสองอย่างนี้เป็นเครื่องมือในการปกครอง มีความสำคัญเท่าๆ กัน ทั้งนี้เพื่อความอยู่ผาสุกแห่งสงฆ์ เมื่อมีผู้ประพฤติมิชอบ สมควรแก่นิคหกรรม พระพุทธเจ้าก็ทรงประทานอนุญาตให้สงฆ์ทำนิคหกรรมแก่ผู้นั้นตามพระธรรมวินัย

นิคหกรรม ในปัจจุบัน มีกฎของคณะสงฆ์เพื่อการนี้เรียกว่า กฎนิคหกรรม แต่ใช้ในกรณีความผิดที่ร้ายแรง หรือ คุรุกาบัติ และต้องเป็นไปตามพระธรรมวินัยเท่านั้น

วิธีการตัดสิน[แก้]

นิคหกรรม ที่ระบุไว้ในพระธรรมวินัยมี 6 วิธี คือ

  1. ตัชนียกรรม ข่มไว้ด้วยการตำหนิโทษ
  2. นิยสกรรม ถอดยศ ทำให้หมดอำนาจหน้าที่
  3. ปัพพาชนียกรรม ขับไล่ออกจากหมู่คณะ ให้สึก
  4. ปฏิสารณียกรรม บังคับให้ขอขมาเมื่อล่วงเกินคฤหัสถ์
  5. อุกเขปนียกรรม ตัดสิทธิ์ที่จะพึงได้บางอย่าง
  6. ตัสสาปาปิยสิกากรรม ลงโทษหนักกว่าความผิดฐานให้การกลับไปกลับมา

อ้างอิง[แก้]