ข้ามไปเนื้อหา

เดอะวอลล์สตรีทเจอร์นัล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Wall Street Journal)
เดอะวอลล์สตรีทเจอร์นัล
Trust Your Decisions
ประเภทหนังสือพิมพ์รายวัน
รูปแบบบรอดชีต
เจ้าของNews Corp (โดย Dow Jones & Company)
ผู้ก่อตั้ง
ผู้เผยแพร่Almar Latour
หัวหน้าบรรณาธิการMatt Murray
รองบรรณาธิการ
  • Jason Anders
  • Neal Lipschutz
บรรณาธิการบริหารKaren Miller Pensiero
ผู้จัดการทั่วไปAaron Kissel
บรรณาธิการเจตคติPaul A. Gigot
บรรณาธิการถ่ายภาพLucy Gilmour
ก่อตั้งเมื่อ8 กรกฎาคม 1889; 135 ปีก่อน (1889-07-08)
ภาษาอังกฤษ
สำนักงานใหญ่
ประเทศสหรัฐอเมริกา
ยอดจำหน่าย
  • 2,834,000 รายวัน
  • 1,005,000 ตีพิมพ์
  • 1,829,000 เฉพาะดิจิทัล
(as of สิงหาคม 2019)[1]
เลขมาตรฐานสากล (ISSN)0099-9660 (พิมพ์)
1042-9840 (เว็บ)
OCLC number781541372
เว็บไซต์www.wsj.com
ปกเดอะวอลล์สตรีทเจอร์นัลฉบับแรก 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2432

เดอะวอลล์สตรีทเจอร์นัล (อังกฤษ: The Wall Street Journal) เป็นหนังสือพิมพ์รายวันระหว่างประเทศภาษาอังกฤษที่มีต้นกำเนิดในสหรัฐอเมริกา ตีพิมพ์ในนครนิวยอร์กโดยดาวโจนส์แอนด์คอมพานี ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของนิวส์คอร์ปอเรชัน เช่นเดียวกับรุ่นเอเชียและยุโรปของหนังสือพิมพ์

เดอะวอลล์สตรีทเจอร์นัลเป็นหนังสือพิมพ์ที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกาหากคิดตามยอดจัดจำหน่าย ตามข้อมูลของสำนักงานสถิติยอดจำหน่ายสิ่งพิมพ์ (Audit Bureau of Circulations) หนังสือพิมพ์ดังกล่าวมียอดจำหน่าย 2,092,523 ฉบับ[2] (รวม 400,000 ฉบับที่บอกรับสมาชิกออนไลน์แบบเสียค่าใช้จ่าย) จนถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2553[3] เหนือกว่ายูเอสเอทูเดย์ที่ 1.8 ล้านฉบับ คู่แข่งรายสำคัญในภาคหนังสือพิมพ์ธุรกิจ คือ ไฟแนนเชียลไทมส์ซึ่งตั้งอยู่ที่กรุงลอนดอน และได้ตีพิมพ์รุ่นต่างประเทศหลายรุ่นเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ในแง่ของยอดจัดจำหน่ายแล้ว ดิอีโคโนมิกไทมส์ของอินเดียเป็นหนังสือพิมพ์ธุรกิจรายวันที่มียอดจำหน่ายสูงที่สุดเป็นอันดับสองของโลก รองจากเดอะวอลล์สตรีทเจอร์นัล

เนื้อหาในเดอะวอลล์สตรีทเจอร์นัลส่วนใหญ่ครอบคลุมประเด็นเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาและธุรกิจระหว่างประเทศ ตลอดจนข่าวสารและประเด็นด้านการเงิน ชื่อหนังสือพิมพ์มาจากวอลล์สตรีท ซึ่งตั้งอยู่ในนครนิวยอร์ก อันเป็นหัวใจของย่านการเงิน หนังสือพิมพ์มีการตีพิมพ์อย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ก่อตั้งเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2432 โดยชาร์ลส์ ดาว, เอ็ดเวิร์ด โจนส์และชาร์ลส์ เบิร์กสเทรสเซอร์ รุ่นหนังสือพิมพ์ได้รับรางวัลพูลิตเซอร์สามสิบสามครั้ง[4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "News Corporation 2019 Annual Report on Form 10-K". U.S. Securities and Exchange Commission. 2019-08-13. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-24. สืบค้นเมื่อ 2022-03-08.
  2. "?". th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-20. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  3. Plambeck, Joseph (April 26, 2010). "Newspaper Circulation Falls Nearly 9%". The New York Times.
  4. "Press Release: Wall Street Journal is Honored with Two Pulitzer Prizes: for Reporting on Stock Options Backdating and on China". ThongchaiDonWanon. April 16, 2007. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-08. สืบค้นเมื่อ June 13, 2010.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]