เหตุโจมตีคณะผู้แทนทางทูต พ.ศ. 2555

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เหตุโจมตีคณะผู้แทนทางทูต
พ.ศ. 2555
สถานที่ทั่วโลก
วันที่11 - 27 กันยายน พ.ศ. 2555
เป้าหมายคณะผู้แทนทางทูต
ประเภทการจลาจล การลอบวางเพลิง การโจมตีด้วยอาวุธ
อาวุธอาร์พีจี, อาวุธปืน
ตาย
75 คน
  • 33 (อัฟกานิสถาน)[1][2]
  • 23 (ปากีสถาน)[3][4][5]
  • 4 (เยเมน)[6]
  • 4 (ตูนิเซีย)[7]
  • 4 (ชายแดนอิสราเอล)[8]
  • 3 (ซูดาน) [9]
  • 3 (เลบานอน)[9][10]
  • 1 (อียิปต์)[11]
เจ็บ
กว่า 687 คน
  • 280+ (ปากีสถาน)[5][12][13]
  • 250 (อียิปต์)[14]
  • 46 (ตูนิเซีย)[7]
  • 35 (เยเมน)[6]
  • 25 (อินเดีย)[15]
  • 25 (ออสเตรเลีย)[16]
  • 15 (เลบานอน)[9][10]
  • 1+ (อัฟกานิสาน)[1]
ผู้ก่อเหตุซาลาฟี (อียิปต์)[17]
มือปืน อาจเกี่ยวโยงกับกลุ่มอัลกออิดะฮ์ (ลิเบีย)[18]
ผู้ประท้วงมุสลิม (อินเดีย ตูนิเซีย เยเมน)[15]
ฏอลิบาน (อัฟกานิสถาน)[19]

วันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555 คณะผู้แทนทางทูตสหรัฐในกรุงไคโร ประเทศอียิปต์ ถูกรุมล้อมโดยผู้ประท้วง ชัดเจนว่าเป็นการสนองต่อวิดีโอต่อต้านอิสลามออนไลน์ ที่มีชื่อว่า Innocence of Muslims กลุ่มผู้ประท้วงปีนกำแพงสถานเอกอัครราชทูตและฉีกธงชาติสหรัฐอเมริกาและแทนที่ด้วยธงอิสลามสีดำ เหตุการณ์ดังกล่าว และเหตุโจมตีด้วยอาวุธต่อสถานกงสุลสหรัฐในเบงกาซี ประเทศลิเบีย ซึ่งมีรายงานคลาดเคลื่อนอย่างกว้างขวางว่าเป็นปฏิกิริยาต่อภาพยนตร์ดังกล่าวเช่นกัน ทำให้เกิดการเดินขบวนอย่างต่อเนื่องทั่วโลกต่อต้านภาพยนตร์ดังกล่าวตามมา นอกสถานทูตของสหรัฐอเมริกาและประเทศตะวันตกอื่น ๆ อย่างไรก็ดี ประเด็นแห่งความไม่พอใจเบื้องหลังอื่นเป็นเชื้อการประท้วงในบางประเทศ การประท้วงซึ่งดำเนินอยู่ในสัปดาห์ต่อ ๆ มายังขยายไปยังสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับตะวันตกอื่น ๆ ด้วย โดยการประท้วงบางแห่งได้กลายเป็นเหตุรุนแรง ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตหลายสิบคนและบาดเจ็บหลายร้อยคน

วันที่ 13 กันยายน เกิดการประท้วงที่สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาในกรุงซานา ประเทศเยเมน ซึ่งเป็นเหตุให้ผู้ประท้วงเสียชีวิต 4 คน และมีผู้ประท้วงและเจ้าหน้าที่ความมั่นคงได้รับบาดเจ็บ 35 คน[6] วันที่ 14 กันยายน สถานกงสุลในเจนไน ประเทศอินเดีย ถูกโจมตี ส่งผลให้มีผู้ประท้วงได้รับบาดเจ็บ 25 คน[15] ผู้ประท้วงในตูนิส ประเทศตูนิเซีย ปีนกำแพงสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาและจุดไฟเผาต้นไม้ แหล่งข่าวรัฐบาลรายงานว่า มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 4 คน และอีก 46 คนได้รับบาดเจ็บระหว่างการประท้วงเมื่อวันที่ 15 กันยายน[7] มีการประท้วงเพิ่มเติมที่คณะผู้แทนทางทูตสหรัฐและสถานที่อื่นหลายวันหลังการโจมตีครั้งแรก การประท้วงและเหตุโจมตีที่เกี่ยวข้องส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมากทั่วทั้งตะวันออกกลาง แอฟริกา ปากีสถานและอัฟกานิสถาน

เหตุโจมตีสถานกงสุลสหรัฐในลิเบีย[แก้]

วันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555 สถานกงสุลสหรัฐอเมริกาในเบงกาซี ประเทศลิเบีย ถูกโจมตีโดยกองกำลังอาสาสมัครติดอาวุธ ในการยิงต่อสู้กันนานเกือบ 5 ชั่วโมง ระหว่างนั้น คริสโตเฟอร์ สตีเฟนส์ เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำลิเบีย และคณะผู้แทนทางทูตอื่นอีก 3 คน เสียชีวิต[20][21]

มีรายงานอย่างกว้างขวางว่า เหตุดังกล่าวเป็นปฏิกิริยาต่อภาพยนตร์ต่อต้านอิสลาม Innocence of Muslims แต่ถูกค้านโดยรัฐบาลลิเบีย[22] ภายหลังหน่วยข่าวกรองสหรัฐอเมริกายังยืนยันว่า "การก่อการร้ายโดยเจตนาและมีการจัดระเบียบ" ไม่ได้มีสาเหตุมาจากภาพยนตร์[23] นักวิเคราะห์เอกชน ข้ารัฐการสหรัฐและลิเบียบางคนสังเกตว่า เหตุโจมตีดังกล่าวดำเนินการอย่างเป็นมืออาชีพ[24][25][26]

มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 9 คนในเหตุนี้ เป็นชาวอเมริกัน 2 คน และชาวลิเบีย 7 คน

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Rayment, Sean; Farmer, Ben (September 14, 2012). "British troops help fight off Taliban attack on Afghan military base housing Prince Harry". The Daily Telegraph. สืบค้นเมื่อ September 15, 2012.
  2. "Female suicide bomber strikes Kabul bus". Al Jazeera English. September 18, 2012. สืบค้นเมื่อ September 18, 2012.
  3. Pakistani man dies after inhaling fumes from burning American flags at anti-Islam film rally
  4. Death toll rises in Pakistan video protests
  5. 5.0 5.1 "New film protests in Pakistan as death toll rises to 21". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-03. สืบค้นเมื่อ 2012-10-13.
  6. 6.0 6.1 6.2 "4 killed as Yemeni police, demonstrators clash at U.S. Embassy". CNN. September 13, 2012. สืบค้นเมื่อ September 13, 2012. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "edition" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน
  7. 7.0 7.1 7.2 "Tunisia death toll rises to four in U.S. embassy attack" เก็บถาวร 2012-09-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Reuters via Trust.org. September 15, 2012. Retrieved September 15, 2012.
  8. "Shadowy Egypt-based group claims Israel border attack, cites video as motive". Washington Post. 23 September 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-05. สืบค้นเมื่อ 23 September 2012.
  9. 9.0 9.1 9.2 "Embassies under attack over anti-Islam video". Al Jazeera English. สืบค้นเมื่อ September 14, 2012.
  10. 10.0 10.1 "News: One killed in violent Lebanon protest over anti-Islam film". The Daily Star. สืบค้นเมื่อ September 14, 2012.
  11. "Protesters clash with police near US Embassy in Cairo, one dead". Telegraph. 15 September 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-26. สืบค้นเมื่อ 15 September 2012.
  12. Timeline, Protests over anti-Islam video
  13. Fallout of film, Pak mob sets church ablaze, pastor’s son injured in attack
  14. "224 injured so far at U.S. embassy clashes in Cairo: Health ministry – Politics – Egypt – Ahram Online". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-14. สืบค้นเมื่อ 2012-09-14.
  15. 15.0 15.1 15.2 George, Daniel P (September 14, 2012). "US consulate targeted in Chennai over anti-Prophet Muhammad film". The Times of India. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-21. สืบค้นเมื่อ September 14, 2012.
  16. ""Muslim protesters clash with police in Sydney", Nine News". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-09. สืบค้นเมื่อ 2012-09-16.
  17. "US envoy dies in Benghazi consulate attack". Al Jazeera English. September 12, 2012. สืบค้นเมื่อ September 12, 2012.
  18. "U.S. ambassador to Libya killed in Benghazi attack". September 12, 2012.
  19. "Taliban link Afghanistan attack to anti-Islam film". Reuters. September 15, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-16. สืบค้นเมื่อ September 15, 2012.
  20. "Travel Warning - Libya". U.S. Embassy in Tripoli, Libya. date=2012-09-12. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-14. สืบค้นเมื่อ 2012-10-07. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help); ไม่มี pipe ใน: |date= (help)
  21. "President Obama on the Attack in Benghazi". International Information Programs, U.S. Embassy. 2012-09-12. สืบค้นเมื่อ 2012-10-03.
  22. Catherine Herridge, James Rosen and Pamela Browne (2012-09-17). "No demonstration before attack on US Consulate, source says". Fox News. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |access= ถูกละเว้น แนะนำ (|access-date=) (help)
  23. Mark Hosenball (2012-09-28). "U.S. intelligence now says Benghazi attack "deliberate and organized"". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-04. สืบค้นเมื่อ 2012-10-03.
  24. Michael, Maggie; Alfitorya, Osama (September 12, 2012). "US Ambassador Killed in Consulate Attack in Libya". ABC News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-15. สืบค้นเมื่อ 24 September 2012.
  25. "Libya rescue squad ran into fierce, accurate ambush". Reuters. September 12, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-13. สืบค้นเมื่อ 2012-09-14.
  26. Robertson, Nic; Cruickshank, Paul; Lister, Tim (September 13, 2012). "Pro-al Qaeda group seen behind deadly Benghazi attack". CNN. สืบค้นเมื่อ September 13, 2012.