ปรากฏการณ์ 2012
ปรากฏการณ์ 2012 ประกอบด้วยขอบเขตความเชื่อทางโลกาวินาศศาสตร์ว่าจะมีเหตุการณ์อันนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงหรือวินาศภัยฉับพลันเกิดขึ้นในวันที่ 21 ธันวาคม ค.ศ. 2012[1][2][3] ซึ่งวันนั้นกล่าวกันว่าเป็นวันสิ้นสุดของวัฏจักรปฏิทินแบบนับยาวเมโสอเมริกา 5,125 ปี[4] มีการเสนอข้อสนับสนุนทางดาราศาสตร์และสูตรพยากรณ์ที่เกี่ยวข้องกับวันดังกล่าวออกมาเป็นจำนวนมาก แต่ทั้งหมดล้วนไม่ได้รับการยอมรับจากวิชาการกระแสหลัก
การเปลี่ยนผ่านนี้ ขบวนการยุคใหม่ตีความว่า วันนั้นเป็นจุดเริ่มต้นของเวลาซึ่งโลกและพลโลกอาจมีการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพหรือทางจิตวิญญาณในทางบวก และวันที่ 21 ธันวาคม ค.ศ. 2012 อาจเป็นจุดเริ่มต้นของยุคใหม่[5] คนอื่นเสนอว่า วันนั้นเป็นจุดสิ้นสุดของโลกหรือมหันตภัยที่คล้ายกัน มีการเสนอสมมติสภาพการสิ้นสุดของโลกต่าง ๆ ตั้งแต่การมาถถึงของโซลาร์แม็กซิมัมครั้งถัดไป ปฏิกิริยาระหว่างโลกกับหลุมดำ ณ ใจกลางดาราจักร[6] หรือการชนกับดาวเคราะห์ชื่อ "นิบิรุ"
นักวิชาการหลายสาขาไม่สนใจความคิดว่าจะเกิดมหันตภัยใน ค.ศ. 2012 นักวิชาการเรื่องมายาอาชีพกล่าวว่า การคาดคะเนเคราะห์ที่ใกล้เข้ามานั้นไม่เคยถูกพบในบันทึกมายาดั้งเดิมเท่าที่มีอยู่เลย และความคิดที่ว่าปฏิทินแบบนับยาว "สิ้นสุด" ลงใน ค.ศ. 2012 เป็นการตีความประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมมายาที่ผิด[3][7] มายาสมัยใหม่ไม่สนใจว่าวันดังกล่าวมีความสำคัญ และแหล่งข้อมูลดั้งเดิมเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวมีน้อยและไม่ลงรอยกัน โดยเสนอว่า มีการตกลงที่เป็นสากลน้อยมากถึงไม่มีเลยในหมู่พวกเขาว่าหากจะมีอะไรเกิดขึ้น วันดังกล่าวน่าจะมีความหมายอย่างไร[8] นอกจากนั้น นักดาราศาสตร์และนักวิทยาศาสตร์อื่น ๆ เห็นว่าการทำนายวันสิ้นโลกเป็นการสรุปผลโดยปราศจากเหตุผล โดยกล่าวว่าเหตุการณ์ที่คาดการณ์ไว้นั้นขัดแย้งกับการสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์อย่างง่าย[9]
ปฏิทินแบบนับยาวเมโสอเมริกา
[แก้]เดือนธันวาคม ค.ศ. 2012 เป็นการสิ้นสุดของแบ็กทัน (b'ak'tun) ระยะเวลาในปฏิทินแบบนับยาวเมโสอเมริกาซึ่งถูกใช้ในอเมริกากลางก่อนการมาถึงของชาวยุโรป แม้ปฏิทินดังกล่าวน่าจะคิดค้นขึ้นโดยโอลเมกมากที่สุด[10] แต่ได้กลายมามีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับอารยธรรมมายา ซึ่งยุคคลาสสิกของมายากินเวลาตั้งแต่ ค.ศ. 250 ถึง 900[11] ระบบการเขียนของมายาคลาสสิกได้ถอดรหัสไว้อย่างชัดเจน[12] หมายความว่า รวมเรื่องเขียนของมายาและแผ่นวัตถุที่ได้รับการจารึกอยู่รอดมาได้จากก่อนการยึดครองของชาวยุโรป
ไม่เหมือนกับโซลคิน (tzolk'in) 260 วันที่ชาวมายายังใช้ในปัจจุบัน ปฏิทินแบบนับยาวเป็นแบบตรงมากกว่าวัฏจักร และรักษาเวลาคร่าว ๆ หน่วยละ 20 คือ 20 คิน (วัน) เป็น 1 อุยนัล, 18 อุยนัล (360 วัน) เป็น 1 ทัน, 20 ทัน เป็น 1 คาทัน และ 20 คาทัน (144,000 วัน) เป็น 1 แบ็กทัน สำหรับวิธีการอ่าน วันที่มายา 8.3.2.10.15 จะหมายถึง 8 แบ็กทัน 3 คาทัน 2 ทัน 10 อุยนัล และ 15 คิน[13][14]
วันสิ้นโลก
[แก้]ในวรรณกรรมมายามีประเพณีเกี่ยวกับ "ยุคสมัยของโลก" อย่างชัดเจน แต่บันทึกได้ถูกบิดเบือนไป ทิ้งให้ความเป็นไปได้หลายประการต้องตีความต่อไป[15] ตามโพโพล วูห์ บันทึกตำนานที่รวบรวมรายละเอียดของตำนานสร้างโลกซึ่งเป็นที่รู้จักกันในหมู่มายากีเชแห่งที่สูงยุคอาณานิคม เรากำลังอาศัยอยู่ในโลกที่สี่[16] โพโพล วูห์อธิบายว่า พระเจ้าสร้างโลกที่ล้มแล้วขึ้นมาก่อนสามใบ ตามด้วยโลกที่สี่ที่สัมฤทธิ์ผล ซึ่งมนุษยชาติถูกจัดให้อยู่อาศัย ในปฏิทินแบบนับยาวมายา โลกที่แล้วสิ้นสุดหลัง 13 แบ็กทัน หรือราว 5,125 ปี "วันที่ศูนย์" ของปฏิทินแบบนับยาวเป็นจุดในอดีตที่เป็นจุดสิ้นสุดของโลกที่สามและเป็นจุดเริ่มต้นของโลกปัจจุบัน ซึ่งตรงกับวันที่ 11 หรือ 13 สิงหาคม 3114 ปีก่อนคริสตกาลในปฏิทินก่อนเกรโกเรียน[17] นี่หมายความว่าโลกที่สี่จะมาถึงจุดสิ้นสุดของแบ็กทันที่สิบสามเช่นเดียวกัน หรือวันที่มายา 13.0.0.0.0 หรือตรงกับวันที่ 21 ธันวาคม ค.ศ. 2012[1]
ใน ค.ศ. 1957 ผู้เชี่ยวชาญเรื่องมายาและนักดาราศาสตร์ โม วูสเตอร์ มาเคมสัน เขียนว่า "การครบรอบของวัฎจักรใหญ่นาน 13 แบ็กทันจะมีความสำคัญสูงสุดต่อชาวมายา"[18] ใน ค.ศ. 1966 ไมเคิล ดี. โคล เขียนในหนังสือเดอะมายา ว่า:
“ | มีข้อเสนอแนะ... ที่ว่าอาร์มาเกดดอนจะตามทันพลโลกที่เสื่อมทรามและการสรรค์สร้างทั้งหลายในวันสุดท้ายของ[แบ็กทัน]ที่สิบสาม ด้วยเหตุนี้ เอกภพของเราในปัจจุบันจะถูกทำลาย[ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2012] เมื่อวัฏจักรใหญ่ของปฏิทินแบบนับยาวเวียนมาบรรจบอีกครั้งหนึ่ง[19] | ” |
การคัดค้าน
[แก้]"ไม่มีคำทำนายใด ๆ ในอารยธรรมมายาหรือแอซเท็คหรือเมโสอเมริกาอื่น ๆ ที่สนับสนุนว่าพวกเขาได้ทำนายการเปลี่ยนแปลงอย่างเฉียบพลันหรือสำคัญไม่ว่ารูปแบบใดก็ตามใน ค.ศ. 2012 ความคิดที่ว่าวัฏจักรใหญ่จะมาสิ้นสุดลงล้วนแต่เป็นความคิดที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่ทั้งสิ้น" |
—นักวิชาการเรื่องมายา มาร์ก ฟาน สโตน[20] |
แม้นักวิชาการคนอื่นกล่าวซ้ำการตีความของโคลช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1990[21] แต่นักวิจัยภายหลังกล่าวว่า การสิ้นสุดของแบ็กทันที่ 13 อาจเป็นเหตุควรเฉลิมฉลองก็เป็นได้[3] และมิได้เป็นจุดจบของปฏิทิน[22] ใน ค.ศ. 1990 นักวิชาการเรื่องมายา ลินดา เชอเล และเดวิด ไฟรเดล แย้งว่าอารยธรรมมายา "มิได้เข้าใจว่านี่เป็นจุดจบแห่งการสรรค์สร้างตามที่หลายฝ่ายเสนอมา"[23] ซูซาน มิลบราธ ภัณฑารักษ์ของส่วนศิลปะและโบราณคดีละตินอเมริกาที่พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติฟลอริดากล่าวว่า "เราไม่มีบันทึกหรือความรู้ว่า [ชาวมายา]จะคิดว่าโลกจะมาถึงกาลสิ้นสุด" ใน ค.ศ. 2012[24] "สำหรับชาวมายาโบราณ มันเป็นการเฉลิมฉลองครั้งใหญ่ที่เวลาผ่านไปสิ้นสุดทั้งวัฏจักร" แซนดรา โนเบิล ผู้เป็นผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อความคืบหน้าในการศึกษาเมโสอเมริกาในคริสตอลริเวอร์ รัฐฟลอริดา กล่าว และ "การกุเรื่องขึ้นทั้งหมดและเป็นโอกาสทำเงินของคนจำนวนมาก"[24] อี. วิลลิส แอนดรูส์ วี ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยอเมริกากลางมหาวิทยาลัยทูเลน (MARI) "เรารู้ว่าชาวมายาคิดว่ามีวัฎจักรอันหนึ่งก่อนหน้าวัฏจักรอันนี้ และนั่นสื่อว่าพวกเขารู้สึกสบายใจกับแนวคิดที่ว่าจะมีวัฏจักรต่อจากนี้อีก"[25] นักโบราณคดีคนหนึ่งให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับปฏิทินใหม่ที่พบในซุลตัน (Xultún) ว่า "มายาโบราณทำนายว่าโลกจะดำเนินต่อไป ว่า 7,000 ปีนับจากนี้ ทุกสิ่งจะเหมือนเดิมอย่างนี้ เราคอยมองหาจุดจบ ชาวมายากำลังมองหาการประกันว่าทุกสิ่งจะไม่เปลี่ยนแปลง มันเป็นทัศนะที่ต่างกันโดยสิ้นเชิง"[26]
ปัจเจกบุคคลที่โดดเด่นหลายคนผู้เป็นตัวแทนของมายาแห่งกัวเตมาลาประณามการเสนอว่าโลกจะสิ้นสุดในแบ็กทันที่ 13 ริการ์โด กาคัส ประธานกลุ่มองค์การชนพื้นเมืองแห่งกัวเตมาลา (Colectivo de Organizaciones Indígenas de Guatemala) กล่าวว่า วันที่นั้นมิได้เป็นการสิ้นสุดของมนุษยชาติ หรือการเติมเต็มคำทำนายหายนะที่พบในมายาชีลัมบาลัม แต่วัฏจักรใหม่ "สมมุติการเปลี่ยนแปลงในการรับรู้ของมนุษย์" มาร์ติง ซากัลซอลแห่งผู้ตรวจการสิทธิมนุษยชนของกัวเตมาลา กล่าวว่า การสิ้นสุดของปฏิทินไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับจุดจบของโลก หรือ ค.ศ. 2012[27]
ความเห็นร่วมก่อนหน้า
[แก้]ความเห็นร่วมเกี่ยวกับมายากับอวสานวิทยาของชาวยุโรปสืบย้อนไปได้ถึงยุคคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ผู้รวบรวมผลงานชื่อ Libro de las profecias ระหว่างการเดินทางทางเรือใน ค.ศ. 1502 เมื่อเขาได้ยินเกี่ยวกับ "ไมอา" ครั้งแรกบนกัวนากา เกาะนอกชายฝั่งทางเหนือของฮอนดูรัส[28] โดยได้รับอิทธิพลจากงานเขียนของบิชอปปีแยร์ ดิแอลลี โคลัมบัสเชื่อว่าการค้นพบดินแดน "ห่างไกลที่สุด" ของเขา (และยังรวมไปถึงชาวมายาเอง) มีการทำนายไว้แล้วและจะนำมาซึ่งการสิ้นโลก ความกลัวอนันตกาลแพร่ขยายไประหว่างช่วงแรกของการพิชิตของสเปนอันเป็นผลมาจากการทำนายทางโหราศาสตร์ที่ด้รับความนิยมในยุโรปถึงมหาอุทกภัยที่สองใน ค.ศ. 1524[28]
ต้นคริสต์ทศวรรษ 1900 นักวิชาการชาวเยอรมัน แอร์นสท์ เฟิร์สเทมันน์ ตีความเดรสเดนโคเด็กซ์หน้าสุดท้ายว่า แสดงจุดจบของโลกในอุทกภัยที่ก่อให้เกิดความหายนะรุนแรง เขาอ้างถึงการทำลายล้างโลกและอะพอคะลิพส์ แม้เขาจะมิได้อ้างถึงแบ็กทันที่ 13 หรือ ค.ศ. 2012 และไม่ชัดเนว่าเขากำลังหมายถึงเหตุการณ์ในอนาคตหรือไม่[29] ความคิดของเขาถูกกล่าวซ้ำโดยนักโบราณคดี ซิลวานัส มอร์เลย์[30] ผู้ถอดความจากเฟิร์สเทมันน์โดยตรง และเสริมลงไปในรูปของมหาอุทกภัย ความเห็นเหล่านี้ภายหลังถูกกล่าวซ้ำในหนังสือ ดิแอนเชียนมายา ของมอร์เลย์ ฉบับตีพิมพ์ครั้งแรกซึ่งตีพิมพ์ใน ค.ศ. 1946[28]
การกล่าวถึงแบ็กทันที่ 13 ของชาวมายา
[แก้]"ถ้าผมได้มีโอกาสไปยังชุมชนที่พูดภาษามายันสักแห่งและถามผู้คนที่อยู่ที่นั่นว่าจะเกิดอะไรขึ้นในปี ค.ศ. 2012 พวกเขาก็คงไม่รู้จะตอบอะไรดี ว่าโลกกำลังจะถึงกาลสิ้นสุดอย่างนั้นหรือ พวกเขาไม่เชื่อคุณหรอก พวกเรามีปัญหาจริง ๆ อยู่แล้วในเวลานี้ เช่นฝน" |
—โฮเซ อุชง[31] |
ชาวมายาในปัจจุบันทั้งหมดมิได้ยึดติดกับความสำคัญของแบ็กทันที่ 13 มากนัก ถึงแม้ว่าชนเผ่ามายันบางเผ่าซึ่งอาศัยอยู่บริเวณที่ราบสูงกัวเตมาลาจะยังคงใช้ระบบรอบปฏิทินกันอยู่ แต่ปฏิทินแบบนับยาวเป็นปฏิทินที่ใช้กันเพียงอย่างเดียวในสมัยคลาสสิก แต่ปัจจุบันได้รับการค้นพบเฉพาะการค้นหาของนักโบราณคดีเท่านั้น[32] ผู้อาวุโสชาวมายัน อะโปลินาริโอ ชิลี พิกซ์ตัน และนักโบราณคดีชาวเม็กซิกัน กุยเลอโม เบอร์นอล ทั้งสองได้กล่าวว่า "การสิ้นโลก" เป็นแนวคิดตะวันตกซึ่งมีเพียงส่วนน้อยหรือไม่มีส่วนใดเลยที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อของชาวมายา เบอร์นอลเชื่อว่าแนวคิดดังกล่าวได้รับการยัดเยียดให้แก่ชาวมายาโดยชาวตะวันตก เนื่องจากตำนานอภินิหารของพวกเขา "ใช้ไปจนหมดแล้ว"[31][33]
การให้ความสำคัญต่อแบ็กทันที่ 13 ของชาวมายาสมัยคลาสสิกยังคงไม่เป็นที่ทราบกันแน่ชัด จารึกมายาสมัยคลาสสิกส่วนใหญ่มุ่งเขียนถึงประวัติศาสตร์และไม่ได้เขียนคำนายอะไรไว้เลย[34] อย่างไรก็ตาม มีหลักฐานสองชิ้นในคลังข้อมูลประวัติศาสตร์มายาที่อาจกล่าวถึงจุดสิ้นสุดของแบ็กทันที่ 13: อนุสาวรีย์ทอร์ทูกัวโร 6 และชีลัมบาลัม ซึ่งอาจมีความเป็นไปได้เช่นเดียวกัน
วันที่หลังแบ็กทันที่ 13
[แก้]บางครั้ง จารึกมายาได้อ้างถึงเหตุการณ์ที่ถูกทำนายไว้ในอนาคตหรือการระลึกถึงที่จะเกิดขึ้นหลังจากการสิ้นสุดของแบ็กทันที่ 13 การระบุดังกล่าวนี้ส่วนใหญ่อยู่ในรูปของ "วันที่ระยะห่าง" การระบุแบบนี้จะระบุวันที่ในปฏิทินแบบนับยาว พร้อมกับตัวเลขระยะห่าง ซึ่งเมื่อบวกเพิ่มเข้าไปในวันที่ของปฏิทินแบบนับยาวแล้ว จะทำให้ทราบว่าเหตุการณ์นั้นจะเกิดขึ้นเมื่อใดในอนาคตได้ บนแผ่นกระดานด้านตะวันตกที่วิหารแห่งคำจารึกในปาเลงเก ส่วนหนึ่งของข้อความเสนอเหตุการณ์ในอนาคตถึงการครบรอบปฏิทินที่ 80 ของการขึ้นครองราชย์ของผู้ปกครองปาเลงเก คินิช จานาบ ปากาล (ตรงกับวันที่ 9.9.2.4.8 หรือตรงกับวันที่ 27 กรกฎาคม 615 ศักราชกลาง ในปฏิทินก่อนเกรโกเรียน ซึ่งสามารถคำนวณได้โดยใช้วันที่ประสูติของปากาลเป็นตัวตั้ง (9.8.9.13.0) บวกเข้ากับตัวเลขระยะห่าง 10.11.10.5.8[35] การคำนวณดังกล่าวตรงกับการครบรอบปฏิทินที่ 80 นับตั้งแต่การขึ้นครองราชย์ของปากาล ซึ่งเกิดขึ้นในอนาคตถึง 4,000 ปี หรือตรงกับวันที่ 21 ตุลาคม ค.ศ. 4772[20][35][36]
อีกตัวอย่างหนึ่ง คือ ศิลาจารึก 1 ที่โคบา ซึ่งกล่าวถึงวันที่ในหน่วยยี่สิบเหนือแบ็กทันขึ้นไปอีก โดยกล่าวว่ามันคือปีที่เกิดขึ้นถัดจากนี้ไปอีก 4.134105 × 1028 ปี[23] หรือระยะเวลาที่ห่างจากปัจจุบันเท่ากันในอดีต[37] แต่ไม่ว่าจะเป็นอย่างไรก็ตาม วันที่ดังกล่าวคิดเป็น 1018 เท่าเมื่อเทียบกับอายุปัจจุบันของเอกภพ ซึ่งได้แสดงให้เห็นว่าไม่ใช่ชาวมายันทั้งหมดที่พิจารณาว่าวัฏจักรยาว 5,125 ปีมีความสำคัญที่สุด
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Sitler 2006
- ↑ Defesche 2007
- ↑ 3.0 3.1 3.2 G. Jeffrey MacDonald (March 27, 2007). "Does Maya calendar predict 2012 apocalypse?". USA Today. สืบค้นเมื่อ 2009-10-14.
- ↑ 2012 Maya Calendar Mystery and Math, Surviving Yucatan
- ↑ Benjamin Anastas (1 July 2007). "The Final Days" (reproduced online, at KSU). The New York Times Magazine. New York. p. Section 6, p. 48. สืบค้นเมื่อ 18 May 2009.
- ↑ "2012: Shadow of the Dark Rift". NASA. 2011. สืบค้นเมื่อ 28 October 2012.
- ↑ David Webster (September 25, 2007). "The Uses and Abuses of the Ancient Maya" (PDF). The Emergence of the Modern World Conference, Otzenhausen, Germany: Penn State University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (pdf)เมื่อ 2009-11-09. สืบค้นเมื่อ 2009-10-14.
{{cite web}}
: ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ Aveni 2009, 32–33, 48–51
- ↑ "2012: Beginning of the End or Why the World Won't End?". NASA.
- ↑ Jorge Pérez de Lara and John Justeson (2006). "Photographic Documentation of Monuments with Epi-Olmec Script/Imagery" (PDF). Foundation for the Advancement of Mesoamerican Studies. สืบค้นเมื่อ 2009-11-03.
- ↑ Andrew K. Scherer (2007). "Population structure of the classic period Maya". American Journal of Physical Anthropology. 132 (3): 367–380. doi:10.1002/ajpa.20535. PMID 17205548.
- ↑ Marcus, Joyce (1976). "The Origins of Mesoamerican Writing". Annual Review of Anthropology. 5: 25–67. doi:10.1146/annurev.an.05.100176.000343. JSTOR 2949303.
- ↑ Schele and Freidel 1990, p. 246
- ↑ Vincent H. Malmström (March 19, 2003). "The Astronomical Insignificance of Maya Date 13.0.0.0.0" (PDF). Dartmouth College. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (pdf)เมื่อ 2009-06-11. สืบค้นเมื่อ 2009-05-26.
{{cite web}}
: ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ Gregory M. Severin. "The Paris Codex: Decoding an Astronomical Ephemeris". In Transactions of the American Philosophical Society, New Series, Vol. 71, No. 5 (1981). p. 75.
- ↑ Schele and Freidel 1990, pp.429–430
- ↑ Michael Finley (2003). "The Correlation Question". The Real Maya Prophecies: Astronomy in the Inscriptions and Codices. Maya Astronomy. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-12-07. สืบค้นเมื่อ 2007-05-11.
- ↑ Makemson, Maude Worcester (June 1957). "The miscellaneous dates of the Dresden Codex". Publications of the Vassar College Observatory. 6: i. Bibcode:1957PVasO...6....1M.
- ↑ Coe 1966, p. 149
- ↑ 20.0 20.1 Mark Van Stone. "2012 FAQ (Frequently Asked Questions)". FAMSI. สืบค้นเมื่อ 2010-03-02.
- ↑ Carrasco 1990, p. 39; Gossen and Leventhal 1993, p. 191.
- ↑ Milbrath 1999, p. 4
- ↑ 23.0 23.1 Schele and Freidel 1990, pp. 81–82, 430–431
- ↑ 24.0 24.1 Susan Milbrath, Curator of Latin American Art and Archaeology, Florida Museum of Natural History, quoted in USA Today, Wednesday, March 28, 2007, p. 11D
- ↑ "The Sky Is Not Falling" เก็บถาวร 2011-04-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน New Wave, Tulane University, June 25, 2008.
- ↑ Vance, Eric (10 May 2012). "Unprecedented Maya Mural Found, Contradicts 2012 "Doomsday" Myth". National Geographic. สืบค้นเมื่อ 11 May 2012.
- ↑ Àngels Maso (2010). "La controversia detrás de la profecía del 2012". Prensa Libre. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 January 2012. สืบค้นเมื่อ 1 January 2012.
{{cite web}}
: ระบุ|accessdate=
และ|access-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ 28.0 28.1 28.2 Hoopes 2011
- ↑ Förstemann 1906: 264
- ↑ Morley 1915: 32
- ↑ 31.0 31.1 Mark Stevenson (2009). "Next apocalypse? Mayan year 2012 stirs doomsayers". Associated Press. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-16. สืบค้นเมื่อ 2009-10-12.
- ↑ David Stuart (October 11, 2009). "Q & A about 2012". Maya Decipherment. สืบค้นเมื่อ 2009-10-14.
- ↑ The end of time: Maya calendar runs out soon, but don't panic, Rory Carroll, The Guardian, 13 October 2009, retrieved 22 October 2009
- ↑ Houston and Stuart 1996
- ↑ 35.0 35.1 Schele (1992, pp.93–95)
- ↑ Schele and Freidel (1990, p.430)
- ↑ Aveni 2009, 49
บรรณานุกรม
[แก้]- Argüelles, José (1992). The Transformative Vision: Reflections on the Nature and History of Human Expression (1st ed.). Flagstaff, AZ: Light Technology Publications. ISBN 978-0-9631750-0-7.
- Argüelles, José (1987). The Mayan Factor: Path Beyond Technology. Rochester, VT: Inner Traditions/Bear and Company. ISBN 978-0-939680-38-2.
- Aveni, Anthony; Hartung, H. (2000). "Water, Mountain, Sky: The Evolution of Site Orientations in Southeastern Mesoamerica". ใน Keber, E. Quiñones (บ.ก.). Precious Greenstone Precious Feather. Lancaster, CA: Labyrinthos.
- Aveni, Anthony (2009). The End of Time: The Maya Mystery of 2012. Boulder, Colorado: University Press of Colorado. ISBN 978-0-87081-961-2.
- Barkun, Michael (2006). A Culture of Conspiracy: Apocalyptic Visions in Contemporary America. Comparative studies in religion and society series, no. 15 (1st pbk print ed.). Berkeley: University of California Press. ISBN 978-0-520-24812-0. OCLC 255948700.
- Boone, Elizabeth H. (1982). Zelia Nuttall (บ.ก.). The Book of the Life of the Ancient Mexicans, Containing an Account of Their Rites and Superstitions: An Anonymous Hispano-Mexican Manuscript Preserved at the Biblioteca Nazionale Centrale, Florence, Italy (Reprint of 1903 edition with additional commentary). Berkeley.: University of California Press.
- Callaway, Carl (2011). "Cosmogony and Prophecy: Maya Era Day Cosmology in the Context of the 2012 Prophecy". Proceedings of the International Astronomical Union. 7: 192–202. Bibcode:2011IAUS..278..192C. doi:10.1017/S1743921311012622.
- Campion, Nicholas (2011). "The 2012 Mayan Calendar Prophecies in the Context of the Western Millenarian Tradition". Proceedings of the International Astronomical Union. 7: 249–254. Bibcode:2011IAUS..278..249C. doi:10.1017/S1743921311012671.
- Carrasco, David (1990). Religions of Mesoamerica: Cosmovision and Ceremonial Centers. Religious traditions of the world [series]. San Francisco, California: Harper and Row. ISBN 978-0-06-061325-9. OCLC 20996347.
- Carlson, John B. (2011). "Lord of the Maya Creations on His Jaguar Throne: The Eternal Return of Elder Brother God L to Preside Over the 21 December 2012 Transformation". Proceedings of the International Astronomical Union. 7: 203–213. Bibcode:2011IAUS..278..203C. doi:10.1017/S1743921311012634.
- Carlson, John S.; Mark Van Stone (2011). "The 2012 Phenomenon: Maya Calendar, Astronomy, and Apocalypticism in the Worlds of Scholarship and Global Popular Culture". Proceedings of the International Astronomical Union. 7: 178–185. Bibcode:2011IAUS..278..178C. doi:10.1017/S1743921311012609.
- Coe, Michael D. (1966). The Maya. Ancient peoples and places series, no. 52 (1st ed.). London: Thames and Hudson. ISBN 978-0-500-05061-3. OCLC 318157568.
- Coe, Michael D. (1980). The Maya. Ancient peoples and places series, no. 10 (2nd ed.). London: Thames and Hudson. ISBN 978-0-500-05061-3.
- Coe, Michael D. (1984). The Maya. Ancient peoples and places series (3rd ed.). London: Thames and Hudson. ISBN 978-0-500-05061-3.
- Coe, Michael D. (1992). Breaking the Maya Code. London: Thames and Hudson. ISBN 978-0-500-05061-3. OCLC 26605966.
- Coe, Michael D. (1999). The Maya. Ancient peoples and places series (6th, fully revised and expanded ed.). London and New York: Thames and Hudson. ISBN 978-0-500-28066-9. OCLC 59432778.
- Jorge Pérez de Lara; John Justeson (2006). "Photographic Documentation of Monuments with Epi-Olmec Script/Imagery" (PDF). Foundation for the Advancement of Mesoamerican Studies. สืบค้นเมื่อ 3 November 2009.
- Eberl, Markus; Christian Prager (2005). "Bʼolon Yokteʼ Kʼuh: Maya conceptions of war, conflict, and the underworld". ใน Peter Eeckhout; Geneviève Le Fort (บ.ก.). Wars and Conflicts in Prehispanic Mesoamerica and the Andes: Selected Proceedings of the Conference Organized by the Société des Américanistes de Belgique with the Collaboration of Wayeb (European Association of Mayanists), Brussels, 16–17 November 2002. British Archaeological Reports International Series, no. 1385. Oxford, UK: John and Erika Hedges Ltd. pp. 28–36. ISBN 978-1-84171-706-7. OCLC 254728446.
- Edmonson, Munro S. (1982). The Ancient Future of the Itza: The Book of Chilam Balam of Tizimin. The Texas Pan American series (Text of Chilam Balam de Tizimín MS. translated and annotated by Munro S. Edmonson; 1st English trans. ed.). Austin: University of Texas Press. ISBN 978-0-292-70353-7. OCLC 11318551. (ในภาษามายายูกาตันและอังกฤษ)
- Edmonson, Munro S. (1988). The Book of the Year: Middle American Calendrical Systems. Salt Lake City: University of Utah Press. ISBN 978-0-87480-288-7. OCLC 17650412.
- Freidel, David; Schele, Linda; Parker, Joy (1993). Maya Cosmos: Three thousand years on the shaman's path. New York: William Morrow. ISBN 978-0-688-10081-0. OCLC 27430287.
- Gelfer, Joseph, บ.ก. (2011). 2012: Decoding the Counterculture Apocalypse. London: Equinox Publishing. ISBN 978-1-84553-639-8.
- Gossen, Gary; Richard M. Leventhal (1993). "The topography of ancient Maya religious pluralism: a dialogue with the present". ใน Jeremy A. Sabloff; John S. Henderson (บ.ก.). Lowland Maya Civilization in the Eighth Century A.D.: A Symposium at Dumbarton Oaks, 7th and 8 October 1989. Washington, D.C.: Dumbarton Oaks Research Library and Collection. pp. 185–217. ISBN 978-0-88402-206-0. OCLC 25547151.
- Grofe, Michael (2011). "Measuring Deep Time: The Sidereal Year and the Tropical Year in Maya Inscriptions". Proceedings of the International Astronomical Union. 7: 214–230. Bibcode:2011IAUS..278..214G. doi:10.1017/S1743921311012646.
- Gronemeyer, Sven; MacLeod, Barbara (2010). "What Could Happen in 2012: A Re-Analysis of the 13-Bakʼtun Prophecy on Tortuguero Monument 6" (PDF). Wayeb Notes. 34: 1–68. ISSN 1379-8286. OCLC 298471525.
- Hancock, Graham (1995). Fingerprints of the Gods. New York: Crown Publishers, Inc. ISBN 978-0-517-59348-6.
- Hanegraaff, Wouter (1996). New Age Religion and Western Culture: Esotericism in the Mirror of Secular Thought. Studies in the histories of religions series, no. 72. Leiden, Netherlands: Brill. ISBN 978-90-04-10695-6. ISSN 0169-8834. OCLC 35229227.
- Hoopes, John W. (2009). "Review – The End of Time: The Maya Mystery of 2012, by Anthony Aveni and 2012: Science and Prophecy of the Ancient Maya, by Mark Van Stone" (PDF). Archaeoastronomy: The Journal of Astronomy in Culture. 22: 139–145. ISSN 0190-9940.
- Hoopes, John W. (2011a). "A Critical History of 2012 Mythology" (PDF). Proceedings of the International Astronomical Union. 7: 240–248. Bibcode:2011IAUS..278..240H. doi:10.1017/S174392131101266X.
- Hoopes, John W. (2011b). "Mayanism Comes of (New) Age". ใน Joseph Gelfer (บ.ก.). 2012: Decoding the Counterculture Apocalypse. London: Equinox Publishing. pp. 38–59. ISBN 978-1-84553-639-8.
- Hoopes, John W. (2011c). "New Age Sympathies and Scholarly Complicities: The History and Promotion of 2012 Mythology". Archaeoastronomy: The Journal of Astronomy in Culture. 24: 180–201. ISSN 0190-9940.
- Hoopes, John W. (30 December 2011). "What You Should Know About 2012: Answers to 13 Questions". Psychology Today.
- Hoopes, John W. (2012). "The Hidden History of 2012". Fortean Times. 285: 40–43.
- Jenkins, John Major (1998). Maya Cosmogenesis 2012: The True Meaning of the Maya Calendar End-Date. Rochester, VT: Bear and Company. ISBN 978-1-879181-48-9.
- Jenkins, John Major (2009). The 2012 Story: The Myths, Fallacies, and Truth Behind the Most Intriguing Date in History. Los Angeles, CA: Tarcher. ISBN 978-1-58542-766-6.
- Luxton, Richard N. (1996). The Book of Chumayel: The Counsel Book of the Yucatec Maya, 1539–1638. Walnut Creek, CA: Agaean Park Press. ISBN 978-0-89412-244-6.
- MacLeod, Barbara (2011). "The God's Grand Costume Ball: A Classic Maya Prophecy for the Close of the Thirteenth Bakʼtun". Proceedings of the International Astronomical Union. 7: 231–239. Bibcode:2011IAUS..278..231M. doi:10.1017/S1743921311012658.
- Makemson, Maude Worcester (1951). The Book of the Jaguar Priest: a translation of the Book of Chilam Balam of Tizimin, with commentary. New York: H. Schuman. OCLC 537810.
- Makemson, Maude Worcester (June 1957). "The miscellaneous dates of the Dresden Codex". Publications of the Vassar College Observatory. 6: i. Bibcode:1957PVasO...6....1M.
- McKenna, Terence and Dennis (1975). The Invisible Landscape: Mind, Hallucinogens, and the I Ching (1st ed.). Seabury. ISBN 978-0-8164-9249-7.
- McKenna, Terence and Dennis (1993). The Invisible Landscape: Mind, Hallucinogens, and the I Ching. HarperCollins. ISBN 978-0-06-250635-1.
- Meeus, Jean (1997). Ecliptic and galactic equator. Mathematical Astronomy Morsels. Richmond, VA: Willmann-Bell. ISBN 978-0-943396-51-4. OCLC 36126686.
- Milbrath, Susan (1999). Star Gods of the Maya: Astronomy in Art, Folklore, and Calendars. The Linda Schele series in Maya and pre-Columbian studies. Austin: University of Texas Press. ISBN 978-0-292-75225-2. OCLC 40848420.
- Miller, Mary; Karl Taube (1993). The Gods and Symbols of Ancient Mexico and the Maya: An Illustrated Dictionary of Mesoamerican Religion. London: Thames & Hudson. ISBN 978-0-500-05068-2. OCLC 27667317.
- Morley, Sylvanus (1983). The Ancient Maya (4th ed.). Palo Alto, CA: Stanford University Press. ISBN 978-0-8047-1288-0.
- Nuttall, Zelia, บ.ก. (1903). The Book of the Life of the Ancient Mexicans, Containing an Account of Their Rites and Superstitions: An Anonymous Hispano-Mexican Manuscript Preserved at the Biblioteca Nazionale Centrale, Florence, Italy. Berkeley, CA: University of California.
- Pinchbeck, Daniel (2006). 2012: The Return of Quetzalcoatl. New York: Tarcher. ISBN 978-1-58542-483-2. OCLC 62421298.
- Roys, Ralph (1967). The Book of Chilam Balam of Chuyamel. Charleston, South Carolina: Forgotten Books. ISBN 978-1-60506-858-9.
- Rice, Prudence M. (2007). Maya calendar origins: monuments, mythistory, and the materialization of time. Austin: University of Texas Press. ISBN 978-0-292-71692-6.
- Schele, Linda (1992). "A New Look at the Dynastic History of Palenque". ใน Victoria R. Bricker (Volume), with Patricia A. Andrews (บ.ก.). Supplement to the Handbook of Middle American Indians, Vol. 5: Epigraphy. Austin: University of Texas Press. pp. 82–109. ISBN 978-0-292-77650-0. OCLC 23693597.
- Schele, Linda; Freidel, David (1990). A Forest of Kings: The Untold Story of the Ancient Maya (pbk reprint ed.). New York: Harper Perennial. ISBN 978-0-688-11204-2. OCLC 145324300.
- Severin, Gregory M. (1981). "The Paris Codex: Decoding an Astronomical Ephemeris". Transactions of the American Philosophical Society. 71 (5): 1–101. doi:10.2307/1006397. JSTOR 1006397.
- Schilling, Govert (2008). The Hunt For Planet X: New Worlds and the Fate of Pluto. Springer. ISBN 978-0-387-77804-4.
- Matthew J. Sharps; Schuyler W. Liao; Megan R. Herrera (January–February 2013). "It's the End of the World and They Don't Feel Fine: The Psychology of December 21, 2012". Skeptical Inquirer. 37 (1).
- South, Stephanie (2009). 2012: Biography of a Time Traveler, The Journey of José Argüelles. Franklin Lakes, New Jersey: New Page Books. ISBN 978-1-60163-065-0.
- Spencer, Neil (2000). "Love Shall Steer the Stars – The Long Dawning of the Age of Aquarius". True as the Stars Above. ISBN 978-0-575-06769-1.
- Van Stone, Mark (2008). "It's Not the End of the World: What the Ancient Maya Tell Us About 2012". FAMSI.
- Van Stone, Mark (2011). "It's Not the End of the World: Emic Evidence for Local Diversity in the Maya Long Count". Proceedings of the International Astronomical Union. 7: 186–191. Bibcode:2011IAUS..278..186V. doi:10.1017/S1743921311012610.
- Voss, Alexander (2006). "Astronomy and Mathematics". ใน Nikolai Grube (บ.ก.). Maya: Divine Kings of the Rain Forest. Eva Eggebrecht and Matthias Seidel (assistant eds.). Cologne: Könemann. pp. 130–143. ISBN 978-3-8331-1957-6. OCLC 71165439.
- Wagner, Elizabeth (2006). "Maya Creation Myths and Cosmography". ใน Nikolai Grube (บ.ก.). Maya: Divine Kings of the Rain Forest. Eva Eggebrecht and Matthias Seidel (assistant eds.). Cologne: Könemann. pp. 280–293. ISBN 978-3-8331-1957-6. OCLC 71165439.
- Waters, Frank (1975). Mexico Mystique: The Coming Sixth World of Consciousness. Chicago, Illinois: Sage Books/Swallow Press. ISBN 978-0-8040-0663-7. OCLC 1364766.
- Whitesides, Kevin; John W. Hoopes (2012). "Seventies Dreams and 21st Century Realities: The Emergence of 2012 Mythology". Zeitschrift für Anomalistik. 12: 50–74.
- Wright, Ronald (2005). Stolen Continents: 500 Years of Conquest and Resistance in the Americas. Mariner. pp. 165–166. ISBN 978-0-618-49240-4.
- York, Michael (1995). The Emerging Network: A Sociology of the New Age and Neo-Pagan Movements. Lanham, MD: Rowman & Littlefield. ISBN 978-0-8476-8000-9. OCLC 31604796.