อรอนงค์ กาญจนชูศักดิ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อรอนงค์ กาญจนชูศักดิ์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2505 (61 ปี)
เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2531–2566)

นางสาวอรอนงค์ กาญจนชูศักดิ์ อดีตกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์[1] อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์

ประวัติ[แก้]

อรอนงค์ กาญจนชูศักดิ์ เกิดเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2505 ชื่อเล่น ตุ๋ย เป็นบุตรคนที่ 4 ของนายวินัย กาญจนชูศักดิ์ กับ นางเสาวณี กาญจนชูศักดิ์ โดยในบรรดาพี่น้องทั้ง 5 คน มีนายพินิจ กาญจนชูศักดิ์ เป็นพี่ชายคนโต และได้แนะนำให้อรอนงค์เข้าสู่แวดวงการเมือง ด้วยการเริ่มต้นจากการลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น สมาชิกสภาเขตสัมพันธวงศ์ ก่อนที่จะได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานครในสมัยต่อมาและ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร

การศึกษา[แก้]

อรอนงค์ กาญจนชูศักดิ์ จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษา จากโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ ระดับปริญญาตรี นิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ และปริญญาโท ด้านรัฐประศาสนศาสตร์ กับปริญญาโท ด้านบริหารธุรกิจ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง

ประสบการณ์ทางการเมือง[แก้]

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2550 ได้รับการเลือกตั้งเป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร เขต 1 (เขตพระนคร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตสัมพันธวงศ์ เขตบางรัก เขตสาทร เขตปทุมวัน เขตดุสิต เขตราชเทวี) โดยสวมเสื้อเบอร์ 5 สังกัด พรรคประชาธิปัตย์ ชนะไปด้วยคะแนน 101,135 คะแนน จากทั้งหมด 538 หน่วย ในหน่วยเลือกตั้งเขต 1 ร่วมกันกับ หม่อมหลวงอภิมงคล โสณกุล เบอร์ 4 ที่ได้ 105,166 คะแนน และ นางเจิมมาศ จึงเลิศศิริ เบอร์ 6 ที่ได้ 99,078 คะแนน ถือเป็นการชนะแบบยกทีม

ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้มีปัญหาในการจัดตัวผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบแบ่งเขตในกรุงเทพมหานคร ซึ่งพื้นที่ของนางสาวอรอนงค์ ทับซ้อนกับหม่อมหลวงอภิมงคล โสณกุล แต่ในที่สุดพรรคประชาธิปัตย์ก็ได้มีมติส่งนางสาวอรอนงค์ ลงสมัครในพื้นที่เดิม[2] และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร เขต 2

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 และ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 เขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้งทั้ง 2 ครั้ง

อรอนงค์ประกาศลาออกจากพรรคประชาธิปัตย์ในวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2566 หลังจากนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ลาออกไปเมื่อ 2 วันก่อนหน้า[3]

ด้านประสบการณ์ทางการเมืองมีดังนี้

  • คณะกรรมการประสานงานและติดตามนโยบายของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน)
  • สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตปทุมวัน พรรคประชาธิปัตย์ 2 สมัย (พ.ศ. 2544 - 2549)
  • โฆษกสภากรุงเทพมหานคร
  • คณะกรรมการสาธารณสุข สวัสดิการสังคม สภากรุงเทพมหานคร
  • คณะกรรมการรักษาความสะอาดและสิ่งแวดล้อม สภากรุงเทพมหานคร
  • คณะกรรมการกิจการสภา สภากรุงเทพมหานคร
  • รองประธานคณะอนุกรรมการพิจารณางบประมาณเขตปทุมวัน สัมพันธวงศ์ สาทร บางรัก (งบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2545)
  • รองประธานคณะอนุกรรมการพิจารณางบประมาณเขตปทุมวัน สัมพันธวงศ์ สาทร บางรัก (งบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2547)
  • รองประธานคณะอนุกรรมการพิจารณางบประมาณเขตสัมพันธวงศ์ ปทุมวัน สาทร บางรัก (งบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2548)
  • คณะอนุกรรมการพิจารณางบประมาณเขตบางรัก ปทุมวัน สัมพันธวงศ์ สาทร (งบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2549)
  • สมาชิกสภาเขต เขตสัมพันธวงศ์ พรรคประชาธิปัตย์ (พ.ศ. 2541-2543)
  • ที่ปรึกษาประธานรัฐสภา (ศาสตราจารย์มารุต บุนนาค)

ประสบการณ์ทางสังคม[แก้]

  • กรรมการชมรมเรารักกรุงเทพฯ เรารักสวนลุม
  • อดีตกรรมการการศึกษาโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
  • อดีตกรรมการสมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์
  • ประธานกรรมการการศึกษาโรงเรียนปลูกจิต เขตปทุมวัน
  • อดีตที่ปรึกษาโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ
  • อดีตที่ปรึกษาคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจ สถานีตำรวจนครบาลปทุมวันและสถานีตำรวจนครบาลลุมพินี
  • อดีตที่ปรึกษาโครงการมหกรรมขลุ่ยไทย เขตปทุมวัน
  • ประธาน อปพร. เขตปทุมวัน

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. เปิดรายชื่อกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ จำนวน 39 คน
  2. "ปชป.ระส่ำปัญหาเขตเลือกตั้งกทม. หลังกกต.แบ่งเขตใหม่". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-07. สืบค้นเมื่อ 2011-08-12.
  3. "'อรอนงค์' ตัดสินใจ ไขก๊อก สมาชิกพรรค 'ปชป.' ชู 'อภิสิทธิ์' นักการเมืองต้นแบบ". bangkokbiznews. 2023-12-11.
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖ เก็บถาวร 2022-04-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๓๐ ข หน้า ๓๐, ๖ ธันวาคม ๒๕๕๖
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๓ เก็บถาวร 2022-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๗๓, ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]