สโมสรฟุตบอลเบรนต์ฟอร์ด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สโมสรฟุตบอลเบรนต์ฟอร์ด
ชื่อเต็มสโมสรฟุตบอลเบรนต์ฟอร์ด
ฉายาเจ้าผึ้ง
ผึ้งพิฆาต, ผึ้งน้อย (ภาษาไทย)
ก่อตั้ง10 ตุลาคม 1889; 134 ปีก่อน (1889-10-10)
สนามเบรนต์ฟอร์ดคอมมิวนิตีสเตเดียม
ลอนดอน, อังกฤษ
ความจุ17,250 ที่นั่ง[1]
เจ้าของแมทธิว เบนัม
ประธานคลิฟ คราวน์
หัวหน้าผู้ฝึกสอนทอแมส ฟรังก์
ลีกพรีเมียร์ลีก
2022–23พรีเมียร์ลีก, อันดับที่ 9
เว็บไซต์เว็บไซต์สโมสร
สีชุดทีมเยือน

สโมสรฟุตบอลเบรนต์ฟอร์ด เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพ ตั้งอยู่ที่เมืองเบรนต์ฟอร์ดในเกรเทอร์ลอนดอน ประเทศอังกฤษ ปัจจุบันแข่งขันในพรีเมียร์ลีก ลีกฟุตบอลระดับสูงสุดของประเทศ โดยได้เลื่อนชั้นขึ้นมาผ่านการชนะเลิศเพลย์ออฟหลังจบอีเอฟแอลแชมเปียนชิป ฤดูกาล 2020–21 เบรนต์ฟอร์ดซึ่งมีฉายาว่า "ผึ้งน้อย" ก่อตั้งเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม ค.ศ. 1889 เคยใช้กริฟฟินปาร์กเป็นสนามเหย้ามาตั้งแต่ ค.ศ. 1904 ก่อนที่จะย้ายไปเล่นที่เบรนต์ฟอร์ดคอมมิวนิตีสเตเดียมตั้งแต่ ค.ศ. 2020 เป็นต้นมา คู่ปรับที่สำคัญได้แก่สโมสรเพื่อนบ้านในลอนดอนตะวันตกอย่างฟูลัมและควีนส์พาร์กเรนเจอส์

เดิมทีเบรนต์ฟอร์ดเป็นเพียงทีมฟุตบอลสมัครเล่น ต่อมาพวกเขาได้เข้าร่วมลอนดอนลีกใน ค.ศ. 1896 และจบอันดับรองชนะเลิศในลีกระดับที่สอง พวกเขาได้เข้าร่วมเซาเทิร์นลีกใน ค.ศ. 1898 และชนะเลิศเซาเทิร์นลีกระดับที่สองในฤดูกาล 1900–01 จนได้รับเลือกให้เข้าร่วมฟุตบอลลีกใน ค.ศ. 1920 เบรนต์ฟอร์ดชนะเลิศเทิร์ดดิวิชันเซาท์ในฤดูกาล 1932–33 และเซคันด์ดิวิชันในฤดูกาล 1934–35 หลังจาก สโมสรมีช่วงเวลาที่ประสบความสำเร็จบนลีกสูงสุด พวกเขาจบอันดับที่ห้าในเฟิสต์ดิวิชันฤดูกาล 1935–36 นับเป็นอันดับในลีกที่ดีที่สุดที่พวกเขาเคยทำได้ อย่างไรก็ตาม พวกเขาตกชั้นถึงสามครั้งจนร่วงหล่นไปถึงโฟร์ทดิวิชันใน ค.ศ. 1962 พวกเขากลับมาชนะเลิศโฟร์ทดิวิชันได้ในฤดูกาล 1962–63 จนได้เลื่อนชั้นสู่เทิร์ดดิวิชัน แต่พวกเขาก็ตกชั้นอีกครั้งใน ค.ศ. 1966 และ 1973 โดยมีช่วงที่เลื่อนชั้นกลับมาในฤดูกาล 1971–72 เบรนต์ฟอร์ดแข่งขันในเทิร์ดดิวิชันทั้งหมด 14 ฤดูกาลหลังจากที่เลื่อนชั้นกลับมาในฤดูกาล 1977–78 พวกเขาชนะเลิศเทิร์ดดิวิชันในฤดูกาล 1991–92 แต่ก็ตกชั้นกลับมาใน ค.ศ. 1993

เบรนต์ฟอร์ดตกชั้นลงไปถึงลีกระดับที่สี่ใน ค.ศ. 1998 และเลื่อนชั้นกลับมาในฐานะแชมป์ประจำฤดูกาล 1998–99 พวกเขาตกชั้นกลับไปอีกครั้งใน ค.ศ. 2007 และเลื่อนชั้นกลับมาในฐานะแชมป์ลีกทูในฤดูกาล 2008–09 ก่อนที่ชนะเลิศลีกวันในฤดูกาล 2013–14 เบรนต์ฟอร์ดพ่ายแพ้ในการเพลย์ออฟแชมเปียนชิปใน ค.ศ. 2015 และ 2020 โดยพวกเขามีสถิติที่ไม่ดีในการชิงชนะเลิศ พวกเขาจบอันดับรองชนะเลิศในฟุตบอลลีกโทรฟีสามครั้ง (1985, 2001 และ 2011) และแพ้ในนัดชิงชนะเลิศเพลย์ออฟถึงสี่ครั้ง (เซคันด์ดิวิชัน 1997, เซคันด์ดิวิชัน 2002, ลีกวัน 2013 และแชมเปียนชิป 2020) อย่างไรก็ตาม เบรนต์ฟอร์ดชนะเลิศเพลย์ออฟแชมเปียนชิป 2021 ทำให้พวกเขาได้เลื่อนชั้นกลับสู่ลีกสูงสุดอีกครั้งนับตั้งแต่ฤดูกาล 1946–47[2]

ผู้เล่น[แก้]

ผู้เล่นทีมชุดแรก[แก้]

ณ วันที่ 29 มกราคม 2022[3]

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
1 GK เนเธอร์แลนด์ มาร์ก เฟล็คเคน
2 DF สกอตแลนด์ แอรอน ฮิคกี
3 DF อังกฤษ ริโก เฮนรี
4 DF อังกฤษ ชาร์ลี กู๊ด
5 DF จาเมกา Ethan Pinnock
6 MF เดนมาร์ก เครสแจน เนอร์กอร์ (กัปตันทีม)
7 MF สเปน Sergi Canós
8 MF เดนมาร์ก แมทีแอส เยนเซิน
9 FW ฟินแลนด์ มาร์กุส ฟอร์ส
10 MF อังกฤษ จอช ดาซิลวา
11 FW สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก Yoane Wissa
13 DF เดนมาร์ก Mathias Jorgensen
15 MF ไนจีเรีย Frank Onyeka
16 DF อังกฤษ เบน มี
17 FW อังกฤษ Ivan Toney (รองกัปตันทีม)
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
19 MF ฝรั่งเศส Bryan Mbeumo
20 DF นอร์เวย์ Kristoffer Ajer
22 DF สาธารณรัฐไอร์แลนด์ นาธาน คอลลินส์
23 DF กินี Julian Jeanvier
24 MF กานา Tariqe Fosu
25 MF อังกฤษ Myles Peart-Harris
26 MF กรีเนดา Shandon Baptiste
27 MF เยอรมนี Vitaly Janelt
29 DF เดนมาร์ก Mads Bech Sørensen
30 DF เดนมาร์ก Mads Roerslev
32 DF เดนมาร์ก Luka Račić
40 GK สเปน Álvaro Fernández (ยืมจากอูเอสกา)
49 GK เดนมาร์ก โยนัส เลอเซิล (ยืมจากมีจือแลน)

ผู้เล่นที่ถูกปล่อยยืมตัว[แก้]

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
GK อังกฤษ Ellery Balcombe (ไปเบอร์ตันอัลเบียนจนถึง 30 มิถุนายน 2022)
FW สกอตแลนด์ Aaron Pressley (ไปวิมเบิลดันจนถึง 30 มิถุนายน 2022)

เกียรติประวัติ[แก้]

ลีก (ชนะเลิศและเลื่อนชั้น)[แก้]

ถ้วย[แก้]

ช่วงสงคราม[แก้]

หมายเหตุ[แก้]

  1. Not promoted after defeat in the 1995 Second Division play-off semi-finals.
  2. Elected into Southern League
  3. No system of promotion in place

อ้างอิง[แก้]

  1. "The stadium". Brentford Football Club New Stadium. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-19. สืบค้นเมื่อ 6 September 2020.
  2. "Brentford 2–0 Swansea City". BBC Sport. 29 May 2021.
  3. "First Team". Brentford F.C. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-27. สืบค้นเมื่อ 29 May 2021.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 "Football Club History Database – Brentford". www.fchd.info. สืบค้นเมื่อ 12 February 2018.
  5. 5.0 5.1 "London League 1896–1910". nonleaguematters.co.uk. สืบค้นเมื่อ 14 May 2018.
  6. 6.0 6.1 Haynes, Graham (1998). A-Z Of Bees: Brentford Encyclopedia. Yore Publications. pp. 135–136. ISBN 1 874427 57 7.
  7. Haynes 1998, p. 96.
  8. 8.0 8.1 White 1989, p. 354.
  9. Haynes 1998, p. 119-120.
  10. White, Eric, บ.ก. (1989). 100 Years Of Brentford. Brentford FC. p. 97. ISBN 0951526200.
  11. 11.0 11.1 White 1989, p. 82-84.
  12. "England 1918/19". Rsssf.com. 15 February 2003. สืบค้นเมื่อ 4 May 2016.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • Brentford F.C. – Official club website
  • Bees United – The Brentford Supporters' Trust and owners of the majority of shares in BFC
  • BIAS – Brentford Independent Association of Supporters