วุฒิพงษ์ นามบุตร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วุฒิพงษ์ นามบุตร
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี
เริ่มดำรงตำแหน่ง
23 ธันวาคม พ.ศ. 2550
(16 ปี 126 วัน)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด6 มีนาคม พ.ศ. 2517 (50 ปี)
จังหวัดอุบลราชธานี ประเทศไทย
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2549—ปัจจุบัน)

วุฒิพงษ์ นามบุตร (เกิด 6 มีนาคม พ.ศ. 2517) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี เขต 2 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ 4 สมัย

ประวัติ[แก้]

วุฒิพงษ์ นามบุตร เกิดเมื่อ 6 มีนาคม พ.ศ. 2517 ชื่อเล่น เอ เป็นชาวอำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี โดยเป็นหลานของนายวิฑูรย์ นามบุตร อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี จบการศึกษาชั้นประถมศึกษา ที่โรงเรียนอัสสัมชัญอุบลราชธานี ชั้นมัธยมศึกษา ที่โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช ระดับปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาไฟฟ้ากำลัง มหาวิทยาลัยศรีปทุม และระดับปริญญาโท ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

การเมือง[แก้]

วุฒิพงษ์ นามบุตร เคยเป็นสมาชิกสภาเทศบาลตำบลเขื่องใน และสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี (ส.จ.) ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จึงได้สมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคประชาธิปัตย์ และได้รับการเลือกตั้งเป็น ส.ส.สมัยแรก ซึ่งเป็นหนึ่งในห้า ส.ส.ของพรรคประชาธิปัตย์ที่ชนะการเลือกตั้งในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อภิวัฒน์ เงินหมื่น วุฒิพงษ์ นามบุตร ศุภชัย ศรีหล้า อิสสระ สมชัย และณิรัฐกานต์ ศรีลาภ)

ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 วุฒิพงษ์ก็ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.สมัยที่ 2 และเป็นหนึ่งในสี่ ส.ส.ของพรรคประชาธิปัตย์ ในพื้นที่ภาคอีสาน

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาก็ได้รับเลือกตั้งอีกครั้ง เป็น ส.ส. สมัยที่ 3 ในพื้นที่เขตเลือกตั้งเดิม และสังกัดพรรคประชาธิปัตย์เช่นเดิม เขาเป็นหนึ่งในสองสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคประชาธิปัตย์ ที่ชนะการเลือกตั้งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นอกจากนี้ได้ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการธิการแก้ไขปัญหาหนี้สินแห่งชาติ

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 เขาได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 26 เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมัยที่ 4 และเป็นหนึ่งในสอง ส.ส.ของพรรคประชาธิปัตย์ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นอกจากนี้ยังไม่รับการแต่งตั้งเป็นกรรมาธิการการเงิน การคลัง สถาบันการเงิน และตลาดการเงิน

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]