เดือนเต็มดวง ณ เชียงใหม่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เดือนเต็มดวง ณ เชียงใหม่
นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่
ดำรงตำแหน่ง
23 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 – 24 มิถุนายน พ.ศ. 2552
ก่อนหน้าบุญเลิศ บูรณุปกรณ์
ถัดไปทัศนัย บูรณุปกรณ์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด17 ธันวาคม พ.ศ. 2514 (52 ปี)
อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
ศาสนาศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองความหวังใหม่ (2542-2545)
ไทยรักไทย (2545-2547)
ประชาธิปัตย์ (2547-2550,2551-2561)
พลังประชารัฐ (2561-2563)
กล้า (2565-2566)
รวมไทยสร้างชาติ (2566-ปัจจุบัน)
คู่สมรสพันเอก จิตนาถ ปุณโณทก
บุพการี
การหาเสียงเลือกตั้งนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ พ.ศ. 2550

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ร้อยเอกหญิง เดือนเต็มดวง ณ เชียงใหม่ อดีตอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อดีตที่ปรึกษาผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร อดีตนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ และอดีตคณะทำงานของพรรคประชาธิปัตย์ เป็นบุตรสาวของเจ้าธวัชวงศ์ ณ เชียงใหม่ และเป็นหลานสาวของเจ้าไชยสุริวงศ์ ณ เชียงใหม่

ประวัติ[แก้]

เดือนเต็มดวง ณ เชียงใหม่ เกิดเมื่อ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2514 ที่อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นบุตรสาวของ เจ้าธวัชวงศ์ ณ เชียงใหม่ และ กิ่งกาญจน์ ณ เชียงใหม่ (สกุลเดิม โกไศยกานนท์) เป็นหลานของ เจ้าไชยสุริวงศ์ ณ เชียงใหม่ คหบดีเจ้าของธุรกิจโรงภาพยนตร์แห่งแรกในเชียงใหม่ และมีศักดิ์เป็นลูกพี่ลูกน้องกับ ดร.ทักษิณ ชินวัตรและยิ่งลักษณ์ ชินวัตร[1]

เดือนเต็มดวงมีชื่อเล่นว่า "แป้ง" จึงถูกเรียกจนติดปากว่า "ดร.แป้ง" มีประสบการณ์การเมืองกับพรรคความหวังใหม่ ตามบิดาและมารดามาก่อน ต่อมาจึงได้ย้ายมาสังกัดพรรคประชาธิปัตย์และได้ย้ายมาสังกัดพรรคพลังประชารัฐตามมารดา

เดือนเต็มดวงเคยสมรสครั้งแรกกับ ปิยะพงษ์ ธัญญศรีสังข์ [2] อดีตผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อแผ่นดิน ต่อมาจึงได้ทำการสมรสอีกครั้งกับ พันเอกจิตนาถ ปุณโณทก รองเลขานุการสำนักปลัดกระทรวงกลาโหม และ รองโฆษกกระทรวงกลาโหม [3]

การศึกษา[แก้]

ร.อ.หญิง ดร.เดือนเต็มดวง สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนต้น จาก โรงเรียนเรยีนาเชลีวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จาก โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ ระดับปริญญาตรีจาก คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทและปริญญาเอกทางด้านเศรษฐศาสตร์ สาขาการค้าระหว่างประเทศ จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เออร์ไวน์ สหรัฐอเมริกา

การทำงาน[แก้]

ร.อ.หญิง ดร.เดือนเต็มดวง เริ่มทำงานเป็นอาจารย์กองวิชาการกฎหมายและสังคมศาสตร์ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า และเป็นอาจารย์พิเศษและอาจารย์ที่ปรึกษางานวิจัยหลักสูตรปริญญาโททางทหารส่วนบัณฑิตศึกษา โรงเรียนเสนาธิการทหารบก และได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ผู้ช่วยโฆษกกองทัพบก [4]

ต่อมาเป็นอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำคณะบริหารธุรกิจ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง[5]

งานการเมือง[แก้]

ร.อ.หญิง ดร.เดือนเต็มดวง เริ่มเข้าสู่งานการเมือง โดยสมัครรับเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2544 เขตเลือกตั้งที่ 3 จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดพรรคความหวังใหม่ ตามบิดาและมารดา แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง ได้เพียงอันดับที่ 3 ด้วยคะแนน 14,920 คะแนน แพ้ให้กับนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ (พรรคไทยรักไทย) และนางบุศรา โพธิสุข (พรรคประชาธิปัตย์) [6] ต่อมาในปี พ.ศ. 2545 จึงได้ย้ายมาสังกัดพรรคไทยรักไทย พร้อมกับบิดา-มารดา แต่เมื่อปี พ.ศ. 2547 จึงได้แยกเส้นทางการเมืองกับบิดา-มารดา ไปสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ด้านนางกิ่งกาญจน์ (มารดา) ย้ายไปสังกัดพรรคเพื่อแผ่นดิน

ในการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2548 ร.อ.หญิง ดร.เดือนเต็มดวง ได้ลงสมัคร ส.ส. ในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ในพื้นที่อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ โดยต้องพบกับคู่แข่งขันจากพรรคไทยรักไทยคือ ปกรณ์ บูรณุปกรณ์ แม้จะไม่ได้รับการเลือกตั้ง แต่หลังจากนั้น ร.อ.หญิง ดร.เดือนเต็มดวง ได้ถูกแต่งตั้งให้เป็นรองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์

การเลือกตั้งนายกเทศมนตรีเทศบาลนครเชียงใหม่[แก้]

ในปี พ.ศ. 2550 ร.อ.หญิง ดร.เดือนเต็มดวง ได้ลาออกจากพรรคประชาธิปัตย์ เพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ ซึ่งก่อนการเลือกตั้ง ร.อ.หญิง ดร.เดือนเต็มดวง ถูกคู่แข่งคือ นายบุญเลิศ บูรณุปกรณ์ ซึ่งเป็นอดีตนายกเทศมนตรี ร้องคัดค้านว่าขาดคุณสมบัติ

คณะกรรมการการเลือกตั้งจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งแต่งตั้งมาตั้งแต่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้มีมติตัดสิทธิในการลงสมัครรับเลือกตั้งตามคำร้องคัดค้าน และคู่แข่งขันซึ่งยังมีอำนาจอยู่ในเทศบาลนครเชียงใหม่ถึงกับจะส่งเจ้าหน้าที่เทศกิจออกรื้อถอนป้ายรณรงค์หาเสียงของ ร.อ.หญิง ดร.เดือนเต็มดวง ที่ติดตั้งอยู่ในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ทั้งหมด

ร.อ.หญิง ดร.เดือนเต็มดวง ร้องคัดค้านความเห็นของ กกต. จังหวัดมายัง กกต. กลาง ที่กรุงเทพมหานคร จนก่อนวันเลือกตั้งเมื่อวันอาทิตย์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2550 เพียงไม่กี่วัน กกต.เชื่อตามพยานหลักฐานและยืนตามความเห็นของคณะกรรมการการเลือกตั้งจังหวัดเชียงใหม่

ร.อ.หญิง ดร.เดือนเต็มดวง ฟ้องคดีนี้ต่อศาลปกครองจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมยื่นคำร้องขอให้ศาลปกครองไต่สวนคำร้องโดยเหตุฉุกเฉิน เพื่อคุ้มครองชั่วคราวให้คงชื่อและหมายเลขผู้สมัครของตัวเองเพื่อรับการเลือกตั้ง

ศาลปกครองจังหวัดเชียงใหม่มีคำสั่งให้ไต่สวนคำร้องฉุกเฉิน แล้วมีคำสั่งให้จัดการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีเทศบาลนครเชียงใหม่ โดยคงสิทธิ ร.อ.หญิง ดร.เดือนเต็มดวง เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งเพื่อให้ชาวเทศบาลนครเชียงใหม่พิจารณาลงบัตรเลือกตั้ง ผลการนับคะแนน ร.อ.หญิง ดร.เดือนเต็มดวง สามารถชนะคู่แข่งขันสำคัญคือ อดีตนายกเทศมนตรีในตระกูลบูรณุปกรณ์ไปในที่สุดด้วยคะแนนที่ค่อนข้างทิ้งห่าง

การพ้นจากตำแหน่ง[แก้]

เมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2552 ศาลปกครองจังหวัดเชียงใหม่ ได้มีคำพิพากษายกคำฟ้องเรื่องขาดคุณสมบัติ ทำให้ ร.อ.หญิง ดร.เดือนเต็มดวง ต้องพ้นจากตำแหน่งนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ทันที[7][8] แต่ ร.อ.หญิง ดร.เดือนเต็มดวง ได้ยื่นต่อศาลปกครองสูงสุด ให้วินิจฉัยขาดคุณสมบัติ โดยยังคงปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งรักษาการ

ร.อ.หญิง ดร.เดือนเต็มดวง ประกาศลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2552 หลังศาลปกครองสูงสุด ได้มีคำวินิจฉัยเรื่องการขาดคุณสมบัติ และคณะกรรมการกฤษฎีกาชี้ว่า พ้นจากตำแหน่งนับตั้งแต่วันที่ได้รับเลือกตั้ง แต่ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน 2552 [9]

การเลือกตั้งนายกเทศมนตรีเทศบาลนครเชียงใหม่ สมัยที่ 2[แก้]

ในการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีเทศบาลนครเชียงใหม่ วันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ร.อ.หญิง ดร.เดือนเต็มดวง สมัครรับเลือกตั้งได้รับหมายเลข 1 และจัดทำเว็บไซต์ส่วนตัวเพื่อประชาสัมพันธ์ข่าวสารไว้ที่ www.drpang.org เก็บถาวร 2009-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน แต่ได้รับคะแนนเป็นลำดับที่ 3 [10] ต่อมาจึงเข้ารับตำแหน่งโฆษกและที่ปรึกษาของกรุงเทพมหานคร [11]

การเลือกตั้ง ส.ส. 2554[แก้]

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 ร.อ.หญิง ดร.เดือนเต็มดวง ลงสมัครรับเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่ 7 จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ แข่งขันกับนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ จากพรรคเพื่อไทย แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง

หลังจากนั้นเธอได้รับหน้าที่เป็นพิธีกรรายการโทรทัศน์ดาวเทียม ช่องบลูสกายแชนแนล

ที่ปรึกษาผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร[แก้]

ร.อ.หญิง ดร.เดือนเต็มดวง ได้รับแต่งตั้งเป็นคณะทำงานที่ปรึกษาผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร) เป็นวาระที่ 2 ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2556 [12] จนกระทั่งพ้นจากตำแหน่ง ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2559 จากนั้นเมื่อนางกิ่งกาญจน์ได้ย้ายมาสังกัดพรรคพลังประชารัฐ ร.อ.หญิง ดร.เดือนเต็มดวง จึงย้ายมาสังกัดพลังประชารัฐตามผู้เป็นมารดา

การเลือกตั้ง พ.ศ. 2562[แก้]

เดือนเต็มดวง ณ เชียงใหม่ ลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 สังกัดพรรคพลังประชารัฐ แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง[13] ภายหลังการเลือกตั้งจึงได้หันไปทำงานเป็นอาจารย์ประจำสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

ต่อมาในปี 2565 เธอได้เข้าร่วมกิจกรรมกับพรรคกล้า นำโดย กรณ์ จาติกวณิช[14] โดยได้รับหน้าที่เป็นคณะกรรมการเศรษฐกิจของพรรค ดูแลด้านเศรษฐกิจท่องเที่ยว[15]

การเลือกตั้ง พ.ศ. 2566[แก้]

เดือนเต็มดวง ได้ย้ายไปร่วมงานกับพรรครวมไทยสร้างชาติ พร้อมกับนางกิ่งกาญจน์ ณ เชียงใหม่[16]และได้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. แบบแบ่งเขตของจังหวัดเชียงใหม่ เขต 5 แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

ลำดับสาแหรก[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "รายพระนาม นาม เหล่าพระประยูรญาติ และ เชื้อสายเจ้านายฝ่ายเหนือ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-14. สืบค้นเมื่อ 2007-11-14.
  2. ไทยรัฐ - เดือนเต็มดวง ณ เชียงใหม่
  3. "ดร.เดือนเต็มดวง ณ เชียงใหม่ วิวาห์เงียบ พ.ท.จิตนาถ ปุณโณทก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-04-08. สืบค้นเมื่อ 2010-03-24.
  4. ‘อาจารย์ – ผู้ช่วยโฆษก’ 2 บทบาทในหนึ่งเดียว กับ ‘อาจารย์แป้ง’ ร.ท.หญิง เดือนเต็มดวง ณ เชียงใหม่
  5. คณะบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  6. "ผลการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-07. สืบค้นเมื่อ 2011-03-18.
  7. ‘ผู้กองแป้ง’ พ้นนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ หลังศาลปกครองยกฟ้อง
  8. "ผู้กองแป้ง" พ้นนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ หลังศาลปกครองยกฟ้อง
  9. เดือนเต็มดวง หลั่งน้ำตา ลาออกนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่
  10. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-30. สืบค้นเมื่อ 2009-10-05.
  11. "สุขุมพันธุ์"ยก"ธราดล"ให้"ไตรรงค์"เล็งทาบ"เดือนเต็มดวง"ร่วมงาน
  12. ปชป.เล็งหมุนเก้าอี้รองผู้ว่าฯกทม. หลังคิวพรรคต่อแน่น ด้าน"สุขุมพันธุ์" ตั้ง"วสันต์" นั่งโฆษกส่วนตัว โต้เกมการเมือง
  13. พลวุฒิ สงสกุล (19 กันยายน 2561). "แบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ เตรียมหย่อนบัตรปี 62 ส.ส. ลด 23 จังหวัด อีสานหด 10 ที่นั่ง". THE STANDARD. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  14. "ดร.เดือนเต็มดวงเข้าร่วม "กรณ์" เปิดตัวแทนเขตเมืองเชียงใหม่
  15. "พรรคกล้าเปิดตัว "กอร์ปศักดิ์ สภาวสุ"นั่งประธานยุทธศาสตร์และนโยบายพรรค ด้านกรณ์ประกาศ 4 แนวทางแก้ปัญหาเศรษฐกิจ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-03. สืบค้นเมื่อ 2022-05-03.
  16. "รทสช."ประกาศแล้ว! แคนดิเดตนายกฯ "บิ๊กตู่"เบอร์ 1 "พีระพันธุ์"เบอร์ 2
  17. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๘, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๓๑ ข หน้า ๑๖๕, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๘
  18. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๓๐ ข หน้า ๒๒๒, ๖ ธันวาคม ๒๕๕๖

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]