กิ่งกาญจน์ ณ เชียงใหม่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กิ่งกาญจน์ ณ เชียงใหม่
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ เขต 3
ดำรงตำแหน่ง
2 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 – 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539
(1 ปี 138 วัน)
ดำรงตำแหน่งร่วมกับ สมพงษ์ อมรวิวัฒน์
ก่อนหน้าบุญช่วย ภู่จีนาพันธุ์
ส่งสุข ภัคเกษม
สุรพล เกียรติไชยากร
ถัดไปบุญทรง เตริยาภิรมย์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด30 ธันวาคม พ.ศ. 2490 (76 ปี)
อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
เชื้อชาติไทย
ศาสนาศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองพรรคความหวังใหม่ (2538–2545)
พรรคไทยรักไทย (2545–2547)
พรรคประชาธิปัตย์ (2547-2550, 2555–2561)
พรรคเพื่อแผ่นดิน (2550)
พรรคพลังประชารัฐ (2561–2565)
พรรครวมไทยสร้างชาติ (2565–ปัจจุบัน)
คู่สมรสเจ้าธวัชวงศ์ ณ เชียงใหม่
บุตรร้อยเอกหญิง ดร. เดือนเต็มดวง ณ เชียงใหม่
แสงตะวัน ณ เชียงใหม่

กิ่งกาญจน์ ณ เชียงใหม่ หรือ แม่แดง[1] อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ เขต 3 จํานวน 2 สมัย อดีตกรรมการบริหารพรรคความหวังใหม่ และอดีตประธานกรรมการจัดงานประชุมนานาชาติ 1990 JCI ASPAC Chiangmai Conference [2] เธอเป็นภรรยาของ เจ้าธวัชวงศ์ ณ เชียงใหม่ อดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวง

ประวัติ[แก้]

กิ่งกาญจน์ ณ เชียงใหม่ เกิดเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2490 เป็นธิดาของนายเฉลิม และนางคำแปง โกไศยกานนท์ มีพี่น้อง 5 คน สมรสกับ เจ้าธวัชวงศ์ ณ เชียงใหม่ มีธิดา 2 คน คือ ร้อยเอกหญิง ดร.เดือนเต็มดวง ณ เชียงใหม่ อดีตนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ และ แสงตะวัน ณ เชียงใหม่ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ตะวันพันดารา จำกัด

การศึกษา[แก้]

งานด้านการเมือง[แก้]

กิ่งกาญจน์ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดพรรคความหวังใหม่ สองสมัย ได้แก่ การเลือกตั้ง พ.ศ. 2538 และการเลือกตั้ง พ.ศ. 2539 [3] แต่ในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2544 ไม่ได้รับการเลือกตั้ง แต่ได้รับแต่งตั้งเป็นประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร [4] ต่อมาได้ย้ายเข้าสังกัดพรรคไทยรักไทย พร้อมกับสมาชิกส่วนใหญ่ของ พรรคความหวังใหม่ ในปี พ.ศ. 2545

ถึงแม้ เจ้าธวัชวงศ์ ณ เชียงใหม่ กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และ เยาวภา วงศ์สวัสดิ์ จะมีความเกี่ยวข้องเป็นญาติกัน [5] แต่ก็มีความขัดแย้งในทางการเมืองระหว่าง กิ่งกาญจน์ ณ เชียงใหม่ กับ เยาวภา วงศ์สวัสดิ์ โดยรอยร้าวได้เริ่มก่อตัวขึ้นในปี พ.ศ. 2548 [6] ก่อนจะมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2548 กิ่งกาญจน์ ณ เชียงใหม่ และ ร้อยเอกหญิง ดร.เดือนเต็มดวง ณ เชียงใหม่ บุตรสาว ได้ตัดสินใจย้ายออกจากพรรคไทยรักไทย สมัครเข้าสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ เนื่องจากเกิดความขัดแย้งกับ เยาวภา วงศ์สวัสดิ์ ในการจัดวางตัวผู้สมัครในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ [7]

ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร พ.ศ. 2550 กิ่งกาญจน์ ได้ย้ายมาสังกัดพรรคเพื่อแผ่นดิน โดยได้รับมอบอำนาจให้วางตัวผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในพื้นที่เชียงใหม่ ซึ่ง พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ อดีตหัวหน้าพรรคความหวังใหม่ และอดีตนายกรัฐมนตรี มีผลต่อการตัดสินใจในการย้ายพรรคในครั้งนี้ ผลการเลือกตั้ง กิ่งกาญจน์ และกลุ่มผู้สมัครในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ได้พ่ายแพ้ให้กับผู้สมัครจาก พรรคพลังประชาชน เกือบทั้งหมด

กิ่งกาญจน์ ได้วางมือทางการเมืองเป็นระยะเวลา 5 ปี ก่อนที่จะได้ลงสมัครรับเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2555 โดยการสนับสนุนของ เจ้าธวัชวงศ์ ณ เชียงใหม่ และ พรรคประชาธิปัตย์ แต่ก็พ่ายแพ้ให้กับผู้สมัครที่ได้รับการสนับสนุนจาก เยาวภา วงศ์สวัสดิ์ และ พรรคเพื่อไทย [8]

กิ่งกาญจน์ ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้งในการเลือกตั้งซ่อมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขต 3 เชียงใหม่ พ.ศ. 2556 ในนามพรรคประชาธิปัตย์[9] โดยแข่งขันกับ เยาวภา วงศ์สวัสดิ์ จากพรรคเพื่อไทย แต่ก็พ่ายแพ้การเลือกตั้ง [10]

กิ่งกาญจน์ ลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 สังกัดพรรคพลังประชารัฐ[11] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง[12] ต่อมาในปี 2566 ได้ย้ายเข้าร่วมงานกับพรรครวมไทยสร้างชาติ[13] และลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่เชียงใหม่เขต 4 แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง

งานด้านสังคม[แก้]

กิ่งกาญจน์ ณ เชียงใหม่ เคยเป็นประธานชมรมลูกเสือชาวบ้านจังหวัดเชียงใหม่[14] และเป็นประธานอนุกรรมการปรับปรุงสวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ รวมทั้งเป็นประธานกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนสันทรายวิทยาคม และโรงเรียนนวมินทราชูทิศ พายัพ และเคยได้รับมอบหมายให้เป็นประธานกรรมการจัดงานประชุมนานาชาติ 1990 JCI ASPAC Chiangmai Conference

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. รวบ 2 ตำรวจ หน้าบ้าน แม่แดง ส.ส.ปชป.เชียงใหม่ อ้างถูกส่งมาดูแล
  2. http://www.jcihk.org/images/download/JC_Library_1/JCI_ASPAC/1990_aspac_chiangmai_conference.pdf
  3. ผลการเลือกตั้ง เก็บถาวร 2004-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนเว็บไซต์กรมการปกครอง
  4. คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 48/2544 เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (ตำแหน่งประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี จำนวน 3 ราย คือ พลอากาศเอก จรูญ วุฒิกาญจน์ นายไพฑูรย์ บุญญวัฒน์ นางกิ่งกาญจน์ ณ เชียงใหม่)
  5. สายโลหิตของเจ้านายฝ่ายเหนือที่เหลืออยู่
  6. ชินวัตร - ณ เชียงใหม่ เลือดจางเมื่อการเมืองเข้ม
  7. "ทรท.เชียงใหม่แตกยับ "เจ้าหนุ่ย" ยกทีมซบ ปชป". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2010-08-03.
  8. "แดง ชม.ไม่หยุด! ตามด่า "มาร์ค" กลางขบวนหาเสียงช่วย "กิ่งกาญจน์" สู้ศึกนายก อบจ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2012-06-19.
  9. กิ่งกาญจน์ ณ เชียงใหม่จาก ไทยรัฐ
  10. "แม่แดง" ท้าชน "เจ๊แดง" ฐานการเงินแกร่ง 2 ตระกูลดังเชียงใหม่"
  11. พปชร.เปิดตัว“กิ่งกาญจน์-เดือนเต็มดวง” ผู้สมัคร สส.เชียงใหม่
  12. พลวุฒิ สงสกุล (19 กันยายน 2561). "แบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ เตรียมหย่อนบัตรปี 62 ส.ส. ลด 23 จังหวัด อีสานหด 10 ที่นั่ง". THE STANDARD. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  13. "รทสช."ประกาศแล้ว! แคนดิเดตนายกฯ "บิ๊กตู่"เบอร์ 1 "พีระพันธุ์"เบอร์ 2
  14. 10 ส.ค. 50 - นางกิ่งกาญจน์ ณ เชียงใหม่ ประธานชมรมลูกเสือชาวบ้านจังหวัดเชียงใหม่
  15. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-10-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๕๓, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
  16. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๘๔, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๑