เจ้าจอมมารดาเที่ยง ในรัชกาลที่ 4
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
เจ้าจอมมารดา เที่ยง ในรัชกาลที่ 4 | |
---|---|
เกิด | 27 ธันวาคม พ.ศ. 2374 |
เสียชีวิต | 24 มกราคม พ.ศ. 2456 (81 ปี) |
คู่สมรส | พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
บุตร | 10 พระองค์ |
บิดามารดา | พระยาอัพภันตริกามาตย์ (ดิศ โรจนดิศ) คล้าย โรจนดิศ |
เจ้าจอมมารดาเที่ยง[1] ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (สกุลเดิม โรจนดิศ, 27 ธันวาคม พ.ศ. 2374 - 24 มกราคม พ.ศ. 2456) เป็นเจ้าจอมมารดาของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสมรรัตนศิริเชฐ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นราชศักดิ์สโมสร และพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพงษาดิศรมหิป
ประวัติ
[แก้]เจ้าจอมมารดาเที่ยง เกิดเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2374 เป็นธิดาคนโตของพระยาอัพภันตริกามาตย์ (ดิศ โรจนดิศ) และขรัวยายคล้าย[2] มีน้องสาวที่เข้าถวายตัวเป็นเจ้าจอมด้วยกัน คือ เจ้าจอมมารดาชุ่ม ในรัชกาลที่ 4, เจ้าจอมมารดาทับทิม ในรัชกาลที่ 5 และเจ้าจอมมารดาแส ในรัชกาลที่ 5
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดปรานและไว้วางพระราชหฤทัยเจ้าจอมมารดาเที่ยง โปรดเกล้าฯ ให้บัญชาการห้องพระเครื่องต้น[3] เจ้าจอมมารดาเที่ยงให้ประสูติการพระราชโอรส พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถึง 10 พระองค์ คือ
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสมรรัตนศิริเชฐ (พ.ศ. 2395-2474)
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเสวตรวรลาภ (พ.ศ. 2397-2402)
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีนาคสวาดิ (พ.ศ. 2398-2456)
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นราชศักดิ์สโมสร (พ.ศ. 2399-2474) ต้นราชสกุลกมลาศน์
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากนกวรรณเลขา (พ.ศ. 2400-2461)
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิง (ประสูติเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2402 สิ้นพระชนม์เมื่อมีพระชันษาได้ 8 วัน)
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพงษาดิศรมหิป (พ.ศ. 2404-2478) ต้นราชสกุลชยางกูร
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าแขไขดวง (พ.ศ. 2406-2472)
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจรูญฤทธิเดช (พ.ศ. 2408 สิ้นพระชนม์เมื่อมีพระชันษาได้ 9 วัน)
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพวงสร้อยสอางค์ (พ.ศ. 2409-2493)
เจ้าจอมมารดาเที่ยงเป็นผู้สร้างวัดมัชฌันติการามขึ้นที่ตำบลบางซื่อ เมื่อ พ.ศ. 2417 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามวัด มีความหมายว่า "วัดของเจ้าจอมมารดาเที่ยง"[4]
เจ้าจอมมารดาเที่ยงถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2456 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว สิริอายุ 81 ปี 28 วัน[5] มีพระราชพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2457 ณ พระเมรุ วัดราชาธิวาสราชวรวิหาร[6]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2446 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายใน)[7]
- พ.ศ. 2438 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายใน)[8]
- พ.ศ. 2436 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 3 ตติยจุลจอมเกล้า (ต.จ.) (ฝ่ายใน)[9]
- พ.ศ. 2447 - เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 4 ชั้นที่ 2 (ม.ป.ร.2)[10]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ประวัติเจ้าจอมมารดาเที่ยง – วัดมัชฌันติการาม (วัดน้อย) ธ."
- ↑ http://dl.kids-d.org/bitstream/handle/123456789/HASHf162d1e5f26c675a3dad7b/doc.pdf?sequence=1[ลิงก์เสีย] หน้า 11
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-12-30. สืบค้นเมื่อ 2007-02-19.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-20. สืบค้นเมื่อ 2020-07-20.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ข่าวอสัญกรรม
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเพลิงพระศพและศพที่พระเมรุวัดราชาธิวาส พุทธศักราช ๒๔๕๗ เล่ม 31, ตอน ๐ ง, 21 มิถุนายน พ.ศ. 2457, หน้า 668
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,พระราชทานเครื่องราชอิศริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายใน เล่ม 20 หน้า 616 วันที่ 29 พฤศจิกายน 2456
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ถวายบังคมพระบรมรูปแลพระราชทานเครื่องราชอิศริยาภรณ์ เล่ม 12 หน้า 305
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐, ตอน ๓๕, ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๓๖, หน้า ๓๗๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ ฝ่ายใน เก็บถาวร 2015-10-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 21, ตอน 32, 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2447, หน้า 570