ข้ามไปเนื้อหา

อำเภอนิคมคำสร้อย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำเภอนิคมคำสร้อย
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Nikhom Kham Soi
คำขวัญ: 
อุทยานภูหมู เคียงคู่ชลประทาน พุทธสถานภูดานแต้
งามแท้หม่อนไหม ภูมิปัญญาไทยตะกร้าสาน
เล่าขานตำนานดงบังอี่
แผนที่จังหวัดมุกดาหาร เน้นอำเภอนิคมคำสร้อย
แผนที่จังหวัดมุกดาหาร เน้นอำเภอนิคมคำสร้อย
พิกัด: 16°22′18″N 104°33′2″E / 16.37167°N 104.55056°E / 16.37167; 104.55056
ประเทศ ไทย
จังหวัดมุกดาหาร
พื้นที่
 • ทั้งหมด377.2 ตร.กม. (145.6 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2565)
 • ทั้งหมด43,534 คน
 • ความหนาแน่น115.41 คน/ตร.กม. (298.9 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 49130
รหัสภูมิศาสตร์4902
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอนิคมคำสร้อย เลขที่ 138 หมู่ที่ 5 ตำบลนิคมคำสร้อย อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร 49130
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

นิคมคำสร้อย เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดมุกดาหาร เดิมเป็นตำบลคำสร้อย ขึ้นกับอำเภอมุกดาหาร จังหวัดนครพนม ในขณะนั้น จัดตั้งเป็นกิ่งอำเภอนิคมคำสร้อย ในวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2518 โดยมีเขตการปกครอง 5 ตำบล คือ ตำบลนิคมคำสร้อย ตำบลนากอก ตำบลนาอุดม ตำบลหนองแวง และตำบลกกแดง ตามราชกิจจานุเบกษา เล่ม 92 ตอนที่ 104 วันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ.2518

ต่อมาในวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2522 ได้ยกฐานะเป็นอำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดนครพนม ในขณะนั้น ซึ่งแบ่งการปกครองเป็น 5 ตำบล 64 หมู่บ้าน โดยมีการจัดตั้งอำเภอพร้อมกับ อำเภอหนองกุงศรี อำเภอไทรงาม อำเภอบ้านฝาง อำเภออุบลรัตน์ อำเภอเวียงชัย อำเภอดอยเต่า อำเภอนาหว้า อำเภอเสิงสาง อำเภอศรีสาคร อำเภอบึงสามพัน อำเภอนาดูน อำเภอค้อวัง อำเภอโพธิ์ชัย อำเภอเมืองสรวง อำเภอปลวกแดง อำเภอยางชุมน้อย อำเภอกาบเชิง อำเภอสุวรรณคูหา และอำเภอกุดข้าวปุ้น ตามราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 96 ตอนที่ 42 วันที่ 25 มีนาคม พ.ศ.2522

ในเวลาต่อมา วันที่ 25 กันยายน พ.ศ 2525 ได้มีพระราชบัญญัติในการจังตั้งจังหวัดมุกดาหารขึ้น ซึ่งได้แยกออกจากจังหวัดนครพนม จึงทำให้ท้องที่อำเภอนิคมคำสร้อยย้ายมาขึ้นกับการปกครองในท้องที่จังหวัดมุกดาหารจนถึงปัจจุบัน

ที่ตั้งและอาณาเขต

[แก้]

อำเภอนิคมคำสร้อยมีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค

[แก้]

อำเภอนิคมคำสร้อยแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 7 ตำบล 79 หมู่บ้าน ได้แก่

1. นิคมคำสร้อย (Nikhom Kham Soi) 14 หมู่บ้าน
2. นากอก (Na Kok) 13 หมู่บ้าน
3. หนองแวง (Nong Waeng) 11 หมู่บ้าน
4. กกแดง (Kok Daeng) 13 หมู่บ้าน
5. นาอุดม (Na Udom) 12 หมู่บ้าน
6. โชคชัย (Chok Chai) 9 หมู่บ้าน
7. ร่มเกล้า (Rom Klao) 7 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

[แก้]

ท้องที่อำเภอนิคมคำสร้อยประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 8 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลนิคมคำสร้อย ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลนิคมคำสร้อย ตำบลนากอก และตำบลโชคชัย
  • เทศบาลตำบลร่มเกล้า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลร่มเกล้าทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลนิคมคำสร้อย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนิคมคำสร้อย (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลนิคมคำสร้อย)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลนากอก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนากอก (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลนิคมคำสร้อย)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองแวงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลกกแดง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกกแดงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลนาอุดม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาอุดมทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโชคชัย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโชคชัย (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลนิคมคำสร้อย)

รายนามหัวหน้าประธานกิ่งอำเภอและนายอำเภอ

[แก้]
ประธานกิ่ง อำเภอนิคมคำสร้อย
ลำดับ ชื่อ ดำรงตำแหน่ง
1 นายเสริม ทวีเดช 2518 - 2521
2 นายเชาน์ ศิริรัตน์ 2521 - 2522
นายอำเภอนิคมคำสร้อย
ลำดับ ชื่อ ดำรงตำแหน่ง
1 ร.ต.เจริญ อุปราคม 2522 - 2523
2 นายวินัย สวัสดี 2523 - 2525
3 นายสุจริต แสงมณี 2525 - 2528
4 นายภูริวัฒน์ ชิดทรงสวัสดิ์ 2528 - 2531
5 นายดำเกิง อัศวสุนทรางกรู 2531 - 2535
6 นายสนิท เหลืองภิรมย์ 2535 - 2536
7 นายอุ่น แก่นนาค 2536 - 2538
8 นายไพบูลย์ เสลานนท์ 2538 - 2542
9 นายอนุรัฐ ไทยตรง 2542 - 2544
10 นายผดุงศักดิ์ บุญชิต 2544 - 2547
11 นายเมธี สุพรรณฝ่าย 2547 - 2548
12 นายสุวิทย์ หงษ์ภักดี 2548 - 2551
13 นายสุรศักดิ์ เพรชสุวรรณรังสี 2551 - 2554
14 นายดำรงค์ สิริวิชย อิ่มวิเศษ 2554 - 2555
15 นายกำพล สิริรัตตนนท์ 2555 - 2558
16 นายชำนาญ ชื่นตา 2558 -2559
17 นายชัยวัฒน์ ชัยเวชพิสิฐ 2559 - 2561
18 นายชายสิทธิ์ สุวรรณโชติ 2561 - ปัจจุบัน

สถานศึกษา

[แก้]

โรงเรียนประถมศึกษา 33 แห่ง ขยายโอกาส 8 แห่ง โรงเรียนมัธยมศึกษา 5 แห่ง ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน 1 แห่ง วิทยาลัยการอาชีพนิคมคำสร้อย 1 แห่ง วิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร เครือข่ายนิคมคำสร้อย สถานที่ ฝึกอบรม/เรียน ใช้สถานที่ วิทยาลัยการอาชีพนิคมคำสร้อยและศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนอำเภอนิคมคำสร้อย

1.โรงเรียนมัธยม ได้แก่ โรงเรียนคำสร้อยพิทยาสรรค์ โรงเรียนร่มเกล้าพิทยาสรรค์ โรงเรียนอุดมวิทย์ โรงเรียนโชคชัยวิทยา โรงเรียนแวงใหญ่วิทยา

2.มหาวิทยาลัย ได้แก่ วิทยาลัยการอาชีพนิคมคำสร้อย

ด้านทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญของอำเภอ

[แก้]

วนอุทยานภูหมู ห้วยบังอี่ อ่างเก็บน้ำห้วยขี้เหล็ก ป่าไม้ ภูเขา

ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ

[แก้]

1.อาชีพหลัก ได้แก่

ทำนา ทำสวน

2.อาชีพเสริม ได้แก่

ปลูกยางพารา ปลูกมันสัมปะหลัง ปลูกข้าวโพด ปลูกอ้อย

ด้านการเกษตรและอุตสาหกรรม

[แก้]

1.ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ อ้อย หม่อนไหม ยางพารา มันสำปะหลัง

2.ชื่อแหล่งน้ำที่สำคัญได้แก่ ห้วยบังอี่ อ่างเก็บน้ำห้วยขี้เหล็ก

ภูมิอากาศ

[แก้]

ลักษณะทางภูมิอากาศเป็นแบบมรสุม มี 3 ฤดู ร้อน, ฝน, หนาว แหล่งน้ำธรรมชาติ มี 1 แห่งคือ อ่างเก็บน้ำห้วยขี้เหล็ก

สภาพเศรษฐกิจ/อาชีพ

[แก้]

โครงสร้างทางเศรษฐกิจ และรายได้ส่วนใหญ่ มาจากภาคเกษตร ข้าวเป็นพืชเกษตรหลัก รองลงมา คือ อ้อยโรงงาน,ยางพารา,มันสำประหลัง ,หม่อนไหมและปอแก้วตามลำดับ รองลงมาคือ การค้าขาย และการบริการภาคอุตสาหกรรมซึ่งมีสัดส่วนน้อยมาก

การศึกษาศาสนา,วัฒนธรรมและสังคม

[แก้]

ศาสนา ประชากรส่วนใหญ่ นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 99 ศาสนาอื่น ๆ ร้อยละ 1 มีวัด /สำนักสงฆ์ / มูลนิธิ 82 แห่ง พระสงฆ์,แม่ชี,สามเณร รวม 250 รูป

ขนบธรรมเนียมที่สำคัญ

[แก้]

ได้แก่การทำบุญในวันสำคัญทางศาสนา ,วันสงกรานต์,วันลอยกระทง

คติธรรม

[แก้]
  ความเชื่อและสิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจ ได้แก่ คติธรรมทางพุทธศาสนา ฮีตสิบสอง ครองสิบสี่

ภาษาถิ่น

[แก้]

ภาษาไทยอีสาน, ภูไท,ย้อ,ข่า

ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านที่สำคัญ

[แก้]

ชาวภูไท นิยมทอผ้าลายขิด ผ้าไหม, ผ้าห่มไหมพรม , ตีเหล็ก ทอเสื่อ, จักสานตะกร้าจากเส้นพลาสติก