ข้ามไปเนื้อหา

อำเภอชื่นชม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำเภอชื่นชม
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Chuen Chom
ชื่นชมพิทยาคาร โรงเรียนประจำอำเภอชื่นชม
ชื่นชมพิทยาคาร โรงเรียนประจำอำเภอชื่นชม
คำขวัญ: 
ชื่นชมถิ่นคนดี กะหล่ำปลีและอ้อยหวาน
ลำธารห้วยสายบาตร เห็ดธรรมชาติป่าโคกข่าว
กราบเจ้าหลวงปู่หิน
แผนที่จังหวัดมหาสารคาม เน้นอำเภอชื่นชม
แผนที่จังหวัดมหาสารคาม เน้นอำเภอชื่นชม
พิกัด: 16°31′53″N 103°10′18″E / 16.53139°N 103.17167°E / 16.53139; 103.17167
ประเทศ ไทย
จังหวัดมหาสารคาม
พื้นที่
 • ทั้งหมด113.0 ตร.กม. (43.6 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด24,628 คน
 • ความหนาแน่น217.95 คน/ตร.กม. (564.5 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 44160
รหัสภูมิศาสตร์4413
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอชื่นชม เลขที่ 247 หมู่ที่ 3 ถนนเชียงยืน-คำใหญ่ ตำบลชื่นชม อำเภอชื่นชม จังหวัดมหาสารคาม 44160
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ชื่นชม เป็นอำเภอในจังหวัดมหาสารคาม แยกตั้งเป็นกิ่งอำเภอในวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2540[1] และยกฐานะเป็นอำเภอในวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2550[2] เป็นอำเภอล่าสุดของทางจังหวัดมหาสารคาม

ที่ตั้งและอาณาเขต

[แก้]

อำเภอชื่นชม มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียงดังนี้

ประวัติ

[แก้]

ชื่นชมเดิมเป็นหมู่บ้านในตำบลเชียงยืน อำเภอกันทรวิชัย ปี พ.ศ. 2492 ทางราชการแยกพื้นที่ด้านทิศเหนือของตำบลเชียงยืน ได้แก่ หมู่ที่ 17–18, 24–25, 31, 37–39 และหมู่ที่ 41–46 รวม 14 หมู่บ้าน ตั้งเป็น "ตำบลชื่นชม"[3] ต่อมาราษฎรได้ยื่นเรื่องราวต่อราชการ ขอให้ตั้งกิ่งอำเภอขึ้นที่ตำบลเชียงยืน โดยเสนอรวมท้องที่ตำบลเชียงยืน ตำบลหนองซอน ตำบลชื่นชม และตำบลกู่ทอง ต่อมาในปี พ.ศ. 2500 กรมการปกครองได้บรรจุเข้าแผนการจัดตั้งกิ่งอำเภอภายในปี พ.ศ. 2501 เนื่องจากการก่อสร้างที่ว่าการกิ่งอำเภอเสร็จเรียบร้อย

ในปีเดียวกันเมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2501 ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยให้แยกตำบลเชียงยืน ตำบลหนองซอน ตำบลชื่นชม และตำบลกู่ทอง ออกจากการปกครองของอำเภอกันทรวิชัย ตั้งเป็น กิ่งอำเภอเชียงยืน[4] จนกระทั่งเมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2502 จึงมีพระราชกฤษฎีกาฯ ยกฐานะขึ้นเป็น อำเภอเชียงยืน[5] ตำบลชื่นชมจึงย้ายมาขึ้นกับอำเภอเชียงยืน ในปี พ.ศ. 2506 ได้แยก 4 หมู่บ้านของตำบลชื่นชม กับ 6 หมู่บ้านของตำบลเชียงยืน และ 3 หมู่บ้านของตำบลหนองซอน ตั้งเป็น ตำบลเหล่าดอกไม้[6]

ทิศเหนือของอำเภอเชียงยืนมีการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ ในปี พ.ศ. 2514 ได้แยก 3 หมู่บ้านของตำบลเหล่าดอกไม้ กับ 8 หมู่บ้านของตำบลหนองซอน ตั้งเป็น ตำบลดอนเงิน[7] แยกหมู่ 4 บ้านกุดปลาดุก ของตำบลชื่นชม รวมกับอีก 9 หมู่บ้านข้างเคียง ตั้งเป็น ตำบลกุดปลาดุก[8] และหมู่ 9 บ้านหนองกุง ของตำบลเหล่าดอกไม้ รวมกับอีก 7 หมู่บ้านข้างเคียง ตั้งเป็น ตำบลหนองกุง ในปี พ.ศ. 2533[9] ในปี พ.ศ. 2538 ประชาชน 4 ตำบลด้านทิศเหนือของอำเภอเชียงยืน ได้ยื่นเรื่องราวต่อกรมการปกครองให้ตั้งกิ่งอำเภอขึ้นในพื้นที่ เนื่องจากห่างไกลจากอำเภอสังกัดเดิมกว่า 20 กิโลเมตร โดยมีพื้นที่รวม 4 ตำบล 47 หมู่บ้าน ประชากร 23,816 คน และ 4,888 ครัวเรือน[10]

ในปี พ.ศ. 2540 ทางราชการได้แบ่งเขตตำบลชื่นชม ตำบลเหล่าดอกไม้ ตำบลหนองกุง และตำบลกุดปลาดุก ออกมาเป็น กิ่งอำเภอชื่นชม[1] ในวันที่ 1 มิถุนายน ในครั้งแรกยังไม่มีที่ทําการถาวร จึงใช้ศาลาการเปรียญวัดชัยศรี เป็นที่ทําการกิ่งอําเภอชั่วคราว และวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2541 ทางราชการได้สนับสนุนงบประมาณก่อสร้างอาคารที่ว่าการกิ่งอําเภอเป็นการถาวร ต่อมาในวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะเป็น อําเภอชื่นชม[2] ตามโครงการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม พ.ศ. 2550 โดยมีผลบังคับใช้วันที่ 8 กันยายน

ต่อมาเขตองค์การบริหารส่วนตำบลกุดปลาดุกที่มีพื้นที่ 15 หมู่บ้าน ประชากร 8,205 คน และ 1,980 ครัวเรือน กับองค์การบริหารส่วนตำบลหนองกุงที่มีพื้นที่ 10 หมู่บ้าน ประชากร 4,086 คน และ 977 ครัวเรือน[11] มีความเจริญมากขึ้น มีรายได้พอแก่การปฏิบัติหน้าที่อันต้องทำตามที่กฎหมายกำหนดไว้ จึงยกฐานะขึ้นเป็น เทศบาลตำบลกุดปลาดุก[12] และเทศบาลตำบลหนองกุง[13] เป็นเทศบาลตำบลพร้อมกันในปี พ.ศ. 2552 จนถึงปัจจุบัน

การแบ่งเขตปกครอง

[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค

[แก้]

อำเภอชื่นชมแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 4 ตำบล 47 หมู่บ้าน ได้แก่

1. ชื่นชม (Chuen Chom) 11 หมู่บ้าน
2. กุดปลาดุก (Kut Pla Duk) 15 หมู่บ้าน
3. เหล่าดอกไม้ (Lao Dok Mai) 11 หมู่บ้าน
4. หนองกุง (Nong Kung) 10 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

[แก้]

ท้องที่อำเภอชื่นชมประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลกุดปลาดุก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกุดปลาดุกทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลหนองกุง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองกุงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลชื่นชม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลชื่นชมทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเหล่าดอกไม้ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเหล่าดอกไม้ทั้งตำบล

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม ตั้งเป็นกิ่งอำเภอชื่นชม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 114 (ตอนพิเศษ 51 ง): 15. วันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2540
  2. 2.0 2.1 "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอฆ้องชัย อำเภอดอนจาน อำเภอนาคู อำเภอสามชัย อำเภอโกสัมพีนคร อำเภอบึงสามัคคี อำเภอโคกโพธิ์ไชย อำเภอซำสูง อำเภอโนนศิลา อำเภอบ้านแฮด อำเภอเวียงเก่า อำเภอหนองนาคำ อำเภอเขาคิชฌกูฏ อำเภอคลองเขื่อน อำเภอเกาะจันทร์ อำเภอเนินขาม อำเภอหนองมะโมง อำเภอซับใหญ่ อำเภอดอยหลวง อำเภอเวียงเชียงรุ้ง อำเภอดอยหล่อ อำเภอแม่ออน อำเภอหาดสำราญ อำเภอเกาะกูด อำเภอเกาะช้าง อำเภอวังเจ้า อำเภอวังยาง อำเภอเทพารักษ์ อำเภอบัวลาย อำเภอพระทองคำ อำเภอเมืองยาง อำเภอลำทะเมนชัย อำเภอสีดา อำเภอช้างกลาง อำเภอนบพิตำ อำเภอชุมตาบง อำเภอแม่เปิน อำเภอภูเพียง อำเภอแคนดง อำเภอบ้านด่าน อำเภอสามร้อยยอด อำเภอภูกามยาว อำเภอภูซาง อำเภอศรีนครินทร์ อำเภอดงเจริญ อำเภอบึงนาราง อำเภอสากเหล็ก อำเภอกุดรัง อำเภอชื่นชม อำเภอเชียงขวัญ อำเภอทุ่งเขาหลวง อำเภอหนองฮี อำเภอสุขสำราญ อำเภอเขาชะเมา อำเภอนิคมพัฒนา อำเภอบ้านคา อำเภอเวียงหนองล่อง อำเภอหนองหิน อำเภอเอราวัณ อำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ อำเภอศิลาลาด อำเภอมะนัง อำเภอบางเสาธง อำเภอโคกสูง อำเภอวังสมบูรณ์ อำเภอวิภาวดี อำเภอเขวาสินรินทร์ อำเภอโนนนารายณ์ อำเภอพนมดงรัก อำเภอศรีณรงค์ อำเภอเฝ้าไร่ อำเภอโพธิ์ตาก อำเภอรัตนวาปี อำเภอสระใคร อำเภอกู่แก้ว อำเภอประจักษ์ศิลปาคม อำเภอนาตาล อำเภอนาเยีย อำเภอน้ำขุ่น อำเภอสว่างวีระวงศ์ และอำเภอเหล่าเสือโก้ก พ.ศ. ๒๕๕๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 124 (46 ก): 14–21. วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 มีผลภายในวันที่ 8 กันยายน ปีเดียวกัน
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลและตั้งตำบลในท้องที่อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 66 (33 ง): 2695–2697. วันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2492
  4. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยกฐานะตำบลขึ้นเป็นกิ่งอำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 75 (70 ง): 2487–2488. วันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2501
  5. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอชุมพวง อำเภอเชียงยืน อำเภอแก้งคร้อ อำเภอสำโรงทาบ อำเภอคอนสาร อำเภอเซกา อำเภอทุ่งเสลี่ยม อำเภอบ้านด่าน อำเภอขนอม อำเภอบ้านแพรก อำเภอกระทู้ และอำเภอคลองใหญ่ พ.ศ. ๒๕๐๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 76 (113 ก): (ฉบับพิเศษ) 8-11. วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2502
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเชียงยืนและอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 80 (20 ง): 474–486. วันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2506
  7. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเชียงยืน และอำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 88 (97 ง): 2444–2471. วันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2514
  8. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 103 (219 ง): (ฉบับพิเศษ) 35-40. วันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2529
  9. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองมหาสารคาม อำเภอบรบือ อำเภอเชียงยืนและอำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 107 (168 ง): (ฉบับพิเศษ) 98-113. วันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2533
  10. ประชากรรายตำบลในประเทศไทย ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2539 (เขตตำบลชื่นชม ตำบลเหล่าดอกไม้ ตำบลหนองกุง และตำบลกุดปลาดุก อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม) สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2567
  11. ประชากรรายตำบลในประเทศไทย ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2551 (เขตตำบลกุดปลาดุก และตำบลหนองกุง อำเภอชื่นชม จังหวัดมหาสารคาม) สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2567
  12. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่ิอง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลกุดปลาดุก อำเภอชื่นชม จังหวัดมหาสารคาม เป็น เทศบาลตำบลกุดปลาดุก". กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. 126: 1. วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2552 โดยมีผลบังคับใช้ในวันเดียวกัน
  13. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่ิอง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลหนองกุง อำเภอชื่นชม จังหวัดมหาสารคาม เป็น เทศบาลตำบลหนองกุง". กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. 126: 1. วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2552 โดยมีผลบังคับใช้ในวันเดียวกัน