หม่อมเจ้าวิมวาทิตย์ รพีพัฒน์
หม่อมเจ้าวิมวาทิตย์ รพีพัฒน์ | |
---|---|
ปลัดกระทรวงพาณิชย์ | |
ดำรงตำแหน่ง 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2476 – 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2478 | |
ก่อนหน้า | หม่อมเจ้าสกลวรรณากร วรวรรณ |
ถัดไป | พลเรือตรี พระยาศรยุทธเสนี (กระแส ประวาหะนาวิน) |
ประสูติ | 25 ธันวาคม พ.ศ. 2445 |
สิ้นชีพิตักษัย | 29 ธันวาคม พ.ศ. 2501 (56 ปี) |
พระราชทานเพลิง | 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 สุสานวัดเทพศิรินทราวาส |
ชายา | หม่อมเจ้าวินิตา กิติยากร |
บุตร | หม่อมราชวงศ์วิภากร รพีพัฒน์ |
ราชวงศ์ | จักรี |
ราชสกุล | รพีพัฒน์ |
พระบิดา | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ |
พระมารดา | หม่อมอ่อน รพีพัฒน์ ณ อยุธยา |
มหาอำมาตย์ตรี[1] หม่อมเจ้าวิมวาทิตย์ รพีพัฒน์ (25 ธันวาคม พ.ศ. 2445 - 29 ธันวาคม พ.ศ. 2501) เป็นพระโอรสใพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ประสูติแต่หม่อมอ่อน รพีพัฒน์ ณ อยุธยา มีโสทรภราดาและโสทรภคินี 10 องค์ และมีขนิษฐาต่างพระมารดา 2 องค์
หม่อมเจ้าวิมวาทิตย์ ได้เข้าศึกษาที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ ได้รับประกาศนียบัตรชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แล้วจึงได้เสด็จไปศึกษาต่อ ณ ประเทศอังกฤษ โดยเข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ในปี พ.ศ. 2464 สำเร็จการศึกษานิติศาสตรบัณฑิต เกียรตินิยมอันดับ 2 และสอบได้เป็นเนติบัณฑิตอังกฤษ
หม่อมเจ้าวิมวาทิตย์ ทรงรับราชการกระทรวงการคลัง ตำแหน่งอธิบดีกรมที่ดิน ปลัดทูลฉลองกระทรวงเกษตรพาณิชยการ[2] อธิบดีกรมสรรพากร อธิบดีกรมโลหกิจ (พ.ศ. 2475 - 2476) ปลัดกระทรวงพาณิชย์[3] (ดำรงตำแหน่ง เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2476) และในปี พ.ศ. 2490 ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็น อธิบดีกรมศุลกากร กระทรวงการคลัง[4]
หม่อมเจ้าวิมวาทิตย์ ประทับอยู่ที่ตำหนักหลังใหญ่บริเวณปากซอยชิดลม ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ตั้งของห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลชิดลม[5] เป็นนักกีฬาแข่งม้า และเข้าสังคม เป็นสมาชิกวงลายคราม วงดนตรีในพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
หม่อมเจ้าวิมวาทิตย์เสกสมรสกับหม่อมเจ้าวินิตา รพีพัฒน์ (ราชสกุลเดิม กิติยากร; พระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ) มีโอรสคนเดียว คือ
- หม่อมราชวงศ์วิภากร รพีพัฒน์ สมรสกับวุฒิวิฑู พี.เทอเสน (ราชสกุลเดิม วุฒิชัย; พระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร) ต่อมาสมรสใหม่กับเย็นจิตต์ รพีพัฒน์ ณ อยุธยา (สกุลเดิม สัมมาพันธ์; อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร)[5]
เมื่อ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระผนวชเมื่อปี พ.ศ. 2499 หม่อมเจ้าวิมวาทิตย์ได้ผนวชตามเสด็จด้วย จากนั้นไม่นานหม่อมเจ้าวิมวาทิตย์ประชวรด้วยพระโรคมะเร็ง และสิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2501 สิริชันษา 56 ปี มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 ณ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร
พระยศ
[แก้]- 20 ตุลาคม พ.ศ. 2468 รองอำมาตย์เอก[6]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2491 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[7]
- พ.ศ. 2486 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)
- พ.ศ. 2493 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.)[8]
- พ.ศ. 2482 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)
- พ.ศ. 2472 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)[9]
- พ.ศ. 2471 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 4 (ป.ป.ร.4)
พงศาวลี
[แก้]พงศาวลีของหม่อมเจ้าวิมวาทิตย์ รพีพัฒน์ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานยศ, เล่ม ๔๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๙๕๔, ๖ กันยายน ๒๔๗๔
- ↑ ประกาศย้ายข้าราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 50 หน้า 335
- ↑ รายพระนามและรายนามปลัดกระทรวงพาณิชย์http://www.ops.moc.go.th/download/pdf/61-NameListOPS011061.pdf เก็บถาวร 2021-07-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ เรื่อง แต่งตั้งอธิบดีกรมศุลกากร ตอนที่ 60 เล่ม 64 ราชกิจจานุเบกษา 9 ธันวาคม 2490
- ↑ 5.0 5.1 กิติวัฒนา (ไชยันต์) ปกมนตรี, หม่อมราชวงศ์. สายพระโลหิตในพระพุทธเจ้าหลวง. กรุงเทพฯ : ดีเอ็มดี, พ.ศ. 2551. 290 หน้า. ISBN 978-974-312-022-0
- ↑ พระราชทานยศ
- ↑ แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตอนที่ 71 เล่ม 65 ราชกิจจานุเบกษา 7 ธันวาคม 2491
- ↑ แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตอนที่ 25 เล่ม 67 ราชกิจจานุเบกษา 2 พฤษภาคม 2493
- ↑ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 46 หน้า 2925 วันที่ 1 ธันวาคม 2472
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2445
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2501
- หม่อมเจ้าชาย
- ราชสกุลรพีพัฒน์
- ราชสกุลเสนีวงศ์
- ข้าราชการพลเรือนชาวไทย
- ปลัดกระทรวงพาณิชย์ไทย
- อธิบดีกรมที่ดิน
- อธิบดีกรมสรรพากร
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ.ว. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ อ.ป.ร.2
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- อธิบดีกรมศุลกากร
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์