ข้ามไปเนื้อหา

ลูกา 2

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ลูกา 2
ลูกา 2:1-7 ในฉบับพระเจ้าเจมส์ต้นฉบับ แสดงวรรค 2 ที่อยู่ในวงเล็บ
หนังสือพระวรสารนักบุญลูกา
หมวดหมู่พระวรสาร
ภาคในคัมภีร์ไบเบิลคริสต์พันธสัญญาใหม่
ลำดับในภาคของคัมภีร์ไบเบิลคริสต์3

ลูกา 2 (อังกฤษ: Luke 2) เป็นบทที่ 2 ของพระวรสารนักบุญลูกาในภาคพันธสัญญาใหม่ของคัมภีร์ไบเบิลของศาสนาคริสต์ ซึ่งถือกันว่าเขียนโดยลูกาผู้นิพนธ์พระวรสาร เพื่อนร่วมทางของเปาโลอัครทูตในการเดินทางเผยแผ่ศาสนา[1] ลูกา 2 ประกอบด้วยเรื่องราวการประสูติของพระเยซูในเบธเลเฮม, "การประกาศและการฉลองการประสูติ",[2] การถวายพระกุมารเยซูในพระวิหารในเยรูซาเล็ม และเหตุการณ์ขณะพระองค์ทรงพระเยาว์ วรรคที่ 1-14 มักอ่านระหว่างการนมัสการในวันคริสต์มาส[3]

ต้นฉบับ

[แก้]
แผนที่แสดงเหตุการณ์ในการประสูติของพระเยซูที่บรรยายในพระวารสารลูกา
คำอธิบายสัญลักษณ์: 1. สารถึงมารีย์ในนาซาเรธ 2. การจดทะเบียนสำมะโนครัวของคีรินิอัส (ตามประวัติศาสตร์ดำเนินการโดยข้าหลวงแคว้นยูเดียจากซีซาเรีย) 3. โยเซฟและมารีย์เดินทางจากนาซาเรธไปเบธเลเฮม 4. การประสูติของพระเยซูในเบธเลเฮม 5. คนเลี้ยงแกะรับสาร ('ใกล้กับ' เบธเลเฮม, ลูกา 2:8 ) 6. การนมัสการของคนเลี้ยงแกะในเบธเลเฮม 7. การถวายพระกุมารเยซูในพระวิหารในเยรูซาเล็ม 8. โยเซฟ มารีย์ และพระเยซูเดินทางกลับไปนาซาเรธ

ข้อความต้นฉบับเขียนด้วยภาษากรีกคอยนี บทนี้แบ่งออกเป็น 52 วรรค

พยานต้นฉบับ

[แก้]

ต้นฉบับบางส่วนในยุคต้นที่มีเนื้อหาของบทนี้ได้แก่:

การประสูติของพระเยซู (2:1–7)

[แก้]

พระวรสารลูกาบรรยายว่าจักรพรรดิออกัสตัสมีรับสั่งให้ทำสำมะโนประชากร ".. ทั่วทั้งแผ่นดิน" ในเวลานั้น (หรืออาจะก่อนหน้านั้น) เป็นสมัยที่คีรินิอัสเป็นเจ้าเมืองซีเรีย จึงเป็นเหตุให้เมื่อพระเยซูใกล้จะประสูตินั้น โยเซฟและมารีย์ซึ่งอาศัยในนาซาเรธต้องเดินทางไปยังเบธเลเฮมซึ่งเป็นสถานที่ประสูติของกษัตริย์ดาวิด คัมภีร์ฉบับแปลเป็นภาษาอังกฤษหลายฉบับให้ความเห็นว่าวัตถุประสงค์ของการทำสำมะโนนั้นเพื่อที่ทุกคนจะได้รับการลงทะเบียน แต่ฉบับพระเจ้าเจมส์และฉบับอื่น ๆ ให้ความเห็นว่าเพื่อให้ทุกคนต้องเสียภาษี[5] คัมภีร์ไบเบิลฉบับขยายความให้ความเห็นว่าเพื่อให้รวบรวมทะเบียนสำหรับการเก็บภาษี[6] ความถูกต้องเกี่ยวกับเรื่องราวการประสูติของพระเยซูเป็นที่ถกเถียงในหมู่นักวิชาการสมัยใหม่หลายคน เนื่องจากคีรินิอัสยังไม่ได้เป็นเจ้าเมืองซีเรียจนกระทั่งปี ค.ศ. 6-7[7] ความคิดเห็นที่ว่าการทำสำมะโนเกิดขึ้นก่อนหน้าสมัยที่คีรินิอัสเป็นเจ้าเมืองซีเรียนั้นเสนอขึ้นโดยจอห์น นอลแลนด์ (John Nolland) นักวิชาการคัมภีร์ไบเบิล เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขความยุ่งยากทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับเวลาเมื่อพระเยซูประสูติซึ่งเกี่ยวข้องกับการทำสำมะโนนี้[8]

วรรค 2

[แก้]
นี่เป็นครั้งแรกที่มีการจดทะเบียนสำมะโนครัว เกิดขึ้นในสมัยที่คีรินิอัสเป็นเจ้าเมืองซีเรีย[9]

ประโยคนี้มีการขนาบด้วยเครื่องหมายนขลิขิตในฐานะคำอธิบายในวงเล็บในฉบับพระเจ้าเจมส์[10]

วรรค 3

[แก้]
คนทั้งหลายต่างก็ไปจดทะเบียนที่เมืองของตน[11]

ต้นฉบับส่วนใหญ่ระบุว่าเป็น πολιν (polin, "เมือง") ของตน ส่วน Codex Bezae ระบุว่าเป็น πατρίδα (patrida) หรือ "บ้านเกิด" ของตน[12]

วรรค 5

[แก้]
เขา[โยเซฟ]ไปจดทะเบียนพร้อมกับมารีย์หญิงที่เขาหมั้นไว้แล้วและกำลังตั้งครรภ์[13]

แม้ว่าความในลูกา 1:32 จะบ่งบอกว่าตัวมารีย์เองอาจจะ "มาจากเชื้อสายของดาวิด" และเบธเลเฮมก็จึงเป็น "เมืองของเธอ" แต่ความในลูกา 2:5 นั้นความหมายที่ผู้นิพนธ์พระวรสารสื่อออกมาคือมารีย์เดินทางไปยังเบธเลเฮมเพื่อติดตามสามีคู่หมั้นของเธอ[2] เรื่องเล่าในลูกา 1 ระบุว่ามารีย์เดินทางจากนาซาเรธไปยังเมืองหนึ่งในแถบภูเขาแคว้นยูเดียเพื่อเยี่ยมเอลีซาเบธผู้เป็นลูกพี่ลูกน้องของเธอ จากนั้นจึงกลับไปยังนาซาเรธ[14] จากนั้นจงเดินทางอีกครั้งพร้อมกับโยเซฟจากนาซาเรธไปยังเบธเลเฮม

วรรค 7

[แก้]
นางจึงคลอดบุตรชายหัวปี เอาผ้าอ้อมพันและวางไว้ในรางหญ้า เพราะว่าไม่มีที่ว่างในโรงแรมสำหรับพวกเขา[15]
  • "ผ้าอ้อม" (swaddling clothes) หมายถึง "แถบผ้าลินินที่จะใช้พันรอบแขนและขาของทารกเพื่อป้องกันแขนและขา"[16]
  • "รางหญ้า" (manger): หรือ "รางให้อาหารสัตว์" (feed trough)[17][18]
  • "โรงแรม" (the inn): แปลมาจากภาษากรีก κατάλυμα kataluma ซึ่งอาจหมายถึง "ห้องรับแขก" (guest room)[19][20] ในเซปทัวจินต์และต้นฉบับพันธสัญญาใหม่ คำนี้อาจหมายถึงสถานที่พักรูปแบบต่าง ๆ[19] โยเซฟและมารีย์ตั้งใจจะไปพักกับญาติในเบธเลเฮม แต่ "ห้องรับแขก" ในบ้านเต็มเกินความจุเพราะญาติคนอื่น ๆ ทั้งหมดที่เดินทางไปยังเบธเลเฮมเพื่อทำสำมะโน เบธเลเฮมมีขนาดไม่ใหญ่นักและไม่มีสถานที่อื่น ๆ ให้พักอีก[19]

ทูตสวรรค์และคนเลี้ยงแกะ (2:8-20)

[แก้]

จากนั้นลูกาจึงเล่าถึงเหล่าคนเลี้ยงแกะที่ดูแลฝูงแกะอยู่ใกล้เบธเลเฮม ซึ่งได้เห็นทูตสวรรค์มาเยือนแล้วบอกกับพวกเขาว่าในเบธเลเฮม "... พระผู้ช่วยให้รอดของพวกท่านคือพระคริสต์องค์พระผู้เป็นเจ้ามาประสูติที่เมืองของดาวิด (เบธเลเฮม)"

วรรค 10

[แก้]
ทูตสวรรค์องค์นั้นกล่าวกับเขาทั้งหลายว่า “อย่ากลัวเลย เพราะเรานำข่าวดีมายังพวกท่าน เป็นความยินดีอย่างยิ่งที่จะมาถึงคนทั้งหลาย"[21]

วรรค 11

[แก้]
"เพราะว่าในวันนี้ พระผู้ช่วยให้รอดของพวกท่านคือพระคริสต์องค์พระผู้เป็นเจ้ามาประสูติที่เมืองของดาวิด"[22]

การเข้าสุหนัตและการตั้งพระนาม (2:21)

[แก้]

การถวายพระกุมารเยซูในพระวิหาร (2:22-38)

[แก้]

เสด็จกลับนาซาเรธและวัยเด็กช่วงต้น (2:39-40)

[แก้]

พระกุมารเยซูในพระวิหาร (2:41-50)

[แก้]

วัยเด็กช่วงปลายและวัยรุ่น (2:51-52)

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Jerusalem Bible (1966), "Introduction to the Synoptic Gospels", New Testament p. 5
  2. 2.0 2.1 Alford, H., Greek Testament Critical Exegetical Commentary - Alford on Luke 2, accessed 21 August 2023
  3. BBC Radio 4, Midnight Mass, 24 December 2021 from Salford Cathedral
  4. Aland, Kurt; Aland, Barbara (1995). The Text of the New Testament: An Introduction to the Critical Editions and to the Theory and Practice of Modern Textual Criticism. Erroll F. Rhodes (trans.). Grand Rapids: William B. Eerdmans Publishing Company. p. 96. ISBN 978-0-8028-4098-1.
  5. BibleGateway.com, Translations of Luke 2:1
  6. Additional words "register for taxation" at 2:1 EXB:{{{4}}} ; EXB
  7. Franklin, E., 59. Luke, in Barton, J. and Muddiman, J. (2001), The Oxford Bible Commentary เก็บถาวร 2017-11-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, p. 929
  8. Nolland, J. (1989–93), Luke, Word Biblical Commentary Series (Dallas: Word)
  9. ลูกา 2:2
  10. Nicoll, W. R., Expositor's Greek Testament. Luke 2. Accessed 24 April 2019.
  11. ลูกา 2:3
  12. Meyer, H. A. W. (1890), Meyer's NT Commentary on Luke 2, accessed 5 July 2020
  13. ลูกา 2:5
  14. ลูกา 1:39-40
  15. ลูกา 2:7
  16. Note [a] on Luke 2:7 in NET Bible
  17. Note on Luke 2:7 in NKJV
  18. Note [b] on Luke 2:7 in NET Bible
  19. 19.0 19.1 19.2 Note [c] on Luke 2:7 in NET Bible
  20. Note on Luke 2:7 in ESV
  21. ลูกา 2:10
  22. ลูกา 2:11

บรรณานุกรม

[แก้]

อ่านเพิ่มเติม

[แก้]
  • Brown, Raymond E. An Introduction to the New Testament 1997 Doubleday ISBN 0-385-24767-2

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
ก่อนหน้า
ลูกา 1
บทของคัมภีร์ไบเบิล
พระวรสารนักบุญลูกา
ถัดไป
ลูกา 3