ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำเภอเวียงสระ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
E chang (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
E chang (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 85: บรรทัด 85:


===ทางรถไฟ===
===ทางรถไฟ===
* [[สถานีรถไฟบ้านส้อง]] เป็นสถานีรถไฟชั้น 2 ของทางรถไฟสายใต้
* [[สถานีรถไฟบ้านส้อง]] เป็นสถานีรถไฟชั้น 2 ของทางรถไฟสายใต้ ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านส้อง



{{อำเภอจังหวัดสุราษฎร์ธานี}}
{{อำเภอจังหวัดสุราษฎร์ธานี}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 01:59, 10 พฤษภาคม 2560

อำเภอเวียงสระ
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Wiang Sa
คำขวัญ: 
ชุมชนเมืองโบราณ สืบสานศรีวิชัย ตลาดใหญ่การค้า
ยางพาราชั้นดี มากมีไม้ผล ผู้คนมีน้ำใจ
แผนที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี เน้นอำเภอเวียงสระ
แผนที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี เน้นอำเภอเวียงสระ
พิกัด: 8°37′47″N 99°20′35″E / 8.62972°N 99.34306°E / 8.62972; 99.34306
ประเทศ ไทย
จังหวัดสุราษฎร์ธานี
พื้นที่
 • ทั้งหมด427.6 ตร.กม. (165.1 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2557)
 • ทั้งหมด61,206 คน
 • ความหนาแน่น143.13 คน/ตร.กม. (370.7 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 84190
รหัสภูมิศาสตร์8415
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอเวียงสระ หมู่ที่ 8 ตำบลเวียงสระ อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84190
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

อำเภอเวียงสระตั้งอยู่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี

ที่ตั้งและอาณาเขต

อำเภอเวียงสระตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

ประวัติ

"อำเภอเวียงสระ" ได้รับอารยธรรมก่อนสมัยประวัติศาสตร์จนถึงสมัยประวัติศาสตร์ มีพื้นที่อาณาเขตกว้างใหญ่อยู่ในเขตการปกครองของเมืองไชยา เมืองนครศรีธรรมราช มณฑลนครศรีธรรมราช มณฑลชุมพร มณฑลสุราษฎร์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตามลำดับจนถึงปี พ.ศ. 2447 กระทรวงมหาดไทยได้โอนมาขึ้นกับจังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นจังหวัดขนาดใหญ่สุดของภาคใต้ มีความสำคัญอย่างยิ่งโดยเป็นศูนย์กลางของภาคใต้ตอนบนทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง สังคม ศาสนาและศิลปวัฒนธรรม จากอดีตถึงสมัยปัจจุบันอำเภอบ้านนาสารมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและมีความสำคัญ ซึ่งนายเทพ รักบำรุง ครูชำนาญการพิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 11 ได้ศึกษาประวัติความเป็นมาของท้องถิ่นอำเภอบ้านนาสาร อำเภอบ้านนาเดิมอำเภอเวียงสระ และจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้บันทึกเรื่องราว จัดพิมพ์เป็นหนังสือและเอกสารเผยแพร่เพื่อให้นักเรียนได้ใช้เรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม รายวิชาท้องถิ่นของเรา และผู้สนใจได้ศึกษาเรื่องราวความเป็นมาของอำเภอบ้านนาเดิม อำเภอบ้านนาสาร อำเภอเวียงสระ มีรายละเอียดดังนี้

1. เริ่มต้นประวัติศาสตร์ "วัดถ้ำขรม" บริเวณที่วัดถ้ำขรมมีการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ได้รับอารยธรรมมาตั้งแต่ก่อนสมัยประวัติศาสตร์ และมีมนุษย์ตั้งถิ่นฐานรอบอ่าวบ้านดอน ลุ่มแม่น้ำตาปี แม่น้ำพุมดวง แม่น้ำอิปัน คลองฉวาง คลองหา คลองลำพูน คลองยา คลองท่าสะท้อน มีหลักฐานความเจริญบริเวณบ้านน้ำรอบ บ้านท่าสะท้อน บ้านท่าเรือ บ้านควนท่าแร่ บ้านนาสาร ภูเขาถ้ำขรม เมืองเวียงสระ เคียนซา พะแสง ถึงสมัยประวัติศาสตร์วัดถ้ำขรม ท้องที่อู่มาต อยู่ในเขตการปกครองของอาณาจักรไชยา และเมืองนครศรีธรรมราช มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกับประวัติศาสตร์สยาม สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา สมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์

2.สมัยเรียกชื่อ “ท้องที่ลำพูน” ในอดีตรู้จักในนาม บ้านนา เนื่องจากประชาชนมีที่ทำนาจำนวนมากและเรียกตามท้องที่ตั้งหมู่บ้านหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เรียกว่า บ้านนา และ ลำพูน ส่วนประชาชนในท้องถิ่นเรียกว่า “บ้านนา” - ปี พ.ศ. 2354 เป็น"ท้องที่ลำพูน" ขึ้นกับเมืองนครศรีธรรมราช เอกสารทางประวัติศาสตร์บันทึกว่า “ท้องที่ลำพูน เป็นแขวงชั้นนอกด้านใต้ต่อแดนเมืองกระบี่ ด้านตะวันตกต่อแดนเมืองพังงาและตะกั่วป่า ด้านตะวันออกต่อแดนเมืองกาญจนดิษฐ์” โดยดูแลท้องที่เวียงสระ ท้องที่ส้องห้วยมะนาว ท้องที่อิปัน ท้องที่ฉวางท่าชี ประกอบด้วย อำเภอถ้ำขรม อำเภอน้ำพุ อำเภอท่าชี โดยมี วัดโฉละ เป็นที่เลณฑุบาต(หมายเหตุ เมืองนครศรีธรรมราชก่อนสมัยรัชกาลที่ 5 ได้จัดการปกครองเป็น ท้องที่ มีนายที่ดูแล อำเภอ มีนายอำเภอดูแล แขวง มีนายแขวงดูแล)

- ปรากฏหลักฐาน ในทำเนียบข้าราชการเมืองนครศรีธรรมราช สมัยรัชกาลที่ 2 ปี พ.ศ. 2354 เกี่ยวกับข้าราชการที่ลำพูนดังนี้ คือ “ หลวงอินทรพิชัย นายที่ลำพูน ถือศักดินา ๘๐๐ ฝ่ายซ้าย ขุนเพชรกำแพง ปลัด ถือศักดินา ๔๐๐ หมื่นเทพรักษา รอง ถือศักดินา ๒๐๐ หมื่นพรหมอักษร สมุห์บัญชี ถือศักดินา ๒๐๐ หมื่นจิตอักษร สมุห์บัญชี ถือศักดินา ๒๐๐ หมื่นสระบุรี เป็นสารวัตร ถือศักดินา ๒๐๐ หมื่นเกล้าเป็นสารวัตร ถือศักดินา ๒๐๐ สิริ หลวงขุนหมื่นที่ลำพูน หลวง ๑ ขุน ๑ หมื่น รวม ๗ คน ” - ปี พ.ศ. 2420 มีการจัดปกครองท้องที่ลำพูน คือ แยกท้องที่เวียงสระและท้องที่ส้องห้วยมะนาวออกเป็น 2 อำเภอคือ อำเภอเวียงสระ และอำเภอบ้านส้อง อำเภอเวียงสระต่อมาเรียกชื่ออำเภอคลองตาล โดยมี วัดเวียง เป็นที่เลณฑุบาต ท้องที่ลำพูนได้ดูแลราชการท้องที่ดังกล่าวตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 2 รัชกาลที่ 3 รัชกาลที่ 4 จนถึงสมัยรัชกาลที่ 5

3.สมัยเรียกชื่อ “อำเภอลำพูน” สมัยรัชกาลที่ 5 ได้จัดการปกครองประเทศสยาม ตามพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองท้องถิ่น ร.ศ.116 (พ.ศ. 2440) และข้อบังคับลักษณะการปกครองหัวเมือง ร.ศ.117 (พ.ศ. 2441) พระยาสุขุมนัยวินิต (ปั้น สุขุม) ข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลนครศรีธรรมราช ได้จัดเขตการปกครอง เมืองนครศรีธรรมราช เป็น 9 อำเภอ คือ อำเภอกลางเมือง อำเภอเบี้ยซัด (ปากพนัง) อำเภอร่อนพิบูลย์ อำเภอกลาย อำเภอสิชล อำเภอฉวาง อำเภอทุ่งสง อำเภอเขาพังไกร และอำเภอลำพูน ในส่วนอำเภอลำพูน จัดการปกครอง ดังรายละเอียดดังนี้คือ ยุบอำเภออิปันเป็นตำบลอิปัน ยุบอำเภอพะแสงเป็นตำบลพะแสง ยุบอำเภอพนมเป็นตำบลพนม มารวมกับตำบลที่มีอยู่ของท้องที่ลำพูน คือ ตำบลกอบแกบ ตำบลทุ่งเตา ตำบลท่าเรือ ตำบลบ้านนา ตั้งเป็น อำเภอลำพูน ตั้งที่ว่าการอำเภอที่ตำบลบ้านนา ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้กับวัดบ้านนาติดกับคลองลำพูน บริเวณที่ตั้งโรงพยาบาลบ้านนาเดิม - ปี พ.ศ. 2442 (ร.ศ.118) แยกตำบลและตั้งตำบลขึ้นใหม่ คือ ตำบลเวียงสระ ตำบลทุ่งหลวง ตำบลท่าเรือ ตำบลพรุพี ตำบลอู่มาต (นาสาร) ตำบลลำพูน (กอบแกบ) ตำบลทุ่งเตา ตำบลท่าเรือ ตำบลบ้านนา ย้ายที่ว่าการอำเภอลำพูน(บริเวณโรงพยาบาลบ้านนาเดิม มาสร้างใหม่บริเวณตลาดเทศบาลบ้านนาในปัจจุบัน) - ปี พ.ศ. 2449 (ร.ศ.125) ย้ายศาลารัฐบาลมณฑลชุมพร มาตั้งที่บ้านดอน เปลี่ยนชื่อมณฑลชุมพรเป็นชื่อ มณฑลสุราษฎร์ ตั้งศาลารัฐบาลมณฑลที่บ้านดอน เปลี่ยนชื่อเมืองไชยา เป็นเมืองสุราษฎร์ธานีและโอนตำบลพะแสง อำเภอพะแสง(ต่อมาเปลี่ยนเป็น พระแสง) กิ่งอำเภอพนม อำเภอลำพูน จากเมืองนครศรีธรรมราช มณฑลนครศรีธรรมราชมาขึ้นกับ เมืองไชยา มณฑลชุมพร

4.สมัยเรียกชื่อ “อำเภอบ้านนา” - ปี พ.ศ. 2460 (ร.ศ.136) กระทรวงมหาดไทยเปลี่ยนชื่อ อำเภอลำพูน เป็น“อำเภอบ้านนา”ตามชื่อตำบลที่ตั้งที่ว่าการเนื่องจากอยู่ใกล้สถานีรถไฟบ้านนา ประชาชนส่วนใหญ่เรียกว่า “อำเภอบ้านนา” - ปี พ.ศ. 2465 (ร.ศ.141) กระทรวงมหาดไทยได้โอนตำบลบางเบา ตำบลกรูด จากอำเภอท่าโรงช้าง ตำบลเคียนซา ตำบลพ่วงพรหมครจากอำเภอพะแสงมาขึ้นกับอำเภอบ้านนา ทำให้มีตำบลเพิ่มขึ้นคือ 1. ตำบลบ้านนา 2. ตำบลท่าเรือ 3. ตำบลทุ่งเตา 4. ตำบลกอบแกบ (ลำพูน) 5. ตำบลนาสาร 6. ตำบลพรุพี 7. ตำบลท่าชี (น้ำพุ) 8. ตำบลทุ่งหลวง 9. ตำบลเวียงสระ 10. ตำบลบางเบา 11. ตำบลกรูด 12. ตำบลเคียนซา 13. ตำบลพ่วงพรหมคร 14. ตำบลตะปาน - ปี พ.ศ. 2481 สมัยรัฐบาลจอมพลป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีได้เปลี่ยน ชื่อ สยาม เป็น ราชอาณาจักรไทย

5.สมัยเรียกชื่อ “อำเภอบ้านนาสาร” - วันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2481 ได้ย้ายที่ว่าการอำเภอบ้านนา ไปตั้งที่ตำบลนาสาร การย้ายในครั้งนั้นได้นำไม้ส่วนประกอบอาคารที่เป็นไม้ทั้งหมดจากอำเภอบ้านนาโดยบรรทุกรถไฟ และสร้างประกอบใหม่จึงทำให้อาคารที่ว่าการอำเภอบ้านนากับอำเภอบ้านนาสารมีลักษณะเหมือนกัน - ปี พ.ศ. 2482 เปลี่ยนชื่ออำเภอบ้านนา โดยนำชื่อเดิม “บ้านนา”รวมกับสถานที่ตั้งตำบล“นาสาร” เป็นอำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรไทย ต่อมาทางราชการได้พิจารณาเห็นว่าอำเภอบ้านนาสาร มีท้องที่กว้างขวางมีประชากรมาก บางตำบลตั้งอยู่ห่างไกลจากที่ตั้งที่ว่าการอำเภอบ้านนาสาร ไม่สะดวกแก่การปกครองและการติดต่อราชการของประชาชนกระทรวงมหาดไทยจึงได้ปรับปรุงตั้งกิ่งอำเภอขึ้น ดังนี้

- วันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2511 รวมตำบลเวียงสระ ตำบลทุ่งหลวง ตั้งเป็น กิ่งอำเภอชื่อว่า “กิ่งอำเภอเวียงสระ” ต่อมาได้ยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอเวียงสระ

- วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2513 รวมตำบลเคียนซา ตำบลพ่วงพรหมคร ตั้งเป็น กิ่งอำเภอชื่อว่า “กิ่งอำเภอเคียนซา” ต่อมาได้ยกฐานะเป็นอำเภอเคียนซา

- วันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2519 รวมตำบลบ้านนา ตำบลท่าเรือ ตั้งเป็นกิ่งอำเภอชื่อว่า “กิ่งอำเภอบ้านนาเดิม” และต่อมาได้ยกฐานะเป็นอำเภอบ้านนาเดิม


การปกครองส่วนภูมิภาค

อำเภอเวียงสระแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 5 ตำบล 64 หมู่บ้าน ได้แก่

1. เวียงสระ (Wiang Sa) 10 หมู่บ้าน
2. บ้านส้อง (Ban Song) 18 หมู่บ้าน
3. คลองฉนวน (Khlong Chanuan) 12 หมู่บ้าน
4. ทุ่งหลวง (Thung Luang) 16 หมู่บ้าน
5. เขานิพันธ์ (Khao Niphan) 8 หมู่บ้าน
 แผนที่

การปกครองส่วนท้องถิ่น

ท้องที่อำเภอเวียงสระประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 6 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลเวียงสระ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลเวียงสระและบางส่วนของตำบลบ้านส้อง
  • เทศบาลตำบลบ้านส้อง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านส้อง (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลเวียงสระ)
  • เทศบาลตำบลเขานิพันธ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเขานิพันธ์ทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลทุ่งหลวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งหลวงทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลเมืองเวียง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเวียงสระ (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลเวียงสระ)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลคลองฉนวน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองฉนวนทั้งตำบล

การคมนาคม

ทางถนน

ทางรถไฟ