ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ทุกข์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Konoha48 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Konoha48 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 2: บรรทัด 2:
'''ทุกข์''' หรือ '''ทุกขัง''' ({{lang-pi|ทุกฺข}}) เป็นหลักธรรมสำคัญในพระพุทธศาสนา แปลว่าทนอยู่ในสภาพเดิมได้ยาก โดยทั่วไปหมายถึง [[สังขาร]]ทั้งปวง อันได้แก่ [[ขันธ์]] 5 ซึ่งเป็นที่ตั้งของกองทุกข์
'''ทุกข์''' หรือ '''ทุกขัง''' ({{lang-pi|ทุกฺข}}) เป็นหลักธรรมสำคัญในพระพุทธศาสนา แปลว่าทนอยู่ในสภาพเดิมได้ยาก โดยทั่วไปหมายถึง [[สังขาร]]ทั้งปวง อันได้แก่ [[ขันธ์]] 5 ซึ่งเป็นที่ตั้งของกองทุกข์


ในทางพระพุทธศาสนา การกำหนดทุกข์ถือเป็นกิจใน[[อริยสัจ 4]] ที่ชาวพุทธต้องทำเพื่อละและปล่อยวางในลำดับต่อไปในกิจทั้งสี่ในอริยสัจ อันได้แก่ รู้ทุกข์ เพื่อค้นหาสาเหตุในการดับทุกข์ ([[สมุทัย]]) แล้วจึงตั้งจุดมุ่งหมายในการดับทุกข์ ([[นิโรธ]]) และดำเนินตามเส้นทางสู่ความดับทุกข์ ([[มรรค]]) คือสละ ละ ปล่อยวาง ไม่ยึดติดในใจด้วยอำนาจกิเลส

ทุกข์ จัดเป็นหนึ่งในชื่อเรียกที่เป็น[[ไวพจน์]]ของขันธ์ซึ่งถูกใช้เป็นอย่างมากใน[[พระไตรปิฎก]]

== ทุกข์ในอริยสัจ ==
ทุกข์ถือเป็นความจริงอันประเสริฐข้อที่ 1 ในอริยสัจ 4 จึงเรียกว่า'''ทุกขสัจ''' มี 11 อย่าง ได้แก่ :-

นอกจากนี้ยังอาจแบ่ง'''ทุกข์ในอริยสัจ 4''' ได้เป็น 2 กลุ่มคือ
# '''สภาวทุกข์''' คือทุกข์ประจำ ทุกข์ที่มีอยู่ด้วยกันทุกคน ไม่มียกเว้น ได้แก่ความเกิด ความแก่ ความตาย
# '''ปกิณณกทุกข์''' คือทุกข์จร ทุกข์ที่จรมาเป็นครั้งคราว ได้แก่ ความเศร้าโศก ความพร่ำเพ้อรำพัน ความไม่สบายใจ ความน้อยใจ ความคับแค้นใจ ความประสบกับสิ่งที่ไม่ชอบ ความพลัดพรากจากสิ่งที่ชอบ ความผิดหวังไม่ได้ตามที่ต้องการ


== ความแตกต่างของความหมายในภาษาไทย ==
== ความแตกต่างของความหมายในภาษาไทย ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:06, 5 มกราคม 2558

ทุกข์ หรือ ทุกขัง (บาลี: ทุกฺข) เป็นหลักธรรมสำคัญในพระพุทธศาสนา แปลว่าทนอยู่ในสภาพเดิมได้ยาก โดยทั่วไปหมายถึง สังขารทั้งปวง อันได้แก่ ขันธ์ 5 ซึ่งเป็นที่ตั้งของกองทุกข์


ความแตกต่างของความหมายในภาษาไทย

ในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา มีศัพท์ที่เกี่ยวกับทุกข์อย่างน้อย 4 ศัพท์ ซึ่งใช้ทั่วไปในคัมภีร์ และมักจะถูกเข้าใจสับสนอยู่เสมอด้วย, 4 ศัพท์นี้ ได้แก่ ทุกฺขํ ทุกฺขเวทนา ทุกฺขตา และ ทุกฺขลกฺขณํ. ซึ่งเขียนในรูปแบบภาษาไทยได้ว่า ทุกข์ (ขันธ์ 5), ทุกขเวทนา (ความรู้สึกทุกข์), ทุกขตา (ทุกขลักษณะ), และทุกขลักษณะ (ทุกขตา) จึงขอให้คำจำกัดความไว้ดังนี้ :-

  1. ทุกฺขํ หมายถึง ขันธ์ 5
  2. ทุกฺขเวทนา หมายถึง เวทนาขันธ์ ซึ่งเป็นเพียง 1 ในขันธ์ที่มีอยู่ทั้งสิ้น 5 ประการ
  3. ทุกฺขตา หมายถึง อาการที่ทนดำรงอยู่ไม่ได้เลยเป็นต้นของขันธ์ 5 (เป็นไวพจน์ของทุกขลักษณะ)
  4. ทุกฺขลกฺขณํ หมายถึง อาการที่หมดสิ้นไปเป็นต้นของขันธ์ 5 (เป็นไวพจน์ของทุกขตา)

บรรดา 4 คำนี้ คำว่า ทุกข์ (ทุกฺขํ) มีใช้มากที่สุด และยังถูกเข้าใจผิดมากที่สุดอีกด้วย เพราะมักใช้แทนคำว่า ทุกขเวทนา กันตามความหมายในภาษาไทย และบางครั้งก็ยังแผลงศัพท์ไปใช้แทนคำว่าทุกขตาและคำว่าทุกขลักษณะอีกด้วย เช่น เขียนว่า ทุกขตา (ทุกข์) เป็นต้น ซึ่งที่จริงแล้ว ใช้แทนกันไม่ได้ เพราะทุกขตาหมายถึงทุกขลักษณะ แต่ทุกข์หมายถึงขันธ์ 5 ที่มีทุกขลักษณะนั้น.

ความแตกต่างของทุกข์ และทุกขลักษณะ

ทุกข์ กับ ทุกขลักษณะ เป็นคนละอย่างกัน เพราะเป็น ลักขณวันตะ และ ลักขณะ ของกันและกัน[1][2][3][4][5] ดังนี้ :-

ทุกขลักษณะทำให้เราทราบได้ว่าขันธ์ 5 เป็นทุกข์ บีบคั้น น่ากลัวมาก ซึ่งได้แก่ อาการความบีบคั้นบังคับให้เปลี่ยนแปลงไปอยู่เป็นเนืองนิจของขันธ์ 5 เช่น อาการที่ขันธ์ 5 บีบบังคับตนจากที่เคยเกิดขึ้น ก็ต้องเสื่อมสิ้นไปเป็นขันธ์ 5 อันใหม่, อาการที่ขันธ์ 5 จากที่เคยมีขึ้น ก็ต้องกลับไปเป็นไม่มีอีกครั้ง เป็นต้น.

ในวิสุทธิมรรค ท่านได้ยกทุกขลักษณะจากปฏิสัมภิทามรรคมาแสดงไว้ถึง 10 แบบ เรียกว่า โต 10 และในพระไตรปิฎกยังมีการแสดงทุกขลักษณะไว้ในแบบอื่นๆอีกมากมาย. แต่คัมภีร์ที่รวบรวมไว้เป็นเบื้องต้นเหมาะสำหรับเป็นคู่มือสำหรับปฏิบัติธรรมได้แก่ คัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค เพราะสามารถจะจำคำที่คนโบราณใช้กำหนดกันจากคัมภีร์นี้แล้วนำไปใช้ได้ทันที ดังที่ท่านแสดงไว้เป็นต้นว่า "จกฺขุ อหุตฺวา สมฺภูตํ หุตฺวา น ภวิสฺสตีติ ววตฺเถติ - นักปฏิบัติธรรมย่อมกำหนดว่า "จักขุปสาทที่ยังไม่เกิดก็เกิดมีขึ้น พอมีขึ้นแล้วต่อไปก็จะกลายเป็นไม่มีไปอีก"เป็นต้น (ให้เพ่งเล็งถึงลักษณะที่บีบบังคับตัวเองให้ต้องเปลี่ยนไป ก็จะกลายเป็นการกำหนดทุกขลักษณะ).

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. พุทฺธโฆสาจริโย, วิสุทฺธิมคฺค-อฏฺฐกถา , อุปกฺกิเลสวิมุตฺตอุทยพฺพยญาณกถา, ปฏิปทาญาณทสฺสนวิสุทฺธินิทฺเทโส, วิสุทฺธิ. 2 ข้อ 739.
  2. ธมฺมปาลาจริโย, ปรมตฺถมญฺชูสา-ฎีกา, อุปกฺกิเลสวิมุตฺตอุทยพฺพยญาณกถาวณฺณนา ปฏิปทาญาณทสฺสนวิสุทฺธินิทฺเทสวณฺณนา วิสุทธิมคฺคมหาฎีกา, วิสุทฺธิ.มหาฏี. 2 ข้อ 739.
  3. พุทฺธโฆสาจริโย, สมฺโมหวิโนทนี-อฏฺฐกถา, อายตนวิภงฺคนิทฺเทสวณฺณนา สุตฺตนฺตภาชนีวณฺณนา อภิธมฺม-อฏฺฐกถา,อภิ.อฏฺ. 2 ข้อ 154.
  4. ธมฺมปาลาจริโย, มูลฎีกา, อายตนวิภงฺคนิทฺเทสวณฺณนา สุตฺตนฺตภาชนีวณฺณนา อภิธมฺม-มูลฎีกา,อภิ.มูลฏี. 2 ข้อ 154.
  5. ธมฺมปาลาจริโย, ลีนตฺถวณฺณนา-ฎีกา, อายตนวิภงฺคนิทฺเทสวณฺณนา สุตฺตนฺตภาชนีวณฺณนา อภิธมฺม-อนุฎีกา, อภิ.อนุฏี. 2 ข้อ 154.