ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อนันตริยกรรม"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 16: บรรทัด 16:
* มาตุฆาตปิตุฆาตอนันตริยกรรม
* มาตุฆาตปิตุฆาตอนันตริยกรรม


อนันตริยกรรม ๕ คือ
๑. มาตุฆาต ฆ่ามารดา
๒. ปิตุฆาต ฆ่าบิดา
๓. อรหันตฆาต ฆ่าพระอรหันต์
๔. โลหิตุปบาท ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงยังพระโลหิตให้ห้อขึ้น
๕. สังฆเภท ยังสงฆ์ให้แตกจากกัน
พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๒ วิภังคปกรณ์


== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==
* [http://84000.org/tipitaka/dic/ พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). "พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม".]
* [http://84000.org/tipitaka/dic/ พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). "พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม".]
* พระพรหมโมลี (วิลาศ ญาณวโร). "กรรมทีปนี".
* พระพรหมโมลี (วิลาศ ญาณวโร). "กรรมทีปนี".
* พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๒ วิภังคปกรณ์


[[หมวดหมู่:อภิธานศัพท์ศาสนาพุทธ]]
[[หมวดหมู่:อภิธานศัพท์ศาสนาพุทธ]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:31, 8 ธันวาคม 2555

อนันตริยกรรม หมายถึง กรรมหนักที่สุด (ครุกรรม) ฝ่ายบาปอกุศล ซึ่งให้ผลทันที มี 5 อย่าง คือ

  1. มาตุฆาต - ฆ่ามารดา
  2. ปิตุฆาต - ฆ่าบิดา
  3. อรหันตฆาต - ฆ่าพระอรหันต์
  4. โลหิตุปบาท - ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงพระโลหิตห้อ ขึ้นไป เช่น พระเทวทัตได้ทำร้ายพระพุทธองค์ ในสมัยพุทธกาล
  5. สังฆเภท - ยังสงฆ์ให้แตกกัน ทำลายสงฆ์

อนันตริยกรรม 4 ประการแรก คือ มาตุฆาต ปิตุฆาต อรหันตฆาต และโลหิตตุปบาท จัดเป็นสาธารณอนันตริยกรรม คือ เป็นอนันตริยกรรมที่ทั่วไปแก่บรรพชิตและคฤหัสถ์ทั้งหลาย หมายความว่า บรรพชิตก็ทำได้ คฤหัสถ์ก็ทำได้
ส่วนสังฆเภท เป็นอสาธารณอนันตริยกรรม คือ เป็นอนันตริยกรรมที่ไม่ทั่วไป หมายความว่า ภิกษุคือบรรพชิตเท่านั้น จึงจักกระทำสังฆเภทอนันตริยกรรม นี้ได้

ในส่วนของโทษหนักเบา และลำดับการให้ผลก่อนหลัง ของอนันตริยกรรม เรียงลำดับจากแรงที่สุดลงไป ได้ดังนี้

  • สังฆเภทอนันตริยกรรม
  • โลหิตุปบาทอนันตริยกรรม
  • อรหันตฆาตอนันตริยกรรม
  • มาตุฆาตปิตุฆาตอนันตริยกรรม


อ้างอิง