ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ทริปเปิลเอช"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 219: บรรทัด 219:
{{Portal|Professional wrestling}}
{{Portal|Professional wrestling}}
{{Wikiquote}}{{Commons category|Paul Michael Levesque|Triple H}}
{{Wikiquote}}{{Commons category|Paul Michael Levesque|Triple H}}
*[http://www.wwe.com/superstars/raw/tripleh/ WWE.com Profile]
* [http://www.wwe.com/superstars/raw/tripleh/ WWE.com Profile]
*[http://www.onlineworldofwrestling.com/profiles/t/triple-h.html Online World of Wrestling profile]
* [http://www.onlineworldofwrestling.com/profiles/t/triple-h.html Online World of Wrestling profile]
*{{IMDb name|0505391|Triple H}}
* {{IMDb name|0505391|Triple H}}
{{WWEstars}}
{{WWEstars}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:10, 6 เมษายน 2554

ทริปเปิล เอช
เกิด27 กรกฎาคม พ.ศ. 2512 (อายุ 41 ปี)
Nashua, New Hampshire
ที่พักกรีนวิช รัฐคอนเนตทิคัต
ประวัติมวยปล้ำอาชีพ
ชื่อบนสังเวียนHunter Hearst Helmsley (HHH)
Jean-Paul Michael Levesque
Terra Ryzing
Triple H
ส่วนสูง6 ft 4 in (1.93 m)
น้ำหนัก255 lb (116 กก)
มาจากGreenwich, Connecticut
ฝึกหัดโดยKiller Kowalski
เปิดตัวค.ศ. 1992

ทริปเปิล เอช (อังกฤษ: Triple H) หรือมีชื่อจริงว่า Paul Michael Levesque เกิดเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม ค.ศ. 1969 ที่ กรีนวิช รัฐคอนเนตทิคัต เป็นนักมวยปล้ำอาชีพ และ นักแสดงชาวอเมริกัน ปัจจุบันเซ็นสัญญาให้กับสมาคม เวิลด์เรสต์ลิงเอ็นเตอร์เทนเมนต์ หรือ WWE ในค่ายสังกัด RAW

ประวัติในวงการมวยปล้ำอาชีพ

เขาเป็นนักมวยปล้ำในสังกัด RAW มานาน ชนะคู่ต่อสู้มาแล้วหลายคน เป็นราชาของราชันในวงการมวยปล้ำ WWE ในสมญานามว่า เดอะเกม และ คิง ออฟ คิงส์ ทริปเปิล เอช มีผลงานโด่งดังหลายผลงาน เคยเป็น คิงออฟเดอะริง ปี 1997 และเป็นชนะเลิศ รอยัลรัมเบิล ปี 2002 ล่าสุด เขาเป็น แชมป์ WWE สมัยที่ 13 ได้สำเร็จ จากการเป็น แชมป์โลก WWE 8 สมัย และ แชมป์โลก Heavyweight 5 สมัย ทริปเปิล เอช ได้แต่งงานกับ สเตฟานนี่ แมคแมน ลูกสาวของ วินซ์ แมคแมน ในปี 2003 และ ได้ย้ายค่ายไปอยู่ RAW ในปี 2009

ในวงการฮอลลีวูด ทริปเปิล เอช ได้ไปแสดง ภาพยนตร์ ฟอร์มยักษ์ เรื่อง Blade 3 โดย รับบท จาโก้

เวิลด์แชมเปี้ยนชิพเรสต์ลิง (1994 - 1995)

ทริปเปิล เอช เข้าสู้วงการมวยปล้ำครั้งแรก ในสมาคม WCW ในปี 1994 การปล้ำครั้งแรกซึ่งได้ชนะ Brian Armstrong ในตอนนั้นได้ใช้ชื่อว่า Terra Ryzing ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น Jean-Paul Lévesque และในศึก WCW Starrcade ได้แพ้ในการปล้ำกับ Alex Wright ในต่อมาได้เจอ Lord Steven Regal หรือ William Regal และ ต่อมาได้ย้ายไปสมาคม WWE

เวิลด์เรสต์ลิงเอ็นเตอร์เทนเมนต์ (1995 - ปัจจุบัน)

ปี 2002
ทริปเปิล เอช ตอนคว้า แชมป์โลกอันดิสพิวเด็ด ในศึก เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 18

ในศึก รอยัลรัมเบิล 2002 ทริปเปิล เอช ได้เข้าร่วมในแมตช์การปล้ำ รอยัลรัมเบิล โดยเหวี่ยง เคิร์ต แองเกิล ออกไปเป็นคนสุดท้าย ทำให้ ทริปเปิล เอช ได้เป็นผู้ชนะเลิศ รอยัลรัมเบิล ปี 2002 และได้ขอท้าชิงแชมป์โลกอันดิสพิวเด็ด กับ คริส เจอริโก้ ในศึก เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 18 และสุดท้าย ทริปเปิล เอช ก็เป็นฝ่ายชนะ ทำให้ ทริปเปิล เอช คว้าแชมป์โลกอันดิสพิวเด็ดมาครองได้สำเร็จ แต่ก็เสียแชมป์ให้กับ ฮัลค์ โฮแกน ต่อมา เอริค บิสชอฟฟ์ ผู้จัดการทั่วไปของ RAW ได้มอบเข็มขัด แชมป์โลกเฮฟวี่เวท ให้กับ ทริปเปิล เอช เป็นคนแรก ต่อมา ทริปเปิล เอช ต้องป้องกันแชมป์โลกเฮฟวี่เวท กับนักมวยปล้ำอีก 5 คน ในกรงเหล็ก อิลิมิเนชั่น แชมเบอร์ และ ทริปเปิล เอช ต้องเสียแชมป์โลกเฮฟวี่เวท ให้กับ ชอว์น ไมเคิลส์ ไปในที่สุด

แต่หลังจากนั้น ทริปเปิล เอช ได้คว้าแชมป์โลกเฮฟวี่เวท คืนจาก ชอว์น ไมเคิลส์ อีกครั้ง ในแมตช์การปล้ำแบบ 2 ใน 3 ยก ซึ่งประกอบไปด้วย

ยกที่ 1 สู้กันแบบ สตรีทไฟท์ ซึ่งผลที่ออกมา ยกแรก ทริปเปิล เอช เป็นฝ่ายกด ชอว์น ไมเคิลส์ นับ 3 ทำให้ ทริปเปิล เอช มีคะแนนนำ ชอว์น ไมเคิลส์ อยู่ 1 คะแนน

ยกที่ 2 สู้กันแบบ การปล้ำในกรงเหล็ก ซึ่งผลที่ออกมา ยกที่ 2 ชอว์น ไมเคิลส์ ใส่ท่า Splash ลงมากด ทริปเปิล เอช กับโต๊ะนับ 3 ทำให้ ชอว์น ไมเคิลส์ มีคะแนนมาเสมอกับ ทริปเปิล เอช เป็น 1-1 คะแนน

ยกที่ 3 สู้กันแบบ ไต่บันได ซึ่งผลที่ออกมา ยกสุดท้าย ทริปเปิล เอช เป็นฝ่ายเอาชนะ และได้แชมป์โลกเฮฟวี่เวท ไปครองอีกครั้ง

ปี 2006
ดิ-เจเรเนชั่น เอ็กซ์ (ทริปเปิล เอช และ ชอว์น ไมเคิลส์)

ในศึก เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 22 ทริปเปิล เอช ได้มาท้าชิงแชมป์ WWE กับ จอห์น ซีนา แต่สุดท้าย ทริปเปิล เอช ก็ไม่สามารถคว้าแชมป์คืนมาได้ ในขณะเดียวกัน ทริปเปิล เอช ได้กลับมาร่วมมือกับ ชอว์น ไมเคิลส์ และได้กลายมาเป็นกลุ่ม ดิ-เจเรเนชั่น เอ็กซ์ เปิดศึกกับ ตระกูลแมคแมน (วินซ์ แมคแมน และ เชน แมคแมน) ต่อมาในศึก Unforgiven 2006 ดิ-เจเรเนชั่น เอ็กซ์ จะต้องเจอกับ วินซ์ แมคแมน, เชน แมคแมน และ บิ๊กโชว์ ในการปล้ำ 3 รุม 2 ในกรงเหล็ก และสุดท้าย ดิ-เจเรเนชั่น เอ็กซ์ ก็เอาชนะไปได้สำเร็จ ต่อมา ดิ-เจเรเนชั่น เอ็กซ์ ไปเปิดศึกกับกลุ่ม Rated-RKO (เอดจ์ และ แรนดี ออร์ตัน) ซึ่งผลัดแพ้ผลัดชนะกันหลายรอบ จนจบด้วยการที่ ทริปเปิล เอช เจ็บเข่าต้องพักไป 7 เดือน

ปี 2007

ในศึก Summerslam 2007 ทริปเปิล เอช ได้หายจากอาการบาดเจ็บหัวเข่าหลังจากพักไป 7 เดือน โดยเจอกับ บูเกอร์ ที และเอาชนะไปได้สำเร็จ ต่อมาในศึก No Mercy 2007 ทริปเปิล เอช ได้มาท้าชิงแชมป์ WWE กับ แรนดี ออร์ตัน และก็ได้แชมป์ไป และในคืนเดียวกัน ทริปเปิล เอช ต้องป้องกันแชมป์ WWE กับ อูมาก้า และสุดท้าย ทริปเปิล เอช เป็นฝ่ายชนะและป้องกันแชมป์ได้สำเร็จแต่ แรนดี ออร์ตัน ก็คว้าแชมป์กลับมาได้ในคืนเดียวกันในแมตช์ Last Man Standing ใครล้มลงนอนกับพื้นแล้วถูกกรรมการนับสิบจะเป็นฝ่ายแพ้ไป ทำให้ ทริปเปิล เอช ต้องเสียแชมป์ WWE คืนให้กับ แรนดี ออร์ตัน ไปในที่สุด

ปี 2008

ในศึก แบคแลช (2008) ทริปเปิล เอช ได้กลับมากระชากแชมป์จาก แรนดี ออร์ตัน ไปได้ในการปล้ำ Fatal-4-Way Elimination Match (4 เส้าแพ้คัดออกเหลือคนสุดท้ายเป็นผู้ชนะ) ต่อมาในศึก จัดจ์เมนท์เดย์ (2008) ทริปเปิล เอช ต้องป้องกันแชมป์ WWE กับ แรนดี ออร์ตัน ในการปล้ำกรงเหล็ก สุดท้าย ทริปเปิล เอช เป็นฝ่ายชนะและป้องกันแชมป์ได้สำเร็จ ต่อมาในศึก วันไนท์สแตนด์ (2008) ทริปเปิล เอช ต้องป้องกันแชมป์ WWE กับ แรนดี ออร์ตัน อีกครั้ง ในแมตซ์การปล้ำ Last Man Standing แต่สุดท้าย ทริปเปิล เอช เป็นฝ่ายชนะและป้องกันแชมป์ได้สำเร็จ จนกระทั่ง แรนดี ออร์ตัน ต้องพักการปล้ำไปหลายเดือน ต่อมาในศึก ซัมเมอร์สแลม (2008) ทริปเปิล เอช ต้องป้องกันแชมป์ WWE กับ เดอะ เกรท คาลี และสุดท้าย ทริปเปิล เอช เป็นฝ่ายชนะและป้องกันแชมป์ได้สำเร็จ จนกระทั่งในศึก เซอร์ไวเวอร์ ซีรีส์ (2008) ทริปเปิล เอช จะต้องเจอกับ วลาดิเมียร์ คอซลอฟ และ เจฟฟ์ ฮาร์ดี ในแมตช์การปล้ำ 3 เส้า เพื่อชิงแชมป์ WWE แต่ก่อนขึ้นปล้ำ เจฟฟ์ ฮาร์ดี ถูกลอบทำร้าย ทำให้กลายเป็นปล้ำชิงแชมป์เดี่ยว แต่สุดท้ายกลายเป็น เอดจ์ ที่มาฉวยโอกาสในระหว่างการปล้ำและถูกเปลี่ยนเป็นแมตช์ 3 เส้าแบบเดิม ทำให้ ทริปเปิล เอช ต้องเสียแชมป์ WWE ให้กับ เอดจ์ ไปในที่สุด

ปี 2009
ทริปเปิล เอช ฉลองชัยหลังจากเอาชนะ แรนดี ออร์ตัน ในศึก เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 25

ในศึก โนเวย์เอาท์ (2009) ทริปเปิล เอช ได้คว้าแชมป์ WWE คืนจาก เอดจ์ และในสัปดาห์ต่อมา แรนดี ออร์ตัน ไปทำร้าย สเตฟานนี่ แมคแมน ภรรยาของ ทริปเปิล เอช ด้วยท่า RKO ทำให้ ทริปเปิล เอช โกรธสุดขีด และ ทริปเปิล เอช ต้องป้องกันแชมป์ WWE กับ แรนดี ออร์ตัน ในศึก เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 25 และ ทริปเปิล เอช จัดการ แรนดี ออร์ตัน ด้วยค้อนปอนด์ และ ท่าไม้ตาย Pegdigree ทำให้ ทริปเปิล เอช ป้องกัน แชมป์ WWE และล้างแค้น แรนดี ออร์ตัน ได้สำเร็จ แต่ว่าในศึก แบคแลช (2009) เขาพ่ายแพ้ต่อ แรนดี ออร์ตัน ในแมตช์ป้องกัน แชมป์ WWE และได้รับบาดเจ็บต้องพักนาน 2-4 เดือน แต่ในค่าย RAW ตอนล่าสุดที่ออกอากาศทาง ทรู วิชั่นส์ ทริปเปิล เอช กลับมาจากอาการบาดเจ็บและกลับมาอัด แรนดี ออร์ตัน ด้วยค้อนปอนด์ และ ท่าไม้ตาย Pegdigree อีกครั้ง

ในปัจจุบันนี้ ทริปเปิล เอช ได้จับคู่กับ ชอว์น ไมเคิลส์ ในนามกลุ่ม ดิ-เจเรเนชั่น เอ็กซ์ อีกครั้ง และสามารถคว้า แชมป์แทคทีมยูนิฟายด์ มาได้สำเร็จ เป็นครั้งแรก โดยเอาชนะ JeriShow (คริส เจอริโก้ และ บิ๊กโชว์) ในแมตช์การปล้ำ TLC Match ในศึก TLC: Tables, Ladders & Chairs (2009)

ปี 2010

ทริปเปิล เอช ได้แยกกลุ่มกับ ชอว์น ไมเคิลส์ หลังจากทั้งคู่เสียแชมป์แทคทีมยูนิฟายด์ ให้กับ เดอะ มิซ และ บิ๊กโชว์ ต่อมาในศึก อิลิมิเนชั่น แชมเบอร์ (2010) ทริปเปิล เอช จะต้องเจอกับ จอห์น ซีนา, เชมัส, แรนดี ออร์ตัน, โคฟี่ คิงส์ตัน และ เท็ด ดิบิอาซี่ ในแมตช์การปล้ำ Elimination Chamber เพื่อชิงแชมป์ WWE สุดท้าย ทริปเปิล เอช ถูก จอห์น ซีนา เล่นงาน ด้วยท่า STF จนต้องตบพื้นยอมแพ้ไปในที่สุด ต่อมา ทริปเปิล เอช ก็ถูก เชมัส ลอบทำร้าย และ ทริปเปิล เอช ได้ขอท้าเจอกับ เชมัส ในศึก เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 26 และ ทริปเปิล เอช จัดการ เชมัส ด้วยท่า Pegdigree และสามารถเอาชนะ เชมัส มาได้สำเร็จ แต่ในศึก เอ็กซ์ตรีมรูลส์ (2010) เชมัส มาลอบทำร้าย ทริปเปิล เอช ทำให้ ทริปเปิล เอช ได้รับบาดเจ็บและต้องพักการปล้ำยาวนานหลายเดือน ปัจจุบัน ทริปเปิล เอช ทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมการผลิตรายการ ทั้งถ่ายทอดสดและบันทึกเทปทั้งหมด

ไฟล์:Hhhinraw2822011.png
ทริปเปิล เอช ในปี 2011
ปี 2011

ในศึก RAW วันที่ 21 กุมภาพันธ์ ทริปเปิล เอช ได้หายกลับมาจากอาการบาดเจ็บ พร้อมกับ ดิ อันเดอร์เทคเกอร์ ที่หายกลับมาจากอาการบาดเจ็บเช่นเดียวกัน ทั้งคู่ได้เผชิญหน้าและท้าทายกัน และทั้งคู่จะได้เจอกันเป็นครั้งที่ 2 ในศึก เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 27 ซึ่งเป็นการเจอกันอีกครั้งในรอบ 10 ปี ของศึกเรสเซิลเมเนีย (ครั้งก่อน อันเดอร์เทคเกอร์ สามารถเอาชนะ ทริปเปิล เอช ไปได้ในครั้งที่ 17) ในแมตช์การปล้ำ No Holds Barred โดยมีสถิติไร้พ่าย 18-0 ของอันเดอะเทคเกอร์ เป็นเดิมพัน แต่สุดท้าย ทริปเปิล เอช เป็นฝ่ายพ่ายแพ้ ทำให้ ดิ อันเดอร์เทคเกอร์ สร้างสถิติเป็น 19-0 ไปได้สำเร็จ

ก่อตั้งกลุ่ม D-Generation X (DX)

  • ดิ-เจเรเนชั่น เอ็กซ์

เกี่ยวกับมวยปล้ำ

  • ท่าไม้ตาย
    • Pegdigree
  • ท่าเอกลักษณ์
    • Abdominal stretch
    • Backbreaker
    • Blatant choke
    • Chop block
    • Drop toe-hold
    • Facebreaker knee smash, often as a back body drop counter
    • Figure four leglock
    • Flowing DDT
    • High knee strike
    • Jumping knee drop
    • Mounted punches
    • Running clothesline
    • Running neckbreaker
    • Sleeper hold
    • Spinning spinebuster
  • ผู้จัดการ
    • Chyna
    • Ric Flair
    • Mr. Hughes
    • Mr. Perfect
    • Stephanie McMahon–Helmsley
    • Vince McMahon
    • Shawn Michaels
    • Lord Steven Regal
    • Sable
  • ฉายา
    • "The Connecticut Blueblood"
    • "The Cerebral Assassin"
    • "The Game"
    • "The King of Kings"
  • เพลงเปิดตัว
    • "Blue Blood" โดย Jim Johnston (WWF) (1995-1996)
    • "Symphony No. 9 (Fourth movement)" โดย Ludwig van Beethoven (WWF/WWE) (1996-1997)
    • "Break It Down" โดย The DX Band (WWF) (used while a part of D-Generation X) (1997-1999, 2006-2010)
    • "Corporate Player" โดย Jim Johnston (WWF) (1999)
    • "Higher Brain Pattern" โดย Jim Johnston
    • "No Chance in Hell" composed โดย Jim Johnston and performed by Peter Bursuker (WWF) (used as part of The Corporation) (1999)
    • "My Time" โดย Jim Johnston (WWF) (1999-2001)
    • "The Kings" โดย Run-D.M.C. (WWF) (used while a part of D-Generation X) (2000)
    • "The Game" โดย Drowning Pool (used for advertising promos) (2002-ปัจจุบัน)
    • "Line in the Sand" โดย Motörhead (used while a part of Evolution)
    • "King of Kings" โดย Motörhead (WWE) (Used for promos) (2006)
    • "The Game" โดย Motörhead (WWF/WWE) (2001-ปัจจุบัน)

แชมป์สมาคม WWE

ทริปเปิล เอช กับ แชมป์โลก WWE
ทริปเปิล เอช กับ แชมป์โลกเฮฟวี่เวท
  • WWE Champion (8 สมัย)
  • World Heavyweight Champion (5 สมัย)
    • ได้แชมป์เป็นคนแรก
    • ชนะ Shawn Michaels ในศึก Armageddon 2002
    • ชนะ Goldberg & Kane ในศึก Armageddon 2003
    • ชนะ Randy Orton ในศึก Unforgiven 2004
    • ชนะ Edge, Chris Benoit, Chris Jericho, Randy Orton & Batista ในศึก New Year's Revolution 2005
  • Intercontinental Champion (5 สมัย)
    • ชนะ Marc Mero
    • ชนะ The Rock ในศึก Summerslam 1998
    • ชนะ Chris Jericho ในศึก SmackDown
    • ชนะ Jeff Hardy ในศึก Raw
    • ชนะ Kane ในศึก No Mercy 2002
  • World Tag Team Champion (2 สมัย)
    • คู่กับ Stone Cold Steve Austin ชนะ The Undertaker & Kane ในศึก Backlash 2001
    • คู่กับ Shawn Michaels ชนะ Chris Jericho & Big Show ในศึก TLC: Tables, Ladders & Chairs 2009
  • WWE Tag Team Champion (1 สมัย)
    • คู่กับ Shawn Michaels ชนะ Chris Jericho & Big Show ในศึก TLC: Tables, Ladders & Chairs 2009
  • European Champion (2 สมัย)
    • ชนะ Shawn Michaels
    • ชนะ Owen Hart
  • King of the Ring 1997
    • ปี 1997 ชนะ Mankind ในรอบชิงชนะเลิศ
  • Royal Rumble Winner 2002
    • ปี 2002 ชนะ Kurt Angle เป็นคนสุดท้าย
  • Second Grand Slam Champion
  • Seventh Triple Crown Champion

รางวัลและผลงาน

  • Independent Wrestling Federation
    • IWF Heavyweight Championship (1 time)
  • Pro Wrestling Illustrated
    • PWI Feud of the Year (2000) vs. Kurt Angle
    • PWI Feud of the Year (2004) vs. Chris Benoit
    • PWI Match of the Year (2004) vs. Shawn Michaels and Chris Benoit at WrestleMania XX
    • PWI Most Hated Wrestler of the Year (2003–2005)
    • PWI ranked him #1 of the top 500 singles wrestlers in the PWI 500 in 2000 and 2009
    • PWI ranked him #139 in the PWI Years in 2003
    • PWI Wrestler of the Year (2008)
    • PWI Most Hated of the Decade (2000-2009)
    • PWI Wrestler of the Decade (2000-2009)
  • Slammy Award
    • Best Hair (1997)
  • Wrestling Observer Newsletter
    • Feud of the Year (2000) vs. Mick Foley
    • Feud of the Year (2004) vs. Shawn Michaels and Chris Benoit
    • Feud of the Year (2005) vs. Batista
    • Most Overrated (2002–2004, 2009)
    • Readers' Least Favorite Wrestler (2002, 2003)
    • Worst Feud of the Year (2002) vs. Kane
    • Worst Feud of the Year (2006) with Shawn Michaels vs. Vince McMahon and Shane McMahon
    • Worst Worked Match of the Year (2003) vs. Scott Steiner at No Way Out
    • Worst Worked Match of the Year (2008) vs. Vladimir Kozlov and Edge at Survivor Series
    • Wrestler of the Year (2000)
    • Wrestling Observer Newsletter Hall of Fame (Class of 2005)

ผลงานภาพยนตร์

ปี ภาพยนตร์ รับบทเป็น หมายเหตุ
2004 Blade: Trinity Jarko Grimwood
2006 Relative Strangers Wrestler Uncredited
2011 The Chaperone Ray Bradstone
Inside Out AJ

แหล่งข้อมูลอื่น