พระเทพวัชรกิริณีฯ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระเทพวัชรกิริณี
(พังขวัญตา)
พระเทพวัชรกิริณีฯ
สปีชีส์ช้าง
สายพันธุ์ช้างอินเดีย
เพศเมีย
เกิดพังขวัญตา
ไม่ทราบ
ป่ายางชุม ตำบลสองพี่น้อง อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี ประเทศไทย
ปีปฏิบัติงานพ.ศ. 2521–2559
เป็นที่รู้จักสำหรับช้างเผือกประจำรัชกาลที่ 9
ยศพระ
เจ้าของวัดเขาบันไดอิฐ (จนถึง พ.ศ. 2521)
พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร​ (พ.ศ. 2521–2559)

พระเทพวัชรกิริณีฯ ช้างสำคัญในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นช้างเผือกตระกูลวิษณุพงศ์ จำพวกอัฏฐคช ชื่อ ดามพหัสดินทร์ โดยจมื่นศิริ วังรัตน์ เป็นผู้ตรวจคชลักษณ์ [1]

พระเทพวัชรกิริณีฯ เป็นช้างพังลูกเถื่อน เกิดจากแม่ช้างป่าในป่ายางชุม ตำบลสองพี่น้อง อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี นายสนิท ศิริวานิช กำนันตำบลเขาน้อย อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้นำมามอบให้พระครูโสภณพัฒนกิจ (พระปลัดบุญส่ง ธัมมปาโล) เจ้าอาวาสวัดเขาบันไดอิฐ อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี ตั้งชื่อว่า พังขวัญตา และเลี้ยงไว้ที่วัดเขาบันไดอิฐ คู่กับ พลายดาวรุ่ง (พระบรมนขทัศฯ) นายศุภโยค พาณิชย์วิทย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรีเป็นผู้น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวาย

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ประกอบพระราชพิธีสมโภช และขึ้นระวางเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2521 ณ โรงพิธี จังหวัดเพชรบุรี พร้อมกับพระเศวตภาสุรคเชนทร์ฯ และพระบรมนขทัศฯ พระราชทานนามว่า [2]

พระเทพวัชรกิริณี ดามพหัสดีพิษณุพงศ์
โสตถิธำรงวิสุทธิลักษณ์ อำนรรฆคุณสบสกนธ์
วิมลสารโสภิต พิบูลกิตติ์เลิศฟ้า ๚

ปัจจุบันพระเทพวัชรกิริณีฯ ย้ายไปยืนโรง ณ โรงช้างต้น พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ จังหวัดสกลนคร ตั้งแต่ พ.ศ. 2538

อ้างอิง[แก้]

  1. พลาดิศัย สิทธิธัญกิจ. ๘๐ พรรษา มหามงคล. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บันทึกสยาม, พ.ศ. 2550. 224 หน้า. ISBN 978-974-09-4848-3
  2. คึกฤทธิ์ ปราโมช, หม่อมราชวงศ์. ช้างในชีวิตของผม. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ดอกหญ้า 2000, พ.ศ. 2549. 112 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-690-514-7