ข้ามไปเนื้อหา

พระศรีเศวตศุภลักษณ์ฯ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระศรีเศวตศุภลักษณ์
พระศรีเศวตศุภลักษณ์ฯ
สปีชีส์ช้าง
สายพันธุ์ช้างอินเดีย
เพศเมีย
เกิดเจ้าแต๋น
ไม่ทราบ
ป่าพนมสารคาม ประเทศไทย
ปีปฏิบัติงานพ.ศ. 2519–2559
เป็นที่รู้จักสำหรับช้างเผือกประจำรัชกาลที่ 9
ยศพระ
เจ้าของกรมป่าไม้ (จนถึง พ.ศ. 2519)
พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร​ (พ.ศ. 2519–2559)

พระศรีเศวตศุภลักษณ์ฯ เป็นช้างพังเผือก ช้างสำคัญช้างที่ห้า ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เป็นช้างตระกูลวิษณุพงศ์ จำพวกอัฏฐทิศ ชื่อ ดามพหัสดินทร์ [1]

พระศรีเศวตศุภลักษณ์ฯ เป็นช้างป่า เกิดในป่าพนมสารคามรอยต่อของห้าจังหวัดในภาคตะวันออก ในเขตจังหวัดฉะเชิงเทรา พรานป่ายิงแม่ช้างแล้วจับลูกช้างมาเลี้ยงไว้ ตั้งแต่อายุสี่เดือน โดยขาหน้าซ้ายได้รับบาดเจ็บเน่าเปื่อย ต่อมานายอนุสร ทรัพย์มนู ได้ออกเงินซื้อจากพราน และมอบให้อยู่ในความดูแลของกรมป่าไม้ ตั้งชื่อว่า เจ้าแต๋น [2] และนำไปอนุบาลที่ที่ทำการวนอุทยานเขาช่อง ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด จังหวัดตรัง (ปัจจุบันคือ สวนพฤกษศาสตร์ภาคใต้ (เขาช่อง))

ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง และอธิบดีกรมป่าไม้ ได้น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประกอบพระราชพิธีสมโภช และขึ้นระวาง เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2519 ณ โรงช้างต้น สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต พระราชทานนามว่า [3]

พระศรีเศวตศุภลักษณ์ อรรครัตนกริณี
ดามพหัสดีพิษณุพงศ์ ดำรงสุทธสกนธ์สุคนธชาติ
เฉลิมราชกฤดาบารมี ศรีตรังคพิเศษสุทธิ์ อุตดมสารเลิศฟ้า ๚

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ช้างคู่พระบารมี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-28. สืบค้นเมื่อ 2008-01-13.
  2. พลาดิศัย สิทธิธัญกิจ. ๘๐ พรรษา มหามงคล. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บันทึกสยาม, พ.ศ. 2550. 224 หน้า. ISBN 978-974-09-4848-3
  3. คึกฤทธิ์ ปราโมช, หม่อมราชวงศ์. ช้างในชีวิตของผม. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ดอกหญ้า 2000, พ.ศ. 2549. 112 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-690-514-7