นิลวรรณ ปิ่นทอง
นิลวรรณ ปิ่นทอง | |
---|---|
เกิด | 6 ธันวาคม พ.ศ. 2458 จังหวัดพระนคร |
เสียชีวิต | 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 (101 ปี) โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กรุงเทพมหานคร |
นามปากกา | นิลวรรณ ปิ่นทอง |
อาชีพ | นักเขียน บรรณาธิการ |
คุณหญิงนิลวรรณ ปิ่นทอง (6 ธันวาคม พ.ศ. 2458 – 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560) เป็นนักเขียนชาวไทย อดีตบรรณาธิการนิตยสาร สตรีสาร อดีตนายกสมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูถัมภ์ ได้รับรางวัลแมกไซไซ เมื่อปี พ.ศ. 2504 สาขาบริการประชาชน และเป็นอดีตเลขานุการทำเนียบนายกรัฐมนตรี ในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์[1]
ประวัติ
[แก้]นิลวรรณ ปิ่นทอง เกิดมาในครอบครัวข้าราชการชั้นผู้น้อย มารดาเสียชีวิตตั้งแต่อายุ 3 ขวบ ผู้เลี้ยงดูให้การศึกษาคือบิดา นายเวช ปิ่นทอง[2]และมารดาคือ นางกรุณา ปิ่นทอง
นิลวรรณจบชั้นมัธยม 6 จากโรงเรียนเบญจมราชาลัย และเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ ได้วุฒิป.ป. จากนั้นเข้าศึกษาระดับอุดมศึกษาที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ (เป็นรุ่นที่ 4 ปี 2477) จบแล้วเป็นครู 1 ปี แล้วย้ายมารับราชการในกรมโฆษณาการอยู่ 9 ปี จึงลาออกมาทำงานด้านบรรณาธิการ เมื่อปี พ.ศ. 2491 เป็นบรรณาธิการนิตยสาร สตรีสาร และปี 2492 รับหน้าที่เป็นบรรณาธิการอีก 2 เล่มคือ ดรุณสาร สำหรับเยาวชน และ สัปดาห์สาร สำหรับเรื่องข่าวสาร นิตยสาร สตรีสาร ได้รับรางวัลพระเกี้ยวทองคำ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะนิตยสารส่งเสริมภาษาไทยดีเด่น เมื่อปี พ.ศ. 2530 จนดำเนินการถึงปี 2539 จึงได้ปิดตัวลงไป
นอกจากนั้นนิลวรรณ ยังเคยดำรงตำแหน่งนายกสมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูถัมภ์ เคยได้รับรางวัลแมกไซไซ สาขาบริการประชาชน จากมูลนิธิแมกไซไซ ประเทศฟิลิปปินส์ เมื่อปี 2505 และได้รับปริญญา อักษรศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต (กิตติมศักดิ์) เมื่อปี 2517 ยังได้รับการโปรดเกล้าฯ รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เปลี่ยนคำหน้านามเป็น "คุณ" (อันเป็นคำนำนามระดับชั้นเดียวกับสุภาพสตรีระดับ “คุณหญิง”[3] แต่ใช้สำหรับสตรีที่มิได้สมรส) ก่อนจะถึงแก่อนิจกรรมคุณนิลวรรณ ยังทำงานให้สมาคมสตรีอุดมศึกษา โดยก่อตั้งกลุ่มนักอ่านคัดเลือกหนังสือเพื่อพัฒนาตนขึ้น[4]
นิลวรรณถึงแก่กรรมด้วยอาการสงบเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 สิริอายุ 101 ปี[5] และได้รับพระราชทานเพลิงศพ เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 ณ เมรุด้านใต้ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร[6]
รางวัล
[แก้]- รางวัลศรีบูรพา เป็นคนที่ 3 (2534)
- รางวัลแมกไซไซ สาขาบริการประชาชน จากมูลนิธิแมกไซไซ ประเทศฟิลิปปินส์ เมื่อปี 2505 [7]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2513 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[8]
- พ.ศ. 2511 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)[9]
- พ.ศ. 2522 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 3 ตติยจุลจอมเกล้า (ต.จ.) (ฝ่ายใน)[10]
- พ.ศ. 2484 – เหรียญช่วยราชการเขตภายใน การรบสงครามอินโดจีน (ช.ร.)[11]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมืองในสำนักนายกรัฐมนตรี
- ↑ นิลวรรณ ปิ่นทอง: บุกเบิกให้ข่าวสารเป็นบริการสาธารณะ
- ↑ มธ.มอบวารสารศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ เชิดชูเกียรติ"คุณนิลวรรณ ปิ่นทอง’" [ลิงก์เสีย] naewna.com
- ↑ ประวัตินักเขียน ชื่อ : นิลวรรณ ปิ่นทอง[ลิงก์เสีย] praphansarn.com
- ↑ เศร้า! สิ้น’คุณนิลวรรณ ปิ่นทอง’ บก.สตรีสาร ตั้งสวดพระอภิธรรมวัดเทพศิรินทร์
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวในพระราชสำนัก พระบรมมหาราชวัง วันเสาร์ที่ ๒๗ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๖๐, เล่ม ๑๓๕ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๒๗๒, ๖ มิถุนายน ๒๕๖๑
- ↑ "BIOGRAPHY of Nilawan Pintong, 1961 Ramon Magsaysay Award for Public Service". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-11. สืบค้นเมื่อ 2009-09-04.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๗ ตอนที่ ๑๒๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๕, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๑๒๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๔, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๖ ตอนที่ ๙๓ ง หน้า ๒๒๔๘, ๑๒ มิถุนายน ๒๕๒๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๙๔๗, ๑๐ ธันวาคม ๒๔๘๔
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2458
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2560
- คุณหญิง
- นักเขียนชาวไทย
- บรรณาธิการนิตยสาร
- ผู้ได้รับรางวัลแมกไซไซ
- ข้าราชการพลเรือนชาวไทย
- บุคคลจากโรงเรียนเบญจมราชาลัย
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
- นิสิตเก่าคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ครูชาวไทย
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ชาวไทยที่มีอายุเกิน 100 ปี