ข้ามไปเนื้อหา

ดัสกร ทองเหลา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ดัสกร ทองเหลา
บ.ภ.
ข้อมูลส่วนตัว
ชื่อเต็ม ดัสกร ทองเหลา
วันเกิด 30 ธันวาคม พ.ศ. 2526 (40 ปี)
สถานที่เกิด หนองบัวลำภู ประเทศไทย
ส่วนสูง 1.69 m (5 ft 6 12 in)
ตำแหน่ง กองกลาง
สโมสรเยาวชน
โรงเรียนวัดสระเกศ
1998 โรงเรียนปทุมคงคา
1999 วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการราชดำเนิน
สโมสรอาชีพ*
ปี ทีม ลงเล่น (ประตู)
1999 ราชประชา 23 (8)
2000–2006 บีอีซี เทโรศาสน 77 (18)
2001–2002แอร์สเทอเอฟเซไคเซอร์สเลาเทิร์น 2 (ยืมตัว) 7 (0)
2007–2009 ฮหว่างอัญซาลาย 28 (12)
2010–2018 เมืองทอง ยูไนเต็ด 172 (22)
2017บีอีซี เทโรศาสน (ยืมตัว) 23 (1)
2018อุดรธานี (ยืมตัว) 21 (1)
2019สีหมอก (ยืมตัว) 7 (0)
2019 ชลบุรี 5 (0)
2020–2021 อยุธยา ยูไนเต็ด 32 (4)
2021–2022 อุทัยธานี 20 (0)
2022–2023 กาญจนบุรี ซิตี้ 22 (0)
ทีมชาติ
2001 ไทย อายุไม่เกิน 19 ปี 5 (0)
2001–2005 ไทย อายุไม่เกิน 23 ปี 15 (0)
2010 ไทย อายุไม่เกิน 23 ปี 5 (2)
2001–2017 ไทย 102 (11)
จัดการทีม
2019 สีหมอก (ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน)
*นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น
ข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 19 มีนาคม 2566

ดัสกร ทองเหลา (เกิดวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2526) เป็นนักฟุตบอลชาวไทย ลงเล่นในตำแหน่งกองกลาง

ประวัติ

[แก้]

ดัสกร ทองเหลา เกิดเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2526 ที่อำเภอหนองบัวลำภู จังหวัดอุดรธานี (ปัจจุบันคือ จังหวัดหนองบัวลำภู) มีชื่อเล่นว่า อ๋อง[1] เป็นบุตรของนายสะคร และ นางจันโทม ทองเหลา จบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนปทุมคงคา มีผลงานที่สำคัญคือ เหรียญทอง การแข่งขันฟุตบอลในกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 21, ครั้งที่ 22 และ ครั้งที่ 23 และรางวัลนักฟุตบอลยอดเยี่ยม สยามโกลเด้นบอล 2010

ดัสกร เป็นผู้เล่นในตำแหน่งกองกลาง, ตัวทำเกมส์ของเมืองทอง ยูไนเต็ด และทีมชาติไทย มีทักษะในการจ่ายและโยนบอล ลูกยิงไกล ลูกฟรีคิก ซึ่งฤดูกาล 2010 ย้ายมาจากสโมสรฮองอันยาลาย มาสู่ถิ่นสโมสรฟุตบอลเอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ดเพียงฤดูกาลแรก ก็สามารถนำสโมสรฟุตบอลเอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ดป้องกันแชมป์สปอนเซอร์ไทยพรีเมียร์ลีกได้เป็นผลสำเร็จ[2]

สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ หรือ ฟีฟ่า ได้รับรองสถิติการติดทีมชาติไทยของดัสกรไว้ที่ 102 นัด หลังจากในตอนแรกไม่มีชื่อของ ดัสกร แต่ภายหลังจากที่ ธิษณา ธนคลัง แฟนพันธุ์แท้เอเชียนเกมส์ ได้ยื่นข้อมูลไปยังฟีฟ่า ต่อมาจึงได้มีการแก้ไขข้อมูลและรับรองให้ ดัสกร มีสถิติติดทีมชาติไทยเท่ากับจำนวนดังกล่าว[3]

เกียรติประวัติ

[แก้]

ระดับทีมชาติ

ระดับสโมสร

บีอีซี เทโรศาสน
เมืองทองฯ ยูไนเต็ด
ดัสกรกำลังเตะมุมในนัดที่พบกับ ทีมชาติโอมาน

ทำประตูในนามทีมชาติ

[แก้]
# วันที่ สถานที่ พบ คะแนน ผล รายการ
1. 10 พฤศจิกายน 2546 ทาชเคนต์, อุซเบกิสถาน ธงชาติฮ่องกง ฮ่องกง 1-2 แพ้ เอเชียนคัพ 2004 รอบคัดเลือก
2. 17 พฤศจิกายน 2546 กรุงเทพ, ไทย ธงชาติฮ่องกง ฮ่องกง 1-0 ชนะ เอเชียนคัพ 2004 รอบคัดเลือก
3. 16 กุมภาพันธ์ 2546 กรุงเทพ, ไทย ธงชาติเกาหลีเหนือ เกาหลีเหนือ 2-2 เสมอ คิงส์คัพ 2003
4. 24 ธันวาคม 2549 ฮานอย, เวียดนาม ธงชาติเวียดนาม เวียดนาม 5-1 ชนะ คิงส์คัพ 2006
5. 24 มกราคม 2550 ฮานอย, เวียดนาม ธงชาติเวียดนาม เวียดนาม 2-0 ชนะ อาเซียนฟุตบอลแชมเปียนชิพ 2007
6. 8 ตุลาคม 2550 กรุงเทพ, ไทย ธงชาติมาเก๊า มาเก๊า 6-1 ชนะ ฟุตบอลโลก 2010 รอบคัดเลือก
7. 15 ตุลาคม 2550 มาเก๊า, มาเก๊า ธงชาติมาเก๊า มาเก๊า 7-1 ชนะ ฟุตบอลโลก 2010 รอบคัดเลือก
8. 7 มิถุนายน 2551 ริฟฟา, บาห์เรน ธงชาติบาห์เรน บาห์เรน 1-1 เสมอ ฟุตบอลโลก 2010 รอบคัดเลือก
9. 28 กรกฎาคม 2554 เวสต์ แบงก์, ปาเลสไตน์ ธงชาติรัฐปาเลสไตน์ ปาเลสไตน์ 1-1 เสมอ ฟุตบอลโลก 2014 รอบคัดเลือก
10. 28 กรกฎาคม 2554 เวสต์ แบงก์, ปาเลสไตน์ ธงชาติรัฐปาเลสไตน์ ปาเลสไตน์ 2-2 เสมอ ฟุตบอลโลก 2014 รอบคัดเลือก
11. 24 กุมภาพันธ์ 2555 เชียงใหม่, ไทย Flag of the Maldives มัลดีฟส์ 3-0 ชนะ กระชับมิตร
12. 26 มกราคม 2556 เชียงใหม่, ไทย ธงชาติเกาหลีเหนือ เกาหลีเหนือ 2-2 เสมอ คิงส์คัพ 2556

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ชีวประวัติ ดัสกร ทองเหลา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-02. สืบค้นเมื่อ 2021-03-12.
  2. ดัสกร มาสู่ถิ่นสโมสรฟุตบอลเอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด
  3. แฟนบอลเฮ ฟีฟ่ารับรอง "ดัสกร" ติดทีมชาติไทยครบ 100 นัด

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]