กีฬาคนพิการแห่งชาติ ครั้งที่ 36

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กีฬาคนพิการแห่งชาติ ครั้งที่ 36
เจ้าภาพจังหวัดเชียงราย
คำขวัญมิตรภาพและความภาคภูมิใจ
จังหวัดเข้าร่วม77
นักกีฬาเข้าร่วม2,548
กีฬา17
พิธีเปิด18 มกราคม พ.ศ. 2562
พิธีปิด22 มกราคม พ.ศ. 2562
ประธานพิธีพิธีเปิด: วรวิทย์ เตชะสุภากูร, เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
พิธีปิด: วีระศักดิ์ โควสุรัตน์, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวกีฬา
ผู้จุดคบเพลิงสุจิรัตน์ ปุกคำ
สนามกีฬาหลักสนามกีฬากลางองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย
เว็บไซต์ทางการhttp://www.namkokgames.com/

กีฬาคนพิการแห่งชาติ ครั้งที่ 36 (อังกฤษ: 36th Thailand National Para Games) หรือเป็นที่รู้จักในนาม น้ำกกเกมส์ เป็นมหกรรมกีฬาระดับชาติสำหรับผู้พิการทั่วไปในประเทศไทย ควบคุมโดยการกีฬาแห่งประเทศไทย ซึ่งจัดขึ้น ณ จังหวัดเชียงราย จัดขึ้นระหว่างวันที่ 18 - 22 มกราคม พ.ศ. 2562[1] ในครั้งนี้มีนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันจำนวน 2,548 คน จาก 77 จังหวัด มีกีฬาที่แข่งขันทั้งหมด 17 ชนิดกีฬา ประกอบไปด้วยกีฬาสากล จำนวน 17 กีฬา ซึ่งครั้งนี้ได้จัดการแข่งขันภายในจังหวัดเชียงราย

จังหวัดเชียงรายได้เป็นเจ้าภาพกีฬาคนพิการแห่งชาติ ครั้งที่ 36 ในปี พ.ศ. 2562 เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ในการประชุมคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 5/2557 ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่จังหวัดเชียงรายได้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาคนพิการแห่งชาติ

การคัดเลือกเจ้าภาพ[แก้]

ในการประชุมคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 5/2557 เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 การกีฬาแห่งประเทศไทย ได้มีมติให้จังหวัดเชียงราย เป็นเจ้าภาพกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 46 และกีฬาคนพิการแห่งชาติ ครั้งที่ 36 ตามธรรมเนียม นอกจากนี้ยังมีมติให้ จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นเจ้าภาพกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 32, จังหวัดชุมพร และจังหวัดระนอง เป็นเจ้าภาพกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 33, จังหวัดน่าน เป็นเจ้าภาพกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 34 และจังหวัดศรีสะเกษ เป็นเจ้าภาพกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 47

มติการประชุมคณะกรรมการ กกท. ครั้งที่ 5/2557
2 พฤษภาคม พ.ศ. 2557[2]
จังหวัด เจ้าภาพ
เชียงราย กีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 46
สุพรรณบุรี กีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 32
ชุมพร
ระนอง
กีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 33
น่าน กีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 34
ศรีสะเกษ กีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 47

พิธีการ[แก้]

การอัญเชิญไฟพระฤกษ์[แก้]

รถบุษบกที่ใช้ในการอัญเชิญไฟพระฤกษ์ เพื่อใช้ในพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาคนพิการแห่งชาติ ครั้งที่ 36

มีพิธีการอัญเชิญไฟพระฤกษ์ เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 โดยอัญเชิญมาจากกรุงเทพมหานคร ได้นำไฟพระฤกษ์อัญเชิญไว้บนรถบุษบกเพื่อนำไปยังอำเภอแม่ลาว และอำเภออื่น ๆ ทั่วจังหวัดเชียงราย[3] ในส่วนของอำเภอพญาเม็งรายได้มีการจัดกิจกรรมวิ่งคบเพลิง เพื่อรณรงค์ประชาสัมพันธ์การแข่งขันกีฬาแห่งชาติครั้งที่ 46 และกีฬาคนพิการแห่งชาติ ครั้งที่ 36 ให้ประชาชนในอำเภอพญาเม็งรายได้รับรู้ความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการจัดการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ ซึ่งจังหวัดเชียงรายได้เป็นเจ้าภาพในครั้งนี้ และได้ส่งมอบคบเพลิงให้กับตำบลหมู่บ้านต่าง ๆ ซึ่งจะให้ผู้นำชุมชนเป็นตัวแทนวิ่งในตำบลและหมู่บ้านของตนเอง และส่งมอบไปยังหมู่บ้านต่อไป รวมทั้งสิ้น 5 ตำบล 71 หมู่บ้าน โดยใช้เวลาการวิ่งทั้งสิ้น 10 วัน[4] ก่อนที่จะอัญเชิญเพื่อใช้จุดในพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาคนพิการแห่งชาติ

พิธีเปิด[แก้]

พิธีเปิดการแข่งขันกีฬาคนพิการแห่งชาติ ครั้งที่ 36 หรือ น้ำกกเกมส์ เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2562 เวลา 18.20 นาฬิกา[5] โดยมีการแสดงทั้งหมด 3 ชุด ได้แก่ การแสดงชุดแรกที่มีชื่อว่า แอ่วเจียงฮาย โดยได้มีการเตรียมฉากให้มีความเกี่ยวข้องกับขุนเขา อันมีน้ำแม่กกรินไหล ซึ่งเป็นน้ำแม่ที่สำคัญของชาวจังหวัดเชียงราย พร้อมประกอบด้วยเพลง ไปเตอะไปแอ่ว ขับร้องโดย คนึงพิมพ์ ธนพิชชากรณ์ นักร้องสาวชาวเชียงราย พร้อมกับแดนชัย รีอินทร์ ศิลปินล้านนา ต่อมาเป็นการแสดงชุดที่สองมีชื่อว่า ไตรภูมิ เป็นการบ่งบอกถึงเอกลักษณ์ของศิลปินทั้งสามคน อันได้แก่ ถวัลย์ ดัชนี, เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ และพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี ประกอบไปด้วยภูมิที่หนึ่ง ธาตุทั้ง 4 ของโลก, ภูมิที่สอง การหลุดพ้น ประดุจภูมิเหนือน้ำ และภูมิที่สาม การเข้าถึงแก่นแท้ของสุข หลังจากนั้นได้นำขบวนนักกีฬาคนพิการจาก 77 จังหวัด เข้าสู่สนาม ต่อมาได้มีการนำธงชาติไทย, ธงการแข่งขันกีฬาคนพิการแห่งชาติ และธงประจำจังหวัดเชียงราย ชักขึ้นสู่ยอดเสา พร้อมกับการกล่าวรายงานวัตถุประสงค์ มีการจุดไฟคบเพลิงโดย สุจิรัตน์ ปุกคำ แล้วเริ่มการแสดงชุดที่สี่มีชื่อว่า แก้วกัลยา เพื่อเป็นการสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทยที่เป็นผู้พิการ โดยที่พระองค์ได้พระราชทางให้ดอกแก้วกัลยา ให้เป็นสัญลักษณ์ของคนพิการ เป็นอันเสร็จพิธีการเปิดการแข่งขัน[6]

พิธีปิด[แก้]

พิธีปิดการแข่งขันกีฬาคนพิการแห่งชาติ ครั้งที่ 36 หรือ น้ำกกเกมส์ เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2562 เวลา 18.25 นาฬิกา[7][8] โดยมีการแสดงทั้งหมด 3 ชุด รวมการแสดงของเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาคนพิการแห่งชาติ ครั้งที่ 37 โดยการแสดงชุดแรกมีชื่อว่า ผืนผ้าใบแห่งชีวิต ซึ่งเป็นการแสดงโดยนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย โดยแสดงท่าทางประกอบเพลงผืนผ้าใบแห่งชีวิต ซึ่งเป็นเพลงประจำการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 46 และกีฬาคนพิการแห่งชาติ ครั้งที่ 36 ต่อมาได้มีการเชิญธงชาติไทย, ธงประจำการแข่งขันกีฬาคนพิการแห่งชาติ ครั้งที่ 36, ธงประจำจังหวัดเชียงราย และธงการแข่งขันกีฬาคนพิการแห่งชาติ เข้าสู่ภายในสนาม ก่อนที่จะเป็นขบวนนักกีฬาจาก 77 จังหวัดเข้าสู่สนาม เสร็จแล้วได้มีการชักธงชาติลงสู่ยอดเสา ผู้ว่าการกีฬาแห่งประเทศไทย และผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงรายกล่าวรายงานต่อประธานในพิธี มีการชักธงการแข่งขันกีฬาคนพิการแห่งชาติ และธงประจำจังหวัดเชียงรายลงสู่ยอดเสา จากนั้นเป็นการมอบธงการแข่งขันกีฬาคนพิการแห่งชาติให้กับเจ้าภาพครั้งต่อไป พร้อมกับการแสดงจากเจ้าภาพมีชื่อว่า ออนซอนสี่เผ่าไทศรีสะเกษ เป็นการแสดงของชนเผ่าสี่ชนเผ่าที่มีอิทธิผลต่อจังหวัดศรีสะเกษ ได้แก่ ชาวเขมร, ชาวส่วย หรือกุย, ชาวลาว และชาวเญอไนศรีสะเกษ การแสดงชุดที่สามมีชื่อว่า ประทีบแห่งมิตรภาพและความภาคภูมิใจ แสดงโดยนักเรียนโรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย จำนวน 30 คน ซึ่งเป็นการแสดงชุดสุดท้ายก่อนที่จะที่ดับไฟในกระถางคบเพลิง[9][10]

การแข่งขัน[แก้]

ชนิดกีฬา[แก้]

มีการแข่งขันในกีฬาคนพิการแห่งชาติ ครั้งที่ 36 ทั้งหมด 17 ชนิดกีฬา ดังนี้:

สนามแข่งขัน[แก้]

สนามกีฬา กีฬา สถานที่
สนามกีฬาจังหวัดเชียงราย พิธีการ, กรีฑา, เปตอง, ยกน้ำหนัก, แบดมินตัน, ฟุตบอล, ฟุตซอล, ยิงปืน, วีลแชร์เทนนิส, เซปรักตะกร้อ และบอคเซีย เมืองเชียงราย
สนามกีฬาเทศบาลนครเชียงราย โกลบอล เมืองเชียงราย
สนามกีฬามหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย วอลเลย์บอล, วีลแชร์ฟันดาบ, ว่ายน้ำ และยิงธนู เมืองเชียงราย
สนามกีฬามหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง วีลแชร์บาสเกตบอล และเทเบิลเทนนิส เมืองเชียงราย

ปฏิทินกำหนดการแข่งขัน[แก้]

เปิด พิธีเปิดการแข่งขัน การแข่งขันรอบทั่วไป การแข่งขันชิงเหรียญทอง ปิด พิธีปิดการแข่งขัน
มกราคม พ.ศ. 2562 17
พฤ.
18
ศ.
19
ส.
20
อา.
21
จ.
22
อ.
 พิธีการ เปิด ปิด
กรีฑา
โกลบอล
เซปักตะกร้อ
เทเบิลเทนนิส
บอคเซีย
แบดมินตัน
เปตอง
ฟุตซอล
ฟุตบอล
ยกน้ำหนัก
ยิงธนู
ยิงปืน
วอลเลย์บอล
ว่ายน้ำ
วีลแชร์เทนนิส
วีลแชร์บาสเกตบอล
วีลแชร์ฟันดาบ
มกราคม พ.ศ. 2562 17
พฤ.
18
ศ.
19
ส.
20
อา.
21
จ.
22
อ.

จังหวัดที่เข้าร่วม[แก้]

จังหวัดที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาคนพิการแห่งชาติ ครั้งที่ 36

สรุปเหรียญรางวัล[แก้]

      เชียงราย (เจ้าภาพ)
อันดับที่ จังหวัด ทอง เงิน ทองแดง รวม
1 กรุงเทพมหานคร 80 63 55 198
2 นนทบุรี 69 35 41 145
3 ชลบุรี 39 33 39 111
4 เชียงราย 24 18 11 53
5 เชียงใหม่ 19 16 19 54
6 สงขลา 19 11 12 42
7 นครราชสีมา 14 6 5 25
8 ชุมพร 12 9 1 22
9 ปทุมธานี 12 7 8 27
10 บุรีรีมย์ 10 6 1 17
รวม 437 362 382 1181

การตลาด[แก้]

ตราสัญลักษณ์
มาสคอต

สัญลักษณ์[แก้]

สัญลักษณ์น้ำกกเกมส์นั้นออกแบบโดย อุทัย จุฬาเพชร แก้ไขให้สมบูรณ์โดย เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ โดยสัญลักษณ์สื่อถึงความภูมิใจที่ได้เป็นเจ้าภาพ โดยเอาสถาปัตยกรรม 3 แห่งที่สำคัญในจังหวัดเชียงราย ได้แก่ วัดร่องขุ่น เป็นสีขาว ซึ่งเป็นสีที่เป็นเอกลักษณ์ของวัดร่องขุ่น สื่อความหมายถึงความวิจิตรบรรจงของการแข่งขัน, บ้านดำ เป็นสีดำ สื่อถึงปรัชญาของการแข่งขัน และยังเป็นสีเอกลักษณ์ของบ้านดำอีกด้วย ส่วนไร่เชิญตะวัน เป็นสีเหลือง สื่อถึงความมีสติ และความมีคุณธรรมในการแข่งขัน ทั้งหมดนี้เป็นสถานที่คนไทยทั้งประเทศรู้จักอย่างดี ทั้งนี้ มีการเพิ่มรถเข็นวีลแชร์ที่กำลังพุ่งไปข้างหน้า สื่อถึงชีวิตของคนพิการที่ต้องมานะบากบั่นในการแข่งขันกีฬา[11]

มาสคอต[แก้]

มาสคอตประจำการแข่งขันกีฬาคนพิการแห่งชาติ ครั้งที่ 36 หรือ น้ำกกเกมส์ มีชื่อว่า แมงมันคำ ซึ่งเป็นชื่อเรียกของมดชนิดหนึ่งซึ่งทำหน้าที่เป็นมดราชินี ซึ่งถือว่าเป็นแมงที่ตัวเล็กแต่ไข่ของมันนั้นมีขนาดใหญ่ เปรียบได้กับความพยายามของผู้พิการที่ต้องต่อสู้ฝ่าฟันอุปสรรค

ไอเดียมาสคอต โดย จักรกริช ฉิมนอก และออกแบบ โดย พจวรรณ พันธ์จินดา ศิลปินเชียงราย

อ้างอิง[แก้]

  1. “เจียงฮายเกมส์”จัดกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 46 และการแข่งขันกีฬาคนพิการแห่งชาติ"น้ำกกเกมส์"ครั้งที่ 36
  2. ผลการประชุม บอร์ด กกท. ครั้งที่ 5/2557
  3. จังหวัดเชียงรายอัญเชิญไฟพระฤกษ์ เพื่อใช้ในพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 46 “เจียงฮายเกมส์” และการแข่งขันกีฬาคนพิการแห่งชาติ ครั้งที่ 36 “น้ำกกเกมส์” สืบค้นเมื่อ 20/11/61
  4. "อำเภอพญาเม็งรายจัดกิจกรรมวิ่งคบเพลิง รณรงค์ประชาสัมพันธ์ สร้างการรับรู้ การกีฬาแห่งชาติครั้งที่ 46 เจียงฮายเกมส์ และการแข่งขันกีฬาคนพิการแห่งชาติครั้งที่ 36 น้ำกกเกมส์ สืบค้นเมื่อ 20/11/61". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-08-20. สืบค้นเมื่อ 2019-02-01.
  5. "กำหนดการพิธีเปิดน้ำกกเกมส์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-02-23. สืบค้นเมื่อ 2019-01-19.
  6. กีฬาคนพิการแห่งชาติ ‘น้ำกกเกมส์’ เปิดยิ่งใหญ่แล้วที่เชียงราย
  7. "กำหนดการพิธีปิดน้ำกกเกมส์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-02-23. สืบค้นเมื่อ 2019-01-19.
  8. กีฬาคนพิการแห่งชาติ ครั้ง 36 "น้ำกกเกมส์" ปิดฉากเย็นนี้
  9. ปิดฉากการแข่งขันกีฬาคนพิการ แห่งชาติ ครั้งที่ 36 “น้ำกกเกมส์ ส่งไม้ต่อให้ “นครลำดวนเกมส์” จ.ศรีสะเกษ[ลิงก์เสีย]
  10. รมว.ท่องเที่ยวและกีฬา เป็นประธานพิธีปิด "น้ำกกเกมส์"[ลิงก์เสีย]
  11. "สัญลักษณ์น้ำกกเกมส์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-02-23. สืบค้นเมื่อ 2019-01-19.