พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี
![]() |
บทความนี้ได้รับแจ้งให้ปรับปรุงหลายข้อ กรุณาช่วยปรับปรุงบทความ หรืออภิปรายปัญหาที่หน้าอภิปราย
|
พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี |
|
---|---|
(วุฒิชัย วชิรเมธี) ว.วชิรเมธี |
|
![]() |
|
เกิด | 29 มกราคม พ.ศ. 2516 |
อายุ | 45 ปี 88 วัน |
อุปสมบท | 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2537 |
พรรษา | 23 ปี 352 วัน |
วัด | วัดพระสิงห์ |
ท้องที่ | เชียงราย |
สังกัด | มหานิกาย |
วุฒิการศึกษา | Faculty of Education, Sukhothai Thammatirat. Master in Buddhism, Maha Chulalongkorn Rajawittayalai น.ธ.เอก, ป.ธ. 9, ศศ.บ., พธ.ม. |
ตำแหน่ง ทางคณะสงฆ์ |
ประธานมูลนิธิวิมุตตยาลัย
ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระสิงห์ พระอารามหลวง |
พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี หรือชื่อเมื่อแรกเกิดว่า วุฒิชัย บุญถึง[1] หรือรู้จักกันดีในนามปากกา ว.วชิรเมธี (29 มกราคม พ.ศ. 2516 —) เป็นภิกษุชาวไทย มีชื่อเสียงว่าเป็นพระนักวิชาการ นักคิด นักเขียน และนักบรรยายธรรม
เนื้อหา
ประวัติ[แก้]
![]() |
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้
|
ว. วชิรเมธี เป็นนามปากกาของ พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี ภูมิลำเนาของท่าน
อยู่ที่บ้านครึ่งใต้ ต.ครึ่ง อ.เชียงของ จ.เชียงราย ท่านเป็นคนที่รักการอ่านมาตั้ง แต่เด็ก อ่านทุกอย่างที่ขวางหน้า จึงทำให้ท่านซึมซับความรู้ ทุกรูปแบบ เมื่อยัง เด็ก มารดาได้พาท่านไปทำบุญที่วัดบ่อยๆ ทุกวันพระ ซึ่งผลจากการติดตาม มารดาไปทำบุญบ่อยๆ นี้เอง ต่อมาได้กลายเป็นแรงบันดาลใจให้ท่านสนใจหลัก ธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนา และทำให้หนังสือที่ท่านอ่านไม่ได้ ถูกจำกัดอยู่ เพียงหนังสือความรู้หรือหนังสือบันเทิงทั่วไปเท่านั้น แต่หนังสือธรรมะก็เป็น หนังสือที่ท่านสนใจด้วยเช่นกัน หลังจากจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ท่านก็ได้ขอ อนุญาตมารดาบวชเป็นสามเณรที่วัดครึ่งใต้ แตกต่างจากเพื่อนๆ ในวัยเดียวกันที่ มุ่งเรียนต่อในชั้นมัธยมศึกษา เมื่อบวชเป็นสามเณรแล้ว ท่านตั้งใจศึกษาเล่าเรียน พระปริยัติธรรมแผนกนักธรรม จนจบนักธรรมชั้นเอก แล้วย้าย มาพำนักอยู่ ที่วัด พระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย เพื่อศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี จน สำเร็จการศึกษาเปรียญธรรม๖ ประโยค ต่อมาเมื่ออายุครบ ๒๑ ปี จึงอุปสมบท เป็นพระภิกษุที่วัดบ้านเกิด และย้ายมาพำนักที่วัดเบญจมบพิตร ในกรุงเทพฯ เพื่อศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีต่อจนสำเร็จเป็นเปรียญธรรม ๙ ประโยค ซึ่ง ถือเป็นการศึกษาขั้นสูงสุดของคณะสงฆ์ไทย ด้านการศึกษาทางโลกนั้น ท่านสำเร็จการศึกษาเป็น “ศึกษาศาสตรบัณฑิต” (สังคม-มัธยมศึกษา) จากมหา วิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และ “พุทธศาสตร มหาบัณฑิต” จากมหา วิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ปัจจุบันท่านได้ รับเชิญให้เป็น อาจารย์ สอนนักศึกษาระดับปริญญาโทที่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ นอกจากนั้นก็ยังรับเชิญเป็นวิทยากร บรรยายวิชาการทางพระพุทธศาสนาให้กับหน่วยงานต่างๆ อีกมากมาย ในแง่จริยวัตรส่วนตัวนั้นนอกจากท่านจะเป็นพระ นักวิชาการ พระนักคิด นักเขียน แล้วท่านก็ยังสนใจฝึกสมาธิภาวนาอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลากว่าสิบปี ผลงานหนังสือของท่านมีเกือบ 20 เล่ม ผลงานซึ่งเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป คือ ธรรมะติดปีก, ธรรมะหลับสบาย, ธรรมะดับร้อน, ธรรมะบันดาล, ธรรมะรับอรุณ , ธรรมะราตรี, ปรัชญาหน้ากุฏิ, ปรัชญาหน้าบ้าน, DNA ทางวิญญาณ, ตายแล้ว เกิดใหม่ตามนัยพระพุทธศาสนา และท่านยังได้เขียนบทความลงในนิตยสารหลาย ฉบับ เช่น เนชั่นสุดสัปดาห์, ชีวจิต, หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจต่อไป
ชีวิตสมณเพศ[แก้]
พระมหาวุฒิชัยบรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2530 ณ วัดครึ่งใต้ ตำบลครึ่ง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย โดยมีพระครูโสภณจริยกิจ เจ้าคณะอำเภอเชียงของ วัดศรีดอนไชย เป็นพระอุปัชฌาย์ ต่อมา ได้อุปสมบทเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2537 ณ วัดครึ่งใต้ โดยมี พระสุนทรปริยัติวิธาน ปัจจุบันคือ พระเทพสิทธินายก (ชื่น ปญฺญาธโร) เจ้าคณะจังหวัดเชียงราย วัดพระสิงห์ (พระอารามหลวง) เป็นพระอุปัชฌาย์[2] มี พระครูสมุห์บุญช่วย ฉายา ธมฺมสโร วัดสบสม เป็น พระกรรมวาจาจารย์ พระครูภัทรวรคุณ วัดสถาน เป็น พระอนุสาวนาจารย์ ปัจจุบันพระมหาวุฒิชัยสังกัดวัดพระสิงห์ เชียงราย และจำพรรษาอยู่ที่ศูนย์วิปัสสนาสากลไร่เชิญตะวัน เชียงราย[3] , [4]
การศึกษา[แก้]
- พ.ศ. 2533 น.ธ.เอก สำนักเรียน วัดพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย
- พ.ศ. 2543 สอบไล่ได้ เปรียญธรรม 9 ประโยค สำนักเรียนวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม กรุงเทพมหานคร
- พ.ศ. 2543 ศึกษาศาสตรบัณฑิต (ศษ.บ.) จาก มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
- พ.ศ. 2546 พุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.) จาก มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ตำแหน่งปัจจุบัน[แก้]
- ประธานมูลนิธิวิมุตตยาลัย
- ผู้อำนวยการสถาบันวิมุตตยาลัย
- ผู้ก่อตั้งและอธิการบดีมหาวิชชาลัยพุทธเศรษฐศาสตร์
(สถาบันการศึกษาทางเลือกเพื่อการพัฒนาตามปรัชญาพุทธเศรษฐศาสตร์)
- ผู้ช่วยเจ้าอาวาส วัดพระสิงห์ พระอารามหลวง จังหวัดเชียงราย
ตำแหน่งทางคณะสงฆ์ในอดีต[แก้]
- เลขานุการรองเจ้าคณะจังหวัดเชียงราย
- เลขานุการสหธรรมิกเชียงรายในกรุงเทพมหานคร
- กรรมการตรวจนักธรรมสนามหลวง
- กรรมการตรวจบาลีสนามหลวง
- พระอนุจรผู้นำข้อสอบไปเปิดสอบของ แม่กองบาลีสนามหลวง
- บรรณาธิการวารสารเบญจมบพิตรสัมพันธ์
- พระอนุจรของพระพรหมวชิรญาณ กรรมการมหาเถรสมาคม ในการเดินทางไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา (พ.ศ. ๒๕๔๙)
- อาจารย์พิเศษบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
การทำงานเผยแผ่พระพุทธศาสนา[แก้]
หลังสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้รับอาราธนาให้เป็นอาจารย์พิเศษของบัณฑิตวิทยาลัย มจร. (๒๕๔๖-๒๕๕๓) สอนวิชาสัมมนาพระพุทธศาสนากับวิทยาการโลกยุคใหม่ (Seminar on Buddhism and New World Perspectives) แก่นิสิตระดับปริญญาโททั้งภาคปกติ (พระภิกษุ) ภาคพิเศษ (คฤหัสถ์) นอกจากนั้นยังได้รับอาราธนาให้เป็นอาจารย์พิเศษระดับปริญญาตรี โท เอก ของมหาวิทยาลัยชั้นนำทั้งของภาครัฐและเอกชนอีกหลายแห่ง รวมทั้งเป็นอาจารย์พิเศษให้กับสถาบันพระปกเกล้า วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร โรงเรียนเตรียมทหาร โรงเรียนนายร้อยตำรวจสามพราน เป็นต้น พร้อมๆ กับการทำหน้าที่อาจารย์พิเศษในมหาวิทยาลัย ท่านยังอุทิศตนทำงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาในรูปแบบ “ธรรมประยุกต์” (Applied Buddhism) จนเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางด้วยผลงานธรรมนิพนธ์ในชุด “ธรรมะติดปีก” (ประกอบด้วยธรรมะติดปีก ธรรมะบันดาล ธรรมะดับร้อน ธรรมะหลับสบาย) การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเชิงรุกในแบบ “ธรรมประยุกต์” หรือ Applied Buddhism ของท่านทำให้เกิดกระแสความตื่นตัวและก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในการศึกษาธรรมะในเมืองไทยอย่างกว้างขวาง ทั้งวงการเทศน์ที่ลดความเข้มขลัง ทางธรรมเนียมนิยมลงมาสู่การเทศน์เชิงปฏิภาณหรือเทศน์ปนทอล์คที่ทำให้การแสดงธรรมกลายเป็นเรื่องทันสมัยมีชีวิตชีวาเข้าถึงคนได้ทุกกลุ่ม วงการเขียนหนังสือธรรมะที่หนังสือธรรมะกลายเป็นหนังสือยอดนิยมของคนทุกวัย และวงการวิทยุและโทรทัศน์ที่รายการธรรมะกลายเป็นรายการในช่วงไพรไทม์อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน จนปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้ถูกนักสื่อสารมวลชนนิยามว่าเป็นปรากฏการณ์ “ธรรมะอินเทรนด์” ปัจจุบันท่านมีผลงานธรรมนิพนธ์ไม่น้อยกว่า ๒๐๐ เล่ม (สถิติ ณ พ.ศ. ๒๕๕๗) หลายเล่มได้รับการแปลสู่ภาษาต่างประเทศ เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น ภาษาเกาหลี ภาษาอินโดนีเซีย ภาษาสเปน ภาษาฝรั่งเศส บางเล่มได้รับการดัดแปลงเป็นบทละครโทรทัศน์ ละครเวที ดัดแปลงเป็นบทภาพยนตร์ หรือแม้แต่บทโฆษณาเพื่อการปลูกฝังค่านิยมอันดีงามของสังคม พ.ศ. ๒๕๕๐ ก่อตั้งสถาบันวิมุตตยาลัย อันเป็นสถาบันการศึกษาทางเลือกเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาและพัฒนาสันติภาพโลก พ.ศ. ๒๕๕๒ ก่อตั้งศูนย์วิปัสสนาสากลไร่เชิญตะวัน เพื่อเป็นธรรมสถานในการ บูรณาการพุทธธรรมเข้ากับทุกกิจกรรมของชีวิตผ่านการจัดคอร์สภาวนาทั้งแก่ชาวไทยและชาวต่างประเทศ และในปีเดียวกันนี้ท่านยังได้ก่อตั้งเว็บไซต์ www.dhammatoday.com เพื่อขับเคลื่อนงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาสู่ประชาคมโลกตามแนวคิด “ธรรมะออนไลน์ เพื่อไทย เพื่อโลก” พ.ศ. ๒๕๕๕ ก่อตั้งมหาวิชชาลัยพุทธเศรษฐศาสตร์ สถาบันการศึกษาทางเลือกเพื่อการพัฒนาตามปรัชญาพุทธเศรษฐศาสตร์ ในโอกาสธรรมสมโภช ๒๖ ศตวรรษแห่งพระพุทธศาสนายุกาล และก่อตั้งมูลนิธิวิมุตตยาลัย เพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาและพัฒนาสันติภาพโลก ปัจจุบันท่านสังกัด วัดพระสิงห์ (พระอารามหลวง) ตำบลเวียง อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย และพำนักจำพรรษา ณ ศูนย์วิปัสสนาสากลไร่เชิญตะวัน บ้านสันป่าเหียง ตำบลห้วยสัก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย เพื่อทำงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาเชิงรุกด้วยการเขียนหนังสือและการประยุกต์พุทธธรรมเข้ากับทุกกิจกรรมของชีวิตผ่านการจัดคอร์สภาวนาทั้งแก่ชาวไทยและชาวต่างประเทศตามแนวทางแห่งอานาปานสติของพระพุทธองค์
ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์[แก้]
- พ.ศ. 2552 ปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ศศ.ด.) มหาวิทยาลัยหาดใหญ่
- พ.ศ. 2554 ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ปร.ด.) สาขาสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
- พ.ศ. 2554 ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ปร.ด.) สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
- พ.ศ. 2555 ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ปร.ด.) สาขาการประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
- พ.ศ. 2558 ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ปร.ด.) สาขาเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
เกียรติคุณและรางวัล[แก้]
ก.รางวัลจากต่างประเทศ
(๑) รางวัล “พระธรรมทูตผู้มีผลงานดีเด่นในระดับโลก” (World Buddhist Sangha Youth) ในโอกาสสมโภช ๒๕๕๐ ปี แห่งพระพุทธศาสนายุกาล จากรัฐบาลและคณะสงฆ์แห่งประเทศ ศรีลังกา (ณ ทำเนียบรัฐบาลศรีลังกา ถวายโดย ฯพณฯ มหินทร ราชปักษะ ประธานาธิบดีประเทศศรีลังกา) (๒) รางวัล “การศึกษาเพื่อสันติภาพ” จากมูลนิธิ Gusi Peace Prize ณ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ ร่วมกับผู้นำ นักการศึกษา นักพัฒนา และองค์กรเอกชนจากประเทศต่างๆกว่า ๒๖ ประเทศ ทั่วโลก
ข.รางวัลในประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๖ * รางวัลคนดีศรีแผ่นดิน จังหวัดเชียงราย ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๕๖ จาก สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย * รางวัลศิษย์เก่าดีเด่นเกียรติคุณ จากสมาคมศิษย์เก่า มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๕๕ * รางวัลเกียรติยศ “ผู้อุทิศตนเพื่อสิทธิมนุษยชน” จาก คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๕
พ.ศ. ๒๕๕๔ * รางวัล “ศาสตรเมธี” สาขามนุษยศาสตร์ (ศาสนา) จากมูลนิธิศาสตราจารย์หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล * รางวัล “บุคคลคุณภาพแห่งปี ๒๐๑๑” จากมูลนิธิสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
พ.ศ. ๒๕๕๓ * รางวัลศิษย์เก่าผู้มีผลงานดีเด่น จากบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย * รางวัลเกียรติยศ “บัลลังก์คนดีแห่งปี ๒๕๕๓” จากสถานีโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง ๕ และ บริษัท กันตนา จำกัด (มหาชน) * รางวัล “บัวทิพย์” สาขา นักการศึกษาผู้มีผลงานยอดเยี่ยม จากมูลนิธิพระพุทธวรญาณ * รางวัล “ผู้ทำคุณประโยชน์ด้านนันทนาการ สาขาการพูด การเขียน การอ่าน” จากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา * รางวัล “ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น ประจำปี ๒๕๕๓” จากกระทรวงวัฒนธรรม * รางวัล “พุทธคุณูปการ กาญจนเกียรติคุณ” ประจำปี ๒๕๕๓ จากคณะกรรมาธิการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร * หนังสือพิมพ์ Bangkok Post ประกาศยกย่องให้เป็น ๑ ใน ๗ ผู้ทรงอิทธิพลของสังคมไทยในรอบ ๗ ปี * สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต ยกย่องให้เป็น “นักการศึกษาที่ประชาชนชื่นชอบมากที่สุด” * ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพล) ยกย่องให้เป็น “บุคคลที่น่ายกย่องที่สุดแห่งปี ๒๕๕๓” ในฐานะผู้เป็นเสียงแห่งมโนธรรมของสังคมไทย
พ.ศ. ๒๕๕๒ * เว็บไซต์ CNN GIOASIA ยกย่องให้เป็น ๒๐ คนกรุงที่น่าจับตามอง (The Bangkok Hot List : 20 People to Watch) * ได้รับการโหวตให้เป็นสุดยอดนักคิด ปี ๒๕๕๑ จากสถานีวิทยุ อสมท. FM ๙๖.๕ MHz. คลื่นความคิด * รางวัล “บุคคลต้นแบบคนดีศรีแผ่นดิน ปี ๒๕๕๑” จากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ * รางวัล “พุทธคุณูปการ รัชตเกียรติคุณ” ผู้มีพุทธคุณูปการต่อพระพุทธศาสนา จากคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร
พ.ศ. ๒๕๕๑ * หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ ยกย่องให้เป็น “คนรุ่นใหม่ผู้เป็นความหวัง” ประจำปี ๒๕๕๑ * หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ยกย่องให้เป็นนักคิดนักเขียนแห่งปี ๒๕๕๑ * นิตยสาร A DAY ยกย่องให้เป็นหนึ่งใน “๑๐๐ บุคคลผู้เป็นแรงบันดาลใจ” (100 idols) * รางวัล “นักเขียนบทความดีเด่นประจำปี ๒๕๕๑” จากมูลนิธิ ม.ร.ว.อายุมงคล โสณกุล * รางวัลเกียรติคุณ “สังข์เงิน” ในฐานะนักประชาสัมพันธ์ดีเด่น จากสมาคมนักประชาสัมพันธ์แห่งประเทศไทย * รางวัล “ลูกที่มีความกตัญญูอย่างสูงต่อแม่ ประจำปี ๒๕๕๑” จากสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูถัมภ์
พ.ศ. ๒๕๕๐ * รางวัลพระราชทาน “เสาเสมาธรรมจักรทองคำ” สาขาการประพันธ์หนังสือ จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี * รางวัลพระราชทาน “บุคคลผู้ทำคุณประโยชน์แก่เยาวชน” สาขาการศึกษาและวิชาการ จากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฏราชกุมาร
- รางวัล “BUCA HONORARY AWARDS” ในฐานะผู้มีผลงานโดดเด่นในการนำเสนอธรรมะแบบอินเทรนด์และมีคุณูปการต่อวงการวิชาชีพนิเทศศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยกรุงเทพฯ
พ.ศ. ๒๕๔๙ * รัฐบาลและคณะสงฆ์แห่งประเทศศรีลังกา และองค์กร WBSY (World Buddhist Sangha Youth) ในฐานะเจ้าภาพจัดงาน “สมโภช ๒๕๕๐ ปีแห่งพระพุทธศาสนายุกาล” (The Celebration of 2550th Buddha Jayanti) มีมติถวายรางวัล “The Great Dharma Putta Award” (พระธรรมทูตผู้มีผลงานดีเด่นระดับโลก) โดยได้รับการถวายรางวัลจาก ฯพณฯ มหินทร ราชปักษะ ประธานาธิบดี แห่งประเทศศรีลังกา * นิตยสาร Positioning ยกย่องให้เป็น “หนึ่งใน ๕๐ ผู้ทรงอิทธิพลของสังคมไทย ประจำปี ๒๕๔๙” พ.ศ. ๒๕๔๘ * สภาศาสนาเพื่อสันติภาพโลกประกาศยกย่องเป็น “ทูตสันติภาพโลก” * รางวัล “ผู้มีผลงานด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนาดีเด่น” จากมูลนิธิศาสตราจารย์จำนงค์ ทองประเสริฐ ราชบัณฑิต
การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในระดับนานาชาติ พ.ศ. ๒๕๔๙ - ปัจจุบัน
- ได้รับอาราธนาให้เดินทางไปปาฐกถาธรรมและนำภาวนายังต่างประเทศทั้งในทวีปเอเชีย ยุโรป และอเมริกาเป็นประจำทุกปี เช่น
พ.ศ. ๒๕๔๙ - ๒๕๕๑ ปาฐกถาธรรมและนำภาวนาประเทศสหรัฐอเมริกา (รัฐแคลิฟอร์เนีย, ชิคาโก,นิวยอร์ก,บอสตัน,วอชิงตัน ดีซี) พ.ศ. ๒๕๔๙ ทัศนศึกษาดูงานด้านศาสนศึกษา ณ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด โดยมีศาสตราจารย์โดแนล เค สแวเร่อร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านพระพุทธศาสนาเถรวาท เป็นผู้นำชม พ.ศ. ๒๕๕๓ ได้รับอาราธนาจากสังฆะแห่งหมู่บ้านพลัม เมืองบอร์กโดซ์ ประเทศฝรั่งเศส ให้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับท่านติช นัท ฮันห์ ผู้นำทางจิตวิญญาณสายเซน เป็นเวลา ๓ สัปดาห์ พ.ศ. ๒๕๕๓ - ๒๕๕๖ ปาฐกถาธรรมและนำภาวนากลุ่มประเทศในภาคพื้นยุโรปและสแกนดิเนเวีย (ประเทศสวิตเซอร์แลนด์,เยอรมนี,สเปน,เนเธอร์แลนด์,โมนาโก,เดนมาร์ก, ฝรั่งเศส,เบลเยี่ยม,ฟินแลนด์,สหราชอาณาจักร,สวีเดน,นอร์เวย์,สาธารณรัฐเชค,โปรตุเกส, นครรัฐวาติกัน, อิตาลี) พ.ศ. ๒๕๕๖ ปาฐกถาธรรมและนำภาวนาประเทศสหรัฐอเมริกา (รัฐแคลิฟอร์เนีย, นิวยอร์ก, วอชิงตัน ดีซี, ชิคาโก, บอสตัน)
พ.ศ. ๒๕๕๖ * ได้รับอาราธนาจากมูลนิธิหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ ให้เข้าร่วมงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างลัทธนิกายเถรวาท อาจริยวาท “หนึ่งจุดหมาย หลากหลายหนทาง” กับองค์ดาไล ลามะ ผู้นำทางจิตวิญญาณของทิเบต เป็นเวลา ๒ วัน ณ กรุงนิวเดลี * องค์การ UNESCO สำนักงานใหญ่กรุงปารีส อาราธนาให้เป็นผู้แสดงปาฐกถาธรรมในโอกาสงานเฉลิมฉลองวันวิสาขบูชาโลก ประจำปี ๒๕๕๖ พร้อมทั้งนำเสนอนิทรรศการการเผยแผ่พระพุทธศาสนาด้วยธรรมนิพนธ์แก่นานาชาติ
พ.ศ. ๒๕๕๓ * ได้รับเชิญจากองค์กร “โฟโคลาเร เพื่อความเข้าใจอันดีระหว่างศาสนา” ให้เข้าร่วมประชุมสัมมนาเชิงวิชาการและดูงาน ณ ประเทศอิตาลี * ได้รับเชิญจากโครงการสังฆเมตตา โดยการสนับสนุนขององค์กร UNICEF ให้เข้าร่วมประชุมและเป็นองค์ปาฐก เรื่อง “พุทธธรรมกับการแก้ปัญหาสังคม” ณ ประเทศกัมพูชา * ได้รับเชิญจากองค์การ UNICEF เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางศาสนาและนำภาวนา ณ ประเทศภูฏาน * เป็นผู้ริเริ่มเผยแผ่ธรรมะนวัตกรรมผ่าน Facebook, Twitter อันเป็นการเปิดมิติใหม่ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา โดยใช้เทคโนโลยีแห่งยุคข้อมูลข่าวสารในการประยุกต์พุทธธรรมสำหรับคนรุ่นใหม่ พ.ศ. ๒๕๕๒ * เป็นอนุกรรมการทูตสันติภาพฝ่ายศาสนสัมพันธ์ โครงการทูตสันติภาพ (Ambassador for Peace) ของสหพันธ์นานาชาติและศาสนาเพื่อสันติภาพโลก (ประเทศไทย) สหพันธ์สันติภาพสากล
ผลงานการเผยแผ่พระพุทธศาสนา[แก้]
เป็นคอลัมนิสต์เขียนบทความธรรมะประยุกต์ในหนังสือพิมพ์ นิตยสาร รายเดือน รายสัปดาห์ รายปักษ์ และรายวัน ดังต่อไปนี้
หนังสือพิมพ์ - เนชั่นสุดสัปดาห์ - มติชนสุดสัปดาห์ - ประชาชาติธุรกิจ - กรุงเทพธุรกิจ - โพสต์ทูเดย์ - คมชัดลึก - เดลินิวส์ - THE NATION - ฯลฯ
นิตยสาร - SECRET - REAL PARENTING - WHO - แพรว - WE - HEALTH & CIUSINE - แม่และเด็ก - WISDOM - กุลสตรี - ALL MAGAZINE - ชีวิตต้องสู้ - แก้จน - HUNT MAGAZINE - ชีวจิต - ฯลฯ
วิทยากรประจำและวิทยากรพิเศษรายการโทรทัศน์ - รายการตีท้ายครัว ช่อง ๓ - รายการทูไนท์ โชว์ ช่อง ๓ - รายการหมุนตามโลก ช่อง ๕ - รายการกล้าคิดกล้าทำ ช่อง ๕ - รายการเรื่องของเรื่อง ช่อง ๕ - รายการกรรมลิขิต ช่อง ๕ - รายการเจาะใจ ช่อง ๕ - รายการเมืองไทยวาไรตี้ ช่อง ๕ - รายการเจาะใจ ช่อง ๕ - รายการสยามทูเดย์ ช่อง ๕ - รายการที่นี่หมอชิต ช่อง ๗ - รายการเช้านี้ที่หมอชิต ช่อง ๗ - รายการ Club 7 ช่อง ๗ - รายการธรรมะวันอาทิตย์ ช่อง ๗ - รายการมอง CEO โลก ช่อง ๙ - รายการสุริวิภา ช่อง ๙ - รายการ VIP ช่อง ๙ - รายการเช้าดูวู้ดดี้ ช่อง ๙ - รายการตาสว่าง ๙ - รายการธรรมส่องทาง สทท. ๑๑ - รายการมหัศจรรย์แห่งปัญญา สทท. ๑๑ - รายการหลงกรุง ช่อง Thai PBS - รายการนิทานแผ่นดิน ช่อง Thai PBS - รายการเปิดโลกการอ่าน ช่อง Thai PBS - รายการพุทธประทีป สถานีโทรทัศน์โลกพระพุทธศาสนาเฉลิมพระเกียรติ (WBTV) - รายการรอยธรรม ASTV - รายการธรรมาภิวัฒน์ ASTV - รายการนาทีธรรม นาทีทอง ช่อง TGN - ฯลฯ
วิทยากรพิเศษทางรายการวิทยุ - รายการ “การเดินทางของความคิด” FM ๙๖.๕ - รายการครอบครัวข่าว FM ๑๐๖.๐ - รายการเพื่อนเยาวชน สถานีวิทยุกองทัพบก FM ๘๙.๐ และ FM ๙๑.๕ - รายการใต้ร่มธงไทย สถานีวิทยุกองทัพบก FM ๘๙.๐ และ FM ๙๑.๕ - รายการคืนพิเศษ คนพิเศษ FM ๑๐๖.๕
ผลงานธรรมะนิพนธ์ที่นำไปประยุกต์เป็นผลงานโทรทัศน์ - รายการชุมชนนิมนต์ยิ้ม ช่อง ๓ - รายการธรรมะติดปีก (วันนักขัตฤกษ์) ช่อง Thai PBS - ละครโทรทัศน์ เรื่อง “ธรรมะติดปีก” ช่อง ๓ - รายการดนตรีกวีศิลป์ ตอน พบกวีพบธรรม ช่อง Thai PBS - รายการดนตรีกวีศิลป์ ตอน กวีนิพนธ์ดลธรรม ช่อง Thai PBS
ผลงานการประพันธ์[แก้]
ธรรมนิพนธ์ภาษาไทย[แก้]
|
|
ผลงานที่ได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษ[แก้]
แปลโดยนพมาศ แววหงส์
- Anger Management (ธรรมะหลับสบาย)
- Looking Death in the Eye (สบตากับความตาย)
- Love Management (ธรรมะทอรัก)
- Mind Management (ธรรมะสบายใจ)
- Happiness is Here and Now (โมงยามแห่งความสุข)
- Nibbana in Daily Life (นิพพานระหว่างวัน)
- Dharma at Dawn (ธรรมะรับอรุณ)
- Dharma at Night (ธรรมะราตรี)
- Miracle of Sufferings (ความทุกข์มาโปรด ความสุขโปรยปราย)
ผลงานที่ได้รับการแปลเป็นภาษาเกาหลี[แก้]
ผลงานธรรมะนิพนธ์ภาคภาษาเกาหลี โดยเรียบเรียงเนื้อหาใหม่จากธรรมะนิพนธ์ ๔ เรื่อง ได้แก่ ธรรมะหลับสบาย ธรรมะทอรัก ธรรมะสบายใจ และสบตากับความตาย
ผลงานที่ได้รับการแปลเป็นภาษาญี่ปุ่น[แก้]
ผลงานธรรมะนิพนธ์ เรื่อง ธรรมะหลับสบาย
ผลงานที่ได้รับการแปลเป็นภาษาสเปน[แก้]
ผลงานธรรมะนิพนธ์ เรื่อง ธรรมะหลับสบาย สบตากับความตาย และธรรมะทอรัก
ผลงานที่ได้รับการแปลเป็นภาษาจีน[แก้]
ผลงานธรรมะนิพนธ์ เรื่อง ธรรมะหลับสบาย
ผลงานที่ได้รับการแปลเป็นภาษาอินโดนีเซีย[แก้]
ผลงานธรรมะนิพนธ์ เรื่อง ธรรมะสบายใจ และนิพพานระหว่างวัน
ผลงานโฆษณา[แก้]
รถอีซูซุ โดย บริษัท อีซูซุ มอเตอร์ จำกัด
คำสอนที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์[แก้]
- ฆ่าเวลาบาปไม่น้อยกว่าการฆ่าคน (คนที่เข้าใจผิดๆจะเปลี่ยนความหมายเป็น "ฆ่าเวลาบาปยิ่งกว่าการฆ่าคน" โดนพวกที่ไม่ชอบบิดเบียดไป ทำให้เป็นกลายประเด็นในข่าว)[5]
- คนสมัยก่อนเหาะได้ อย่างมงายในวิทยาศาสตร์[6]
- เงินงอกงาม เพื่อธรรมงอกเงย[7][8]
- อร่อยจนลืมกลับวัด[9]
จุดเริ่มต้นของ"ธรรมะอินเทรนด์"[แก้]
ในปี พ.ศ. 2547ท่าน ว.วชิรเมธีได้ออกหนังสือธรรมะติดปีกมาสู่สายตาประชาชนแล้วปรากฏว่า ได้รับความนิยมมาก จึงได้มีผลงานทางธรรมะออกมาอีก 2 เล่มคือ ธรรมะหลับสบายและธรรมะดับร้อน'ซึ่งทั้งหมด ล้วนได้รับความนิยมเป็ยอย่างสูง จากกระแสความนิยมของหนังสือทั้ง 3 เล่ม จึงทำให้ช่อง 3นำเนื้อหาจากธรรมะติดปีกมาสร้างเป็นละครโทรทัศน์ จากจุดนี้เองทำให้เกิดกระแสที่ธรรมะกลับมานิยมกันอีกครั้งโดยส่วนมากเรียกว่าธรรมะอินเทรนด์ หรือ ธรรมะติดปีก
แผนที่เดินทางมายังศูนย์วิปัสสนาสากลไร่เชิญตะวัน[แก้]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ คู่มือการคัดเลือกผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา ประจำปี 2551
- ↑ จาก คมชัดลึกออนไลน์ วันที่ 3 ธันวาคม 2556
- ↑ โครงการธุดงค์ธรรมชัย ปีที่ 3
- ↑ ชีวประวัติ จากเว็บไซต์ ไร่เชิญตะวัน
- ↑ ฆ่าเวลาบาปยิ่งกว่าการฆ่าคน
- ↑ ว.วชิรเมธี "อย่างมงายในวิทยาศาสตร์"
- ↑ พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี "เงินงอกงาม เพื่อธรรมงอกเงย"
- ↑ http://www.dhammatoday.com/index.php?option=com_content&view=article&id=1402%3A2012-03-23-13-26-34&catid=102%3A2009-09-16-06-30-24&Itemid=98&lang=th
- ↑ "วิจารณ์ว่อนเนต ว.วชิรเมธี “อร่อยจนลืมกลับวัด”". MThai. 2555-12-26. สืบค้นเมื่อ 2556-01-06.
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2516
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากจังหวัดเชียงราย
- พุทธศาสนิกชนชาวไทย
- ภิกษุชาวไทย
- พระภิกษุในนิกายเถรวาท (มหานิกาย)
- บุคคลจากสาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
- บุคคลจากบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
- บุคคลจากคณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
- ผู้ได้รับพระราชทานรางวัลเสาเสมาธรรมจักร
- ผู้ได้รับรางวัลพุทธคุณูปการ
- เปรียญธรรม 9 ประโยค