เมทแอมเฟตามีน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Methamphetamine)
เมทแอมเฟตามีน
INN: Methamphetamine
An image of the methamphetamine compound
Ball-and-stick model of the methamphetamine molecule
ข้อมูลทางคลินิก
การอ่านออกเสียง/ˌmɛθæmˈfɛtəmn/
ชื่อทางการค้าDesoxyn
ชื่ออื่นN-methylamphetamine, N,α-dimethylphenethylamine, desoxyephedrine
AHFS/Drugs.comโมโนกราฟ
ข้อมูลทะเบียนยา
ระดับความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์
  • US: C (ยังไม่ชี้ขาด)
Dependence
liability
ทางกาย: ไม่
ทางจิต: สูง
Addiction
liability
สูง
ช่องทางการรับยาทางการแพทย์: ปาก (การกิน), ทางหลอดเลือดดำ[1]
สันทนาการ: ปาก, ทางหลอดเลือดดำ, การฉีดเข้ากล้ามเนื้อ, การฉีดเข้าชั้นใต้ผิวหนัง, สูดดมควัน, การพ่นยา, สอดทวาร, สอดช่องคลอด
รหัส ATC
กฏหมาย
สถานะตามกฏหมาย
ข้อมูลเภสัชจลนศาสตร์
ชีวประสิทธิผลทางปาก: 70%[4]
IV: 100%[4]
การจับกับโปรตีนผันแปรอย่างมาก[5]
การเปลี่ยนแปลงยาCYP2D6[2] และ FMO3[3]
ระยะเริ่มออกฤทธิ์รวดเร็ว[6]
ครึ่งชีวิตทางชีวภาพ5–30 ชั่วโมง[7]
ระยะเวลาออกฤทธิ์10–20 ชั่วโมง[6]
การขับออกหลักโดยทางทวารหนัก
ตัวบ่งชี้
  • (RS)-N-methyl-1-phenylpropan-2-amine
เลขทะเบียน CAS
PubChem CID
IUPHAR/BPS
DrugBank
ChemSpider
UNII
KEGG
ChEBI
ChEMBL
PDB ligand
ECHA InfoCard100.007.882
ข้อมูลทางกายภาพและเคมี
สูตรC10H15N
มวลต่อโมล149.237 g·mol−1
แบบจำลอง 3D (JSmol)
ไครัลลิตีRacemic mixture
จุดหลอมเหลว3 องศาเซลเซียส (37 องศาฟาเรนไฮต์) (predicted)[8]
จุดเดือด212 องศาเซลเซียส (414 องศาฟาเรนไฮต์) ที่ 760 mmHg[9]
  • N(C(Cc1ccccc1)C)C
  • InChI=1S/C10H15N/c1-9(11-2)8-10-6-4-3-5-7-10/h3-7,9,11H,8H2,1-2H3 checkY
  • Key:MYWUZJCMWCOHBA-UHFFFAOYSA-N checkY
  (verify)
สารานุกรมเภสัชกรรม

เมแทมเฟตามีน (Methamphetamine) หรือชื่อในระบบ IUPAC คือ เอ็น-เมทิลแอมฟีตะมีน เป็นสารกระตุ้นหนักระบบประสาทส่วนกลาง ส่วนมากถูกใช้เป็นสารเสพติดและถูกใช้บ้างในการรักษาโรคซนสมาธิสั้นและโรคอ้วน เมแทมเฟตามีนถูกค้นพบโดยนักเคมีชาวญี่ปุ่น นาไง นางาโยชิ (長井 長義) ในปี ค.ศ. 1893 และมีอยู่สองอีแนนซิโอเมอร์ ประกอบด้วย: เดกซ์โตรเมแทมเฟตามีน (dextromethamphetamine, (D)-methamphetamine) ซึ่งมีฤทธิ์รุนแรงกว่าและ เลโวเมแทมเฟตามีน (levo-methamphetamine, (L)-methamphetamine) โดย (D)-methamphetamine มีพิษต่อระบบประสาทของมนุษย์และสามารถถูกใช้เป็นสารเสพติดประเภทกระตุ้นความต้องการทางเพศและมัวเมา และจัดเป็นสารเสพติด ในขณะเดียวกัน (L)-methamphetamine มีผลต่อระบบประสาทต่ำกว่า และถูกใช้เป็นยาหดหลอดเลือดชนิดพ่นจมูก (nasal decongestant)ได้

อย่างไรก็ตามก็มียาชนิดอื่นที่ปลอดภัยกว่าและมีประสิทธิผลทัดเทียมกัน จึงไม่มีการใช้ (L)-metamphetamine ในการรักษาอาการคัดจมูกโดยแพทย์แล้วในปัจจุบัน

ปัจจุบัน การค้าและครอบครองทั้งเมแทมเฟตามีนและเดกซ์โตรเมแทมเฟตามีนเพื่อการเสพถือว่าผิดกฎหมาย การใช้เมแทมเฟตามีนอย่างผิดกฎหมายพบได้มากที่สุดในเอเชีย, โอเชียเนียและในสหรัฐอเมริกา ซึ่งในสหรัฐ ทั้งเมแทมเฟตามีน, เดกซ์โตรเมแทมเฟตามีน และเลโวเมแทมเฟตามีนถูกจัดอยู่ในบัญชีที่สอง ประเภทสารควบคุม โดยเลโวเมแทมเฟตามีนเป็นยาจำหน่ายหน้าเคาน์เตอร์สำหรับใช้เป็นยาลดอาการคัดจมูกในสหรัฐ แต่โดยสากลแล้ว การผลิต จำหน่ายและครอบครองเมแทมเฟตามีนนั้นถูกควบคุมหรือต้องห้ามในประเทศส่วนใหญ่ เนื่องจากเป็นสารที่อยู่ในบัญชีที่สองของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยสารที่มีผลต่อจิตใจ

การที่ร่างกายได้รับเมแทมเฟตามีนมากเกินไป อาจส่งผลกระทบให้เกิดหลายอาการ[7][10] การได้รับมากเกินในระดับปานกลางอาจทำให้มีอาการชีพจรผิดปกติ, สับสนงุนงง, ถ่ายปัสสาวะลำบากหรือเจ็บ, ความดันโลหิตสูงหรือต่ำ, อุณหภูมิร่างกายสูง, ตื่นตัวและตอบสนองมากเกิน, ปวดกล้ามเนื้อ, กระสับกระส่าย, หายใจเร็ว, ชะงักหลั่งปัสสาวะ และปัสสาวะปลอดยูรีน[7][11] การได้รับมากเกินในระดับสูง อาจก่อให้เกิดอาการอื่นเพิ่มเติม คือ อาการกำเริบรุนแรง, ไตวาย, กล้ามเนื้อลายละลาย, เซอโรโทนินซินโดรม และ เคลื่อนไหวซ้ำ ๆ และยังอาจทำลายสมองได้อีกด้วย

อ้างอิง[แก้]

  1. United States Congress Senate Committee on the Judiciary Subcommittee to Investigate Juvenile Delinquincy (1 มกราคม 1972). Amphetamine legislation 1971: Hearings, Ninety-second Congress, first session, pursuant to S. Res. 32, section 12, investigation of juvenile delinquency in the United States (PDF). U.S. Govt. Print. Off. p. 161. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 6 พฤษภาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 1 มกราคม 2016. We made a decision in January of 1969 to cease the manufacture of injectable methamphetamines.
  2. "Adderall XR Prescribing Information" (PDF). United States Food and Drug Administration. ธันวาคม 2013. pp. 12–13. สืบค้นเมื่อ 30 ธันวาคม 2013.
  3. Krueger SK, Williams DE (มิถุนายน 2005). "Mammalian flavin-containing monooxygenases: structure/function, genetic polymorphisms and role in drug metabolism". Pharmacol. Ther. 106 (3): 357–387. doi:10.1016/j.pharmthera.2005.01.001. PMC 1828602. PMID 15922018.
  4. 4.0 4.1 Rau T, Ziemniak J, Poulsen D (2015). "The neuroprotective potential of low-dose methamphetamine in preclinical models of stroke and traumatic brain injury". Prog. Neuropsychopharmacol. Biol. Psychiatry. 64: 231–6. doi:10.1016/j.pnpbp.2015.02.013. PMID 25724762. In humans, the oral bioavailability of methamphetamine is approximately 70% but increases to 100% following intravenous (IV) delivery (Ares-Santos et al., 2013).
  5. "Toxicity". Methamphetamine. PubChem Compound. National Center for Biotechnology Information. สืบค้นเมื่อ 31 ธันวาคม 2013.
  6. 6.0 6.1 Riviello, Ralph J. (2010). Manual of forensic emergency medicine : a guide for clinicians. Sudbury, Mass.: Jones and Bartlett Publishers. p. 41. ISBN 9780763744625.
  7. 7.0 7.1 7.2 Schep LJ, Slaughter RJ, Beasley DM (สิงหาคม 2010). "The clinical toxicology of metamfetamine". Clinical Toxicology (Philadelphia, Pa.). 48 (7): 675–694. doi:10.3109/15563650.2010.516752. ISSN 1556-3650. PMID 20849327.
  8. "Properties: Predicted – EP|Suite". Methmphetamine. Chemspider. สืบค้นเมื่อ 3 มกราคม 2013.
  9. "Chemical and Physical Properties". Methamphetamine. PubChem Compound. National Center for Biotechnology Information. สืบค้นเมื่อ 31 ธันวาคม 2013.
  10. "Desoxyn Prescribing Information" (PDF). United States Food and Drug Administration. ธันวาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 6 มกราคม 2014.
  11. Westfall DP, Westfall TC (2010). "Miscellaneous Sympathomimetic Agonists". ใน Brunton LL, Chabner BA, Knollmann BC (บ.ก.). Goodman & Gilman's Pharmacological Basis of Therapeutics (12th ed.). New York: McGraw-Hill. ISBN 978-0-07-162442-8. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2013. สืบค้นเมื่อ 3 กรกฎาคม 2016.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]