ริมฝั่งแม่น้ำแซนในปารีส
ปารีส ริมฝั่งแม่น้ำแซน * | |
---|---|
![]() | |
![]() แม่น้ำแซนจากหอไอเฟล | |
ประเทศ | ปารีส![]() |
ประเภท | มรดกทางวัฒนธรรม |
เกณฑ์พิจารณา | (i) (ii) (iv) |
ประวัติการขึ้นทะเบียน | |
ขึ้นทะเบียน | 2534 (คณะกรรมการสมัยที่ 15) |
เพิ่มเติม | 2567 |
พื้นที่ | 531 ha |
พื้นที่กันชน | 3194 ha |
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก ** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก |
ริมฝั่งแม่น้ำแซนในปารีส (ฝรั่งเศส: rives de la Seine à Paris) คือบริเวณพื้นที่ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ. 2534 ประกอบด้วยสะพาน ที่จอดเรือ เกาะในแม่น้ำ (อีลเดอลาซีเตและอีลแซ็ง-ลูย) อาคารและสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ จำนวนมากตั้งแต่สะพานปงเดอซูว์ลีถึงปงดีเยนา รวมความยาวของแม่น้ำแซนกว่า 8 กิโลเมตร[1]
พื้นที่ดังกล่าวเป็นสถานที่จัดพิธีเปิดโอลิมปิกฤดูร้อน 2024
สถานที่สำคัญที่ขึ้นทะเบียน
[แก้]
ฝั่งซ้ายของแม่น้ำ (ทิศใต้)
[แก้]หอสมุดแห่งชาติฝรั่งเศส, ซีเตเดอลามอเดดูว์ดีซายน์, การ์โดสแตร์ลิตซ์, ฌาร์แด็งเดปล็องต์, วิทยาเขตฌูว์ซีเยอ, สถาบันโลกอาหรับ, ออแตลเดอลามอแน, สถาบันฝรั่งเศส, พิพิธภัณฑ์ออร์แซ, ปาแลบูร์บง, กระทรวงการต่างประเทศ, ออแตลเดแซ็งวาลีด, มูว์เซดูว์แกบร็องลี, หอไอเฟล, ฟรง-เดอ-แซน, สวนสาธารณะอ็องเดร ซีทรอแอน
ฝั่งขวาของแม่น้ำ (ทิศเหนือ)
[แก้]สวนสาธารณะแบร์ซี, Palais omnisports de Paris-Bercy, กระทรวงเศรษฐกิจและการคลัง, การ์เดอลียง, สถาบันนิติเวชศาสตร์, Préfecture de Paris, ออแตลเดอวีล, โรงละครสองแห่งที่ปลัสดูว์ชัตแล, ลาซามารีแตน, พระราชวังลูฟวร์, ฌาร์แด็งเดตุยเลอรี, ปลัสเดอลากงกอร์ด, เปอตีปาแล, กร็องปาแล, ปาแลเดอโตกีโย, ปาแลเดอชาโย, แมซงเดอลาราดีโย
อื่น ๆ
[แก้]- อีลเดอลาซีเต
- อีลแซ็ง-ลูย
- สะพานสำคัญ
เหตุผลที่ได้รับคัดเลือกเป็นมรดกโลก
[แก้]ริมฝั่งแม่น้ำแซนในปารีสขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 15 เมื่อปี พ.ศ. 2534 ที่ประเทศตูนิเซีย ด้วยข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณา ดังต่อไปนี้
- (i) - เป็นตัวแทนในการแสดงผลงานชิ้นเอกที่จัดทำขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันชาญฉลาดของมนุษย์
- (ii) - เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลยิ่ง ผลักดันให้เกิดการพัฒนาสืบต่อมาในด้านการออกแบบทางสถาปัตยกรรม อนุสรณ์สถาน ประติมากรรม สวน และภูมิทัศน์ ตลอดจนการพัฒนาศิลปกรรมที่เกี่ยวข้อง หรือการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือบนพื้นที่ใดๆ ของโลกซึ่งทรงไว้ซึ่งวัฒนธรรม
- (iv) - เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของประเภทของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนาทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ UNESCO. "Paris, Banks of the Seine, Brief synthesis". สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)