ข้ามไปเนื้อหา

โลกธรรม 8

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

โลกธรรม 8 หมายถึง ธรรมดาของโลก เรื่องของ ธรรมชาติของโลกที่ครอบงำสัตว์โลก และต้องเป็นไปตามนี้ โดยมี 8 ประการอันประกอบด้วย

โลกธรรมฝ่ายอิฏฐารมณ์ คือ พอใจของมนุษย์ เป็นที่รักเป็นที่ปรารถนา

  1. ลาภ หมายความว่า ได้ผลประโยชน์ ได้มาซึ่งทรัพย์
  2. ยศ หมายความว่า ได้รับฐานันดรสูงขึ้น ได้อำนาจเป็นใหญ่เป็นโต
  3. สรรเสริญ คือ ได้ยิน ได้ฟัง คำสรรเสริญคำชมเชย คำยกย่อง เป็นที่น่าพอใจ
  4. สุข คือ ได้ความสบายกาย สบายใจ ความเบิกบาน บันเทิงใจเริงใจ

โลกธรรมฝ่ายอนิฏฐารมณ์ คือ ความไม่พอใจของมนุษย์ ไม่เป็นที่ปรารถนา

  1. เสื่อมลาภ หมายความว่า เสียลาภไป ไม่อาจดำรงอยู่ได้
  2. เสื่อมยศ หมายถึง ถูกลดอำนาจความเป็นใหญ่
  3. นินทาว่าร้าย หมายถึง ถูกตำหนิติเตียนว่าไม่ดี ถูกติฉินนินทา หรือถูกกล่าวร้ายให้เสียหาย
  4. ทุกข์ คือ ได้รับความทุกขเวทนา ทรมานกาย ทรมานใจ[1]

คำจำกัดความ

[แก้]

โลกธรรม 8 แบบธรรมจักรกัปปะวัตตะนะสูตรตัง คือ อริยะธรรม แก่นธรรมแห่งอริยะ สิ่งที่เกิดขึ้นแต่เก่าก่อนมีอยู่เดิมแต่หลังแล้วในโลก

โลกธรรม 8 คือ แปดข้ออันเป็นอุปนิสัยอาการอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดของมนุษย์ที่มีอยู่ มีตั้งต้นจากหนึ่ง และแปรเปลี่ยนตามกันไป ขึ้นอยู่กับเหตุการณ์ในขณะนั้น อันอุปนิสัยสันดารของมนุษย์ มีตั้งอยู่ในความรู้สึกนั่นเองว่าอาการอันมีแรกเริ่ม ก่อนและตาม ติดต่อกันมาจาก 1-8 โดยอาการแรกเริ่มที่ 1 คือ ตั้งต้นของอาการต่อ ๆ ไป วกวนสับกันไปมาในอาการต่าง ๆ และวนมายังอาการแรกมีดังนี้

  • รัก อาการที่สัตว์โลกมีแรกเริ่มความรู้สึกแรก
  • โลภ อยากได้ไม่รู้พออยากมีไว้ครอบครองเพียงแค่ตนเองเท่านั้น
  • โกรธ ความไม่พึงใจ ในสิ่งอื่น
  • หลง ความเข้าใจที่ไม่ถูก หักเห โลเล งมงาย
  • ลาภ ล้วนได้มาจากไม่รู้ แต่รู้แล้วยังพึงเอามาแก่ตน
  • ยศ ฐานันดรยกขึ้นมาว่าเหนือกว่าให้ผู้อื่นเกรงกลัว ในฐานันดรสูงกว่าไห้ผู้อื่นสักการะ หยิ่งยโสยกยอตนก็มีนั่นเอง
  • สรรเสริญ การถูกยกย่องโดยร่วมตามมาจากยศ สร้างให้มี ทั้งอีกหลาย ๆ อย่างมารวมเข้าด้วย
  • ติฉินนินทา
    • ติ คือ การว่ากล่าวในสิ่งที่ตนเองผู้อื่นกระทำแล้วดูไม่เหมาะไม่ควรเกิดความไม่พึงใจในสิ่งนั้น
    • ฉิน คือ การดูถูกเหยียดหยาม ว่าร้าย ไม่พึงใจกับการที่ตนมีนั้นว่าน้อยกว่า ด้วยอาการต่าง ๆ เช่นสายตา ปาก ใบหน้า (สะบัดหันหน้าไปทางอื่น) และทางวาจาการพูด
    • นินทา คือ การพูดคุยกันหลายคนและต่อ ๆ กันไปเรื่อย ๆ ในทุก ๆ ทางทุกอย่างทุกด้านของผู้อื่น และมีเพิ่มเติมลดลงบ้างในเรื่องนั้นที่พูดกัน

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค ทสุตตรสูตร ที่ ๑๑. พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์]. แหล่งข้อมูล : [1]. เข้าถึงเมื่อ 25-10-52