แมกกี สมิธ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

แมกกี สมิธ

Smith in a heavy coat
สมิธ ป. 1970
เกิดมาร์กาเรต นาตาลี สมิธ
(1934-12-28) 28 ธันวาคม ค.ศ. 1934 (89 ปี)
อิลฟอร์ด เอสเซกซ์ อังกฤษ สหราชอาณาจักร
สัญชาติบริติช
อาชีพนักแสดง
ปีปฏิบัติงาน1952–ปัจจุบัน
คู่สมรสรอเบิร์ต สตีเฟนส์ (สมรส 1967; หย่า 1975)
เบเวอร์ลีย์ ครอส (สมรส 1975; เสียชีวิต 1998)
บุตรคริส ลาร์กิน
โทบี สตีเฟนส์

เดม มาร์กาเรต นาตาลี สมิธ, ซีเอช ดีบีอี (อังกฤษ: Dame Margaret Natalie Smith; เกิด 28 ธันวาคม ค.ศ. 1934) เป็นนักแสดงชาวอังกฤษ มีผลงานการแสดงทั้งในภาพยนตร์ ละครโทรทัศน์ และละครเวที นับตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1950 สมิธปรากฏอยู่ในภาพยนตร์กว่า 60 เรื่อง และละครเวทีอีก 70 เรื่อง เป็นทั้งเจ้าของรางวัลออสการ์สองครั้ง รางวัลโทนีหนึ่งครั้ง และรางวัลไพรม์ไทม์เอมมีอีกสี่ครั้ง (ทำให้เธอเป็นนักแสดงเพียงไม่กี่คนที่ได้รับ "สามมงกุฎแห่งการแสดง") นอกเหนือจากการได้รับรางวัลแบฟตาเจ็ดครั้ง รางวัลลูกโลกทองคำสามครั้ง และรางวัลสมาคมนักแสดงภาพยนตร์และโทรทัศน์อีกห้าครั้ง เธอยังเป็นหนึ่งในนักแสดงที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดของสหราชอาณาจักร โดยได้รับพระราชทานฐานันดรศักดิ์ให้มีคำนำหน้านามว่า เดม และได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จักรวรรดิบริติชจากสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ในปี 1990[1]

สมิธเริ่มการแสดงบนละครเวทีในปี 1952 ที่โรงละครออกซฟอร์ด และเริ่มแสดงละครบรอดเวย์เรื่องแรกใน New Faces of '56 ตลอดอาชีพการแสดงบนเวทีในลอนดอน เธอได้รับรางวัลอีฟนิงสแตนดาร์ดเธียเตอร์อะวอดส์ สาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยมหกครั้ง ซึ่งมากกว่านักแสดงหญิงใด ๆ จากผลงานเรื่อง The Private Ear, The Public Eye (1962), Hedda Gabler (1970), Virginia (1981), The Way of the World (1984), Three Tall Women (1994) และ A German Life (2019) รวมถึงถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลโทนีจาก Private Lives (1975) และ Night and Day (1979) ก่อนจะชนะในปี 1990 สาขานักแสดงนำหญิงจาก Lettice and Lovage

บนจอเงิน สมิธได้แสดงในภาพยนตร์อาชญากรรมเรื่อง Nowhere to Go (1958) ซึ่งทำให้เธอได้เข้าชิงรางวัลแบฟตาเป็นครั้งแรก[2] เธอยังชนะรางวัลออสการ์ถึงสองครั้ง ในสาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยมจากเรื่อง The Prime of Miss Jean Brodie (1969) และนักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยมจากเรื่อง California Suite (1978)[3] ทำให้สมิธเป็นหนึ่งในเจ็ดนักแสดงหญิงที่ได้รับรางวัลทั้งสองสาขา เธอยังได้รับรางวัลแบฟตาสี่ครั้ง รางวัลลูกโลกทองคำสามครั้ง และเข้าชิงรางวัลออสการ์อีกสี่ครั้งจากภาพยนตร์เรื่อง โอเทลโล (1965), Travels with My Aunt (1972), จูบครั้งนั้น...ฉันฝันถึงเธอ (1986) และ รอยสังหารซ่อนสื่อมรณะ (2001)[4]

สมิธแสดงเป็นศาสตราจารย์มิเนอร์ว่า มักกอนนากัลในภาพยนตร์ชุด แฮร์รี่ พอตเตอร์ (2001–2011) รวมถึง Love and Pain and the Whole Damn Thing (1973), ฆาตกรรมบนแม่น้ำไนล์ (1978), ศึกพิภพมหัศจรรย์ (1981), ปีศาจใต้ดวงอาทิตย์ (1982), ฮุค อภินิหารนิรแดน (1991), Sister Act (1992), Sister Act 2: Back in the Habit (1993), The Secret Garden (1993), โรงแรมสวรรค์ อัศจรรย์หัวใจ (2012) และ คุณป้ารถแวน (2015) สมิธได้รับรางวัลเอ็มมีในปี 2003 จากเรื่อง My House in Umbria กลายเป็นนักแสดงหญิงเพียงไม่กี่คนที่ชนะรางวัลจากเวทีสำคัญของวงการฮอลลีวูด[5][6] สมิธยังแสดงเป็นไวโอเลต ครอว์ลีย์ เคาน์เตสแห่งแกรนแธมในละครชุด ดาวน์ตันแอบบีย์ (2010–2015)

อ้างอิง[แก้]

  1. Spears, W. (30 December 1989). "Queen Honors Naipaul, Maggie Smith". The Philadelphia Inquirer. สืบค้นเมื่อ 1 January 2014.
  2. "Film in 1959". British Academy of Film and Television Arts. สืบค้นเมื่อ 1 January 2014.
  3. "Academy Awards Best Actress". Filmsite.org. สืบค้นเมื่อ 7 August 2013.
  4. "Maggie Smith BAFTA Awards". British Academy of Film and Television Arts. สืบค้นเมื่อ 10 July 2019.
  5. "What do Al Pacino and Maggie Smith have in common?". Los Angeles Times. 9 July 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-27. สืบค้นเมื่อ 7 August 2013.
  6. Croggon, Alison (10 June 2009). "Jewel in the triple crown". News.com.au. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-08-14. สืบค้นเมื่อ 1 January 2014.

แหล่งข้อมุลอื่น[แก้]