สามมงกุฎแห่งการแสดง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สามมงกุฎแห่งการแสดง (อังกฤษ: Triple Crown of Acting) เป็นคำที่ใช้ในอุตสาหกรรมบันเทิงของอเมริกาเพื่ออธิบายถึงนักแสดงที่ชนะรางวัลออสการ์, เอมมี และโทนี ในสาขาการแสดง ซึ่งเป็นรางวัลสูงสุดที่ได้รับการยอมรับในวงการภาพยนตร์ โทรทัศน์ และละครเวทีของอเมริกาตามลำดับ[1] คำนี้ยังเกี่ยวข้องกับการแข่งขันอื่น ๆ เช่น สามมงกุฎของการแข่งม้า ปัจจุบันมีเพียง 24 คนเท่านั้นที่สามารถบรรลุการเป็นสามมงกุฎแห่งการแสดง แบ่งออกเป็น หญิง 15 คน ชาย 9 คน

เฮเลน เฮส์กลายเป็นนักแสดงคนแรกที่ได้รับรางวัลเอมมีเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1953 ไม่ถึงสองเดือนต่อมา ทอมัส มิตเชลล์ กลายเป็นชายคนแรกที่สามารถทำได้ เมื่อเขาได้รับรางวัลโทนีเมื่อวันที่ 29 มีนาคม ค.ศ. 1953 เฮส์, รีตา มอเรโน และไวโอลา เดวิส ยังเป็นผู้ชนะสามมงกุฎในประเภทการแสดงที่แข่งขันได้ และยังได้รับรางวัลแกรมมี สามารถบรรลุการเป็นอีก็อตได้อีกด้วย (เป็นชื่อรางวัลที่ย่อมาจากรางวัลเอมมี (Emmy), แกรมมี(Grammy), ออสการ์ (Oscar), และโทนี (Tony)

ผู้ชนะรางวัลสามมงกุฎแห่งการแสดงที่ยังมีชีวิตอยู่ ได้แก่ รีตา มอเรโน, เจเรมี ไอเอินส์, วาเนสซา เรดเกรฟ, แมกกี สมิธ, เฮเลน เมียร์เรน, อัล ปาชิโน, ฟรานเซส แม็คดอร์มานด์, เจสซิกา แลงจ์, เจฟฟรีย์ รัช, เอลเลน เบอร์สติน และไวโอลา เดวิส

อุตสาหกรรมบันเทิงของอังกฤษซึ่งมีความสัมพันธ์อันยาวนานกับอุตสาหกรรมของอเมริกันผ่านภาษาที่ใช้ร่วมกันและการผลิตข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกบ่อยครั้ง ก็มีรางวัลสามมงกุฎเป็นของตัวเองเช่นกัน ซึ่งประกอบด้วยรางวัลแบฟตาฟิล์ม, แบฟตาเทเลวิชัน และลอเรนซ์โอลิวีเอร์ นักแสดง 8 คนที่คว้าสามมงกุฎแห่งอังกฤษในสาขาการแสดงที่มีการแข่งขัน ได้แก่ จูดี เดนช์, เวอร์จิเนีย แมคเคนนา, เพ็กกี แอชครอฟต์, ไนเจล ฮอว์ธอร์น, อัลเบิร์ต ฟินนีย์, จูลี วอลเตอร์ส, เฮเลน เมียร์เรน และมาร์ก ไรแลนซ์ มีเพียงเฮเลน เมียร์เรนเท่านั้นที่ได้รับสามมงกุฎทั้งของอเมริกาและอังกฤษ

สรุป[แก้]

  • ปีในคอลัมน์มีรางวัลออสการ์ เอมมี และโทนี ระบุถึงปีที่นักแสดงได้รับรางวัลเป็นครั้งแรก
    • สำหรับรางวัลเอมมี และโทนี เป็นปีแห่งพิธีมอบรางวัล สำหรับออสการ์จะเป็นปีที่ภาพยนตร์ในเรื่องนั้นออกฉาย
  • คอลัมน์ชัยชนะทั้งหมดระบุจำนวนรวมของรางวัลออสการ์ เอมมี และโทนี
นักแสดง เสร็จสมบูรณ์ ปีที่
เสร็จสมบูรณ์
ออสการ์ เอมมี โทนี รวมชนะ
ทั้งหมด
อ้างอิง
เฮเลน เฮส์ 1953 21 1932 1953 1947 5
ทอมัส มิตเชลล์ 1953 13 1940 1953 1953 3 [2]
อิงกริด เบิร์กแมน 1960 15 1945 1960 1947 6
เชอร์ลีย์ บูท 1962 13 1953 1962 1949 6
เมลวิน ดักลาส 1968 8 1964 1968 1960 4
พอล สโกฟีลด์ 1969 7 1967 1969 1962 3
แจ็ก อัลเบิร์ตสัน 1975 10 1969 1975 1965 4
รีตา มอเรโน 1977 15 1962 1977 1975 4
มอรีน สเตเปิลตัน 1981 31 1982 1968 1951 4
เจสัน โรบาร์ดส์ 1988 29 1977 1988 1959 4
เจสซิกา แทนดี้ 1989 42 1990 1988 1948 5 [3]
เจเรมี ไอเอินส์ 1997 13 1991 1997 1984 4 [4]
แอนน์ แบนครอฟต์ 1999 41 1963 1999 1958 4 [5]
วาเนสซา เรดเกรฟ 2003 25 1978 1981 2003 4 [6]
แมกกี สมิธ 2003 33 1970 2003 1990 7 [7]
อัล ปาชิโน 2004 35 1993 2004 1969 5 [8]
เจฟฟรีย์ รัช 2009 12 1997 2005 2009 3 [9]
เอลเลน เบอร์สติน 2009 34 1975 2009 1975 4 [10]
คริสโตเฟอร์ พลัมเมอร์ 2011 38 2012 1977 1974 5 [11]
เฮเลน เมียร์เรน 2015 19 2007 1996 2015 6 [12]
ฟรานเซส แม็คดอร์มานด์ 2015 18 1997 2015 2011 5 [13]
เจสซิกา แลงจ์ 2016 33 1983 2009 2016 6 [14]
ไวโอลา เดวิส 2016 16 2017 2015 2001 4 [15]
เกลนดา แจ็กสัน 2018 47 1971 1972 2018 6 [16]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Viola Davis Becomes First Black Woman to Win an Oscar, Emmy and Tony for Acting". 27 February 2017.
  2. "Thomas Mitchell". Movies & TV Dept. The New York Times. 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 1, 2015. สืบค้นเมื่อ February 4, 2016.
  3. Clark, Kenneth R. (December 9, 1991). "Jessica Tandy feels comfortable in the role of 'The Story Lady'". The Baltimore Sun. Chicago Tribune. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 8, 2016. สืบค้นเมื่อ August 14, 2020.
  4. "Actor Jeremy Irons". Tavis Smiley. September 7, 2012. PBS. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 3, 2016. สืบค้นเมื่อ August 14, 2020.
  5. "Anne Bancroft obituary". The Scotsman. Edinburgh. June 5, 2005. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 4, 2016. สืบค้นเมื่อ August 14, 2020.
  6. "Vanessa Redgrave". Encyclopædia Britannica. November 14, 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 5, 2016. สืบค้นเมื่อ August 14, 2020.
  7. "Dame Maggie Smith". Encyclopædia Britannica. March 5, 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 31, 2015. สืบค้นเมื่อ February 4, 2016.
  8. "Tour dates". An Evening with Pacino. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 21, 2016. สืบค้นเมื่อ February 4, 2016.
  9. "Geoffrey Rush is named Australian of the year". BBC News. 25 January 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-23. สืบค้นเมื่อ December 31, 2015.
  10. "The inside track on Oscars, Emmys, Grammys and All the Award Shows". Los Angeles Times. September 13, 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 6, 2016. สืบค้นเมื่อ December 28, 2015.
  11. White, Carly (July 7, 2014). "The Triple Crown at the Tonys". New York Show Tickets. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 7, 2016. สืบค้นเมื่อ August 14, 2020.
  12. Brenoff, Ann (July 25, 2015). "7 reasons to love Helen Mirren on her 70th birthday". Huffington Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 23, 2015. สืบค้นเมื่อ August 14, 2020.
  13. "Frances McDormand". Breaking News. January 25, 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 22, 2015. สืบค้นเมื่อ December 18, 2015.
  14. Sheehan, Paul; Robert Pius (July 3, 2017). "Jessica Lange:Emmy win would tie her for first among triple crown acting champs". Gold Derby. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 12, 2018. สืบค้นเมื่อ June 12, 2018.
  15. Levine, Nick (February 27, 2017). "Viola Davis makes history by winning the "triple crown of acting"". NME. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 27, 2017. สืบค้นเมื่อ February 27, 2017.
  16. Lambe, Stacy (June 10, 2018). "Glenda Jackson wins Triple Crown of Acting". Entertainment Tonight. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 11, 2018. สืบค้นเมื่อ June 12, 2018.