เชลลีย์ วินเตอส์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เชลลีย์ วินเตอส์
วินเตอส์เมื่อปี 1951
เกิดเชอร์ลีย์ ชริฟต์
18 สิงหาคม ค.ศ. 1920(1920-08-18)
เซนต์หลุยส์ รัฐมิสซูรี สหรัฐ
เสียชีวิต14 มกราคม ค.ศ. 2006(2006-01-14) (85 ปี)
เบเวอร์ลีฮิลส์ รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐ
สุสานสุสานฮิลล์ไซด์เมโมเรียลพาร์ก
สัญชาติอเมริกัน
ศิษย์เก่าเดอะนิวสคูล
อาชีพนักแสดง
ปีปฏิบัติงาน1936–2006
พรรคการเมืองเดโมแครต
คู่สมรส
บุตร1 คน

เชลลีย์ วินเตอส์ (อังกฤษ: Shelley Winters; 18 สิงหาคม ค.ศ. 1920 – 14 มกราคม ค.ศ. 2006) เป็นนักแสดงชาวอเมริกันที่มีช่วงอาชีพยาวนานกว่าเจ็ดทศวรรษ ตั้งแต่ปี 1936 ถึง 2006 เธอปรากฏอยู่ในภาพยนตร์กว่า 121 เรื่อง เธอได้รับรางวัลออสการ์สำหรับการแสดงในเรื่อง เดอะไดอารีออฟอันเนอฟรังค์ (1959) และ อะแพตช์บลู (1965) และได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงจากเรื่อง อะเพชอินเดอะซัน (1951) และ เดอะโพไซดอนแอดเวนเจอร์ (1972) เธอยังปรากฏอยู่ในภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียงมากมาย รวมถึง อะดับเบิลไลฟ์ (1947), เดอะไนต์ออฟเดอะฮันเตอร์ (1955), โลลิตา (1962), อัลฟี (1966), เน็กซ์สต็อป, เกรนิชวิลเลจ (1976) และ พีทกับมังกรมหัศจรรย์ (1977) นอกจากภาพยนตร์ วินเตอส์ยังปรากฏอยู่ในซิตคอมเรื่อง โรแซนน์ (1991–1996) และเขียนอัตชีวประวัติอีกสามเล่ม

ชีวิตช่วงแรก[แก้]

เชลลีย์ วินเตอส์ หรือชื่อเกิด เชอร์ลีย์ ชริฟต์ เกิดเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 1920 ในเซนต์หลุยส์ รัฐมิสซูรี พ่อของเธอชื่อ โจนาส ชริฟต์ เป็นนักออกแบบเสื้อผ้าสำหรับผู้ชาย แม่ของเธอ โรส (สกุลเดิม วินเตอร์) เป็นนักร้องให้กับโรงละครโอเปราเทศบาลเมืองเซนต์หลุยส์ ("เดอะมูนี")[1] ครอบครัวของเธอล้วนแต่เป็นชาวยิว[2][3] พ่อของเธออพยพมาจากกริมารอฟ จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี ซึ่งปัจจุบันคือประเทศยูเครน ส่วนแม่ของเธอเกิดในเซนต์หลุยส์ เป็นชาวออสเตรียที่อพยพมาจากกริมารอฟเช่นกัน[2] วินเตอส์ได้รับการศึกษาแบบชาวยิว โดยเข้าเรียนที่จาเมกายิวเซ็นเตอร์ควบคู่ไปกับการเรียนเพลงภาษาฮีบรูที่โรงเรียนรัฐบาล[2] ต่อมาครอบครัวย้ายไปบรุกลิน นครนิวยอร์ก เมื่อเธออายุเก้าปี[4] และเติบโตเป็นบางช่วงที่ควีนส์ ซึ่งอยู่ในนครนิวยอร์กเช่นกัน[5] เมื่อเติบโตขึ้น เธอทำงานเป็นนางแบบ[6] น้องสาวของเธอ บลานซ์ ชริฟต์ แต่งงานกับจอร์จ โบรอฟฟ์ ผู้ดูแลโรงละครเซอร์เคิล (ปัจจุบันคือ โรงละครเอลเซนโตร) ในลอสแอนเจลิส[4] จากนั้นเธอย้ายกลับไปนครนิวยอร์กอีกครั้ง เพื่อเรียนการแสดงที่เดอะนิวสคูล[7]

การเสียชีวิต[แก้]

วินเตอส์เสียชีวิตเมื่อวันที่ 14 มกราคม ค.ศ. 2006 ด้วยอาการหัวใจล้มเหลว ที่ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูแห่งเบเวอร์ลีฮิลส์[1] ศพของเธอได้รับการฝังที่สุสานฮิลล์ไซด์เมโมเรียลพาร์ก ในคูลเวอร์ซิตี รัฐแคลิฟอร์เนีย[8] แอนโทนี ฟรานซิโอซา สามีคนที่สามของเธอเป็นโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันในวันเดียวกับที่เธอเสียชีวิต และเขาเสียชีวิตในอีกห้าวันถัดมา

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Harmetz, Aljean (January 15, 2006). "Shelley Winters, Tough-Talking Oscar Winner in 'Anne Frank' and 'Patch of Blue', Dies". The New York Times. สืบค้นเมื่อ May 23, 2010.
  2. 2.0 2.1 2.2 "Shelley Winters". Jewish Women's Archive. สืบค้นเมื่อ May 9, 2017.
  3. Celebrity Jews
  4. 4.0 4.1 Winters, Shelley (1988). "Shelley Winters". Skip E. Lowe Looks at Hollywood (Interview). สัมภาษณ์โดย Skip E. Lowe.
  5. 1930 United States Federal Census.
  6. 1940 United States Federal Census.
  7. Collins, Glenn (April 7, 1994). "Actors Studio to Teach Program at New School". The New York Times. สืบค้นเมื่อ May 9, 2017.
  8. Wilson, Scott (August 17, 2016). Resting Places: The Burial Sites of More Than 14,000 Famous Persons, 3d ed. McFarland. ISBN 9780786479924 – โดยทาง Google Books.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]