หลุยส์ เฟลตเชอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หลุยส์ เฟลตเชอร์
เกิดเอสเทล หลุยส์ เฟลตเชอร์
22 กรกฎาคม ค.ศ. 1934(1934-07-22)
เบอร์มิงแฮม รัฐแอละแบมา สหรัฐ
เสียชีวิต23 กันยายน ค.ศ. 2022(2022-09-23) (88 ปี)
มงดูว์ลัตส์ จังหวัดตาร์น ฝรั่งเศส
อาชีพนักแสดง
ปีปฏิบัติงาน1955–2017
มีชื่อเสียงจากบ้าก็บ้าวะ
คู่สมรสเจอร์รี บิค (สมรส 1960; หย่า 1978)
บุตร2

เอสเทล หลุยส์ เฟลตเชอร์ (อังกฤษ: Estelle Louise Fletcher; เกิด 22 กรกฎาคม ค.ศ. 1934) เป็นรู้จักในชื่อ หลุยส์ เฟลตเชอร์ เป็นนักแสดงชาวอเมริกัน เธอเริ่มแสดงใน ค.ศ. 1958 กับซีรีส์โทรทัศน์เรื่อง ยินซีเดอริงเกอร์ เธอเคยเป็นดารารับเชิญให้กับภาพยนตร์เรื่อง แวกเกินเทรน (1959) ก่อนจะได้เปิดตัวในภาพยนตร์เรื่อง เดอะแกเธอริงอีเกิลส์ (1963) ที่นำแสดงโดยร็อค ฮัดสัน หลังว่างเว้นจากวงการบันเทิง 10 ปีเพื่อทุ่มเวลาให้กับครอบครัว เธอกลับมาแสดงอีกครั้งหนึ่งกับภาพยนตร์ของรอเบิร์ต ออลต์แมน ในเรื่อง ทีฟส์ไลก์อัส (1974) ปีถัดมา เฟลตเชอร์ได้รับการยกย่องในระดับนานาชาติสำหรับการแสดงในบทนางพยาบาลแรตเชดในภาพยนตร์ดราม่าเรื่อง บ้าก็บ้าวะ ซึ่งทำให้เธอชนะรางวัลออสการ์ สาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม, รางวัลแบฟตา สาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยมในบทบาทนำ และรางวัลลูกโลกทองคำ สาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม ประเภทดราม่า[1] เธอกลายเป็นนักแสดงหญิงคนที่สามที่ได้รับรางวัลทั้งหมดจากการแสดงในภาพยนตร์เพียงเรื่องเดียว ต่อจากไลซา มินเนลลิ (1973) และออดรีย์ เฮปเบิร์น (1953) เธอยังได้รับการแสดงในภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียงหลายเรื่อง ดังเช่น หมอผีเอ็กซอร์ซิสต์ 2 (1977), เบรนสตอร์ม (1983), หนูน้อยพลังเพลิง (1984), ฟลาวเวอร์อินดิแอตทิก (1987), ทูเดย์อินเดอะแวลลีย์ (1996) และ วัยร้ายวัยรัก (1999)

ระยะหลังเฟลตเชอร์กลับสู่จอโทรทัศน์อีกครั้ง แสดงเป็นวินน์ แอดามีใน สตาร์ เทรค: ดีปสเปซไนน์ (1993–1999) เธอยังได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงไพรม์ไทม์เอ็มมีอะวอดส์สำหรับการแสดงของเธอในบทบาทรับเชิญจากซีรีส์เรื่อง พิกเคต (1996) และ โจนออฟอาคาเดีย (2004) รวมถึงมีบทบาทใน อีอาร์ (2005) และ ฮีโรส์ (2009) ใน ค.ศ. 2011–2012 รับบทเป็นเพกกี แกลลาเกอร์ในซีรีส์เรื่อง ครอบครัวถึงรั่วก็รัก และรับบทเป็น โรซี ในซีรีส์เรื่อง เกิร์ลบอส ออกอากาศทางเน็ตฟลิกซ์เมื่อ ค.ศ. 2017

อ้างอิง[แก้]

  1. Harmetz, Aljean (November 1975). "The Nurse Who Rules the Cuckoo's Nest". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 21 February 2015.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]