โอเชียเนีย
![]() | |
พื้นที่ | 8,525,989 ตร.กม. (อันดับที่ 7) |
---|---|
ประชากร | 36,659,000 คน (2553) (อันดับที่ 6) |
ความหนาแน่น | 4.19 คน/ตร.กม. (อันดับที่ 6)จ |
คำเรียกผู้อาศัย | ชาวโอเชียเนีย (Oceanian) |
จำนวนประเทศ | 14 ประเทศ |
จำนวนดินแดน | 25 ดินแดน |
จำนวนรัฐที่ไม่ใช่สมาชิก UN | 2 รัฐสมทบ |
ภาษา | 29 ภาษา |
เขตเวลา | UTC+14 ถึง UTC-11 (นับจากตะวันตกไปตะวันออก) |
เมืองใหญ่ |
โอเชียเนีย (อังกฤษ: Oceania) เป็นชื่อที่ใช้เรียกกลุ่มของหมู่เกาะต่าง ๆ ในมหาสมุทรแปซิฟิก[1] การใช้ในวงแคบ หมายถึง หมู่เกาะพอลินีเซีย (รวมนิวซีแลนด์) หมู่เกาะเมลานีเซีย (รวมนิวกินี) และหมู่เกาะไมโครนีเซีย การใช้ในวงกว้างจะรวมออสเตรเลียเข้าไปด้วย และอาจรวมถึงกลุ่มเกาะมลายู บางทีนำไปใช้ในความหมายที่รวมเอาเกาะอื่น ๆ เข้าไว้ เช่น ญี่ปุ่น หมู่เกาะอะลูเชียน แต่พบน้อยมาก
"โอเชียเนีย" หมายถึง กลุ่มประเทศและหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก รวมทวีปออสเตรเลียซึ่งเป็นทวีปที่มีขนาดเล็กที่สุด เนื้อที่ราว 7.7 ล้านตารางกิโลเมตร เล็กกว่าทวีปเอเชียถึง 6 เท่า ประกอบด้วย ผืนแผ่นดินที่เป็นที่ตั้งของประเทศออสเตรเลีย ประเทศนิวซีแลนด์ และหมู่เกาะพอลินีเซีย หมู่เกาะไมโครนีเซีย หมู่เกาะเมลานีเซีย ทวีปออสเตรเลีย-โอเชียเนีย เป็นกลุ่มของหมู่เกาะจำนวนมากนับพันเกาะ อย่างไมโครนีเซียมีในครอบครองกว่า 600 เกาะ
ประเทศ[แก้]
คิริบาส (ตาราวา)
ซามัว (อาปีอา)
ตองงา (นูกูอาโลฟา)
ตูวาลู (ฟูนะฟูตี)
นาอูรู (นาอูรู)
นิวซีแลนด์ (เวลลิงตัน)
ปาปัวนิวกินี (พอร์ตมอร์สบี)
ปาเลา (เมเลเกอ็อก)
ฟีจี (ซูวา)
ไมโครนีเซีย (ปาลีกีร์)
วานูอาตู (พอร์ตวิลา)
หมู่เกาะโซโลมอน (โฮนีอารา)
หมู่เกาะมาร์แชลล์ (มาจูโร)
ออสเตรเลีย (แคนเบอร์รา)
ดินแดน[แก้]
กวม (
สหรัฐ) | ฮากัตญา
หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา (
สหรัฐ) | ไซปัน
อเมริกันซามัว (
สหรัฐ) | ปาโกปาโก
หมู่เกาะคุก (
นิวซีแลนด์) | อาวารัว
เฟรนช์พอลินีเชีย (
ฝรั่งเศส) | ปาเปเอเต
นีวเว (
นิวซีแลนด์) | อาโลฟี
หมู่เกาะพิตแคร์น (
สหราชอาณาจักร) | แอดัมส์ทาวน์
โทเคอเลา (
นิวซีแลนด์) | อาตาฟู แต่ละอะทอลล์มีศูนย์กลางการบริหาร
วาลิสและฟูตูนา (
ฝรั่งเศส) | มาตา-อูตู
นิวแคลิโดเนีย (
ฝรั่งเศส) | นูเมอา
เกาะนอร์ฟอล์ก (
ออสเตรเลีย) | คิงส์ตัน
หมู่เกาะโคโคส (
ออสเตรเลีย) | เวสต์ไอแลนด์
เกาะคริสต์มาส (
ออสเตรเลีย) | เดอะเซตเทิลเมนต์
ภูมิประเทศ[แก้]
โอเชียเนียส่วนใหญ่เป็นเกาะและพืดหินปะการัง กระทั่งแผ่นดินเกิดการยกตัว นอกจากนี้ ยังมีที่เป็นภูเขาไฟ เทือกเขาขรุขระทุรกันดาร ที่ราบแคบ ๆ ป่าทึบ และทุกประเทศลอยอยู่ท่ามกลางมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก ภูมิอากาศร้อนชื้น ยกเว้นนิวซีแลนด์ที่เป็นแบบภาคพื้นสมุทร ฝนตกสม่ำเสมอตลอดปี ชุกมากแถบฝั่งตะวันตกของเกาะใต้ และออสเตรเลียที่แบ่งออกได้เป็น 7 เขตภูมิอากาศ คือ ร้อนชื้น ร้อนสลับแห้ง ทุ่งหญ้าเขตร้อน ทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทราย เมดิเตอร์เรเนียน อบอุ่นชื้นแบบภาคพื้นสมุทร และแบบทะเลทราย
ในทวีปโอเชียเนียนั้นมีประวัติศาสตร์ที่ค่อนข้างจะเกี่ยวเนื่องกันของประเทศแต่ละประเทศ จักรวรรดิและอาณาจักรต่าง ๆ ที่สำคัญในโอเชียเนีย เช่น อาณาจักรของชาวเมารี จักรวรรดิตูอิตองงา หมู่เกาะโซโลมอน จักรวรรดิตูอิปูโลตูและจักรวรรดิตูอิมานูอา เป็นต้น
เกือบทั้งหมดเคยตกเป็นเมืองขึ้นของเจ้าอาณานิคมจากโลกตะวันตกมีทั้งประเทศอังกฤษ ประเทศฝรั่งเศส ประเทศเยอรมนี และสหรัฐอเมริกา
บางประเทศก่อกำเนิดจากผลพวงของสงคราม ทั้งสงครามระหว่างคนพื้นเมืองด้วยกันเองอย่างตองงา หรือการรวมประเทศหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ของหมู่เกาะโซโลมอน เฉพาะอย่างยิ่งการก่อเกิดของประเทศสำคัญคือออสเตรเลีย ก็เป็นผลมาจากหลังสงครามประกาศอิสรภาพในสหรัฐอเมริกายุติลง และอังกฤษมองหาแผ่นดินใหม่สำหรับการตั้งถิ่นฐานของผู้กระทำผิดแทนที่อาณานิคมในเขตแอตแลนติกเหนือ
คำ "โอเชียเนีย" ได้มาจากชื่อของ "เปลือกโลกมหาสมุทร" (oceanic plate) ทั้งนี้ เปลือกโลกประกอบด้วยแผ่นขนาดใหญ่ 6-10 แผ่น และมีแผ่นเล็ก ๆ ที่ประกอบกันขึ้นหลาย ๆ แผ่นต่อกันเหมือนแผ่นกระเบื้อง แผ่นเปลือกโลกเหล่านี้แบ่งเป็นเปลือกโลกทวีป (continental plate) และเปลือกโลกมหาสมุทร (oceanic plate)
อ้างอิง[แก้]
- ↑ For a history of the term, see Douglas & Ballard (2008) Foreign bodies: Oceania and the science of race 1750–1940
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: โอเชียเนีย |
- Oceania ที่เว็บไซต์ Curlie