อุจเฉททิฐิ
ไปยังการนำทาง
ไปยังการค้นหา
ส่วนหนึ่งของ | |
ศาสดา | |
จุดมุ่งหมาย | |
นิพพาน | |
พระรัตนตรัย | |
หลักปฏิบัติ | |
ศีล · สมาธิ · ปัญญา สมถะ · วิปัสสนา บทสวดมนต์ | |
คัมภีร์ | |
พระไตรปิฎก พระวินัยปิฎก · พระสุตตันตปิฎก · พระอภิธรรมปิฎก | |
หลักธรรม | |
ไตรลักษณ์ · อริยสัจ 4 · มรรค 8 · ปฏิจจสมุปบาท · มงคล 38 | |
นิกาย | |
เถรวาท · มหายาน · วัชรยาน | |
สังคม | |
ปฏิทิน · บุคคล · วันสำคัญ · ศาสนสถาน | |
การจาริกแสวงบุญ | |
สังเวชนียสถาน · การแสวงบุญในพุทธภูมิ | |
ดูเพิ่มเติม | |
คำศัพท์ หมวดหมู่ศาสนาพุทธ |
อุจเฉททิฐิ (อ่านว่า อุดเฉทะทิดถิ) แปลว่า ความเห็นว่าขาดสูญ เป็นความเห็นที่ปฏิเสธหรือตรงกันข้ามกับ สัสสตทิฐิ
อุจเฉททิฐิ คือความเห็นที่ว่าสัตว์โลกทั้งปวงเมื่อตายหรือละจากอัตภาพนี้ไปแล้วก็เป็นอันขาดสูญไม่มีอะไรที่จะไปเกิดหรือไปปฏิสนธิในภพอื่นอีก สิ่งที่เรียกว่าอาตมัน หรืออัตตา ชีวะ เจตภูติ ก็สูญไปเช่นเดียวกัน เรียกว่าขาดสูญไปทั้งหมดไม่มีอะไรเหลือให้ไปเกิดในสุคติหรือทุคติอีก
อุจเฉททิฐิ มีผลกระทบต่อผู้เห็นตามนั้น คือทำให้เป็นคนประมาทขาดสติ เห็นแก่ตัว ปฏิเสธบุญบาป ปฏิเสธนรกสวรรค์ ทำอะไรโดยไม่กลัวบาปกรรม มุ่งแต่หาความสุขในกามรมณ์ เบียดเบียนแก่งแย่งกันและกัน รบราฆ่าฟันกันเพื่อความเป็นใหญ่ ใช้ชีวิตให้คุ้มค่าก่อนที่จะตายไป
อ้างอิง[แก้]
- พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ. ๙ ราชบัณฑิต พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด, วัดราชโอรสาราม กรุงเทพฯ พ.ศ. 2548