ตำบลนาคา
ตำบลนาคา | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Tambon Nakha |
![]() พลับพลึงธารแห่งคลองนาคา เป็นพืชเฉพาะถิ่น ไม่พบในที่อื่นใดในโลก | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | ระนอง |
อำเภอ | สุขสำราญ |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 285.00 ตร.กม. (110.04 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 7,404 คน |
• ความหนาแน่น | 25.97 คน/ตร.กม. (67.3 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 85120 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 850501 |
![]() |
องค์การบริหารส่วนตำบลนาคา | |
---|---|
พิกัด: 9°25′57.0″N 98°28′02.9″E / 9.432500°N 98.467472°Eพิกัดภูมิศาสตร์: 9°25′57.0″N 98°28′02.9″E / 9.432500°N 98.467472°E | |
ประเทศ | ![]() |
จังหวัด | ระนอง |
อำเภอ | สุขสำราญ |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 285.00 ตร.กม. (110.04 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 7,404 คน |
• ความหนาแน่น | 25.97 คน/ตร.กม. (67.3 คน/ตร.ไมล์) |
รหัส อปท. | 6850502 |
ที่อยู่ที่ทำการ | เลขที่ 71 หมู่ที่ 2 ถนนเพชรเกษม ตำบลนาคา อำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง 85120 |
เว็บไซต์ | www |
![]() |
นาคา เป็นหนึ่งในสองตำบลของอำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง เป็นที่ตั้งของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองนาคา[1] ซึ่งมีล่องแพชม"พลับพลึงธาร" หรือในภาษาท้องถิ่นระนองเรียกว่า "หญ้าช้อง" นั้นจัดเป็นไม้ล้มลุก และเป็นพืชถิ่นเดียวของไทย[2] ไม่พบที่ใหนในโลก ปัจจุบันพบเหลือแค่ร้อยละ 1 เท่านั้น พบขึ้นอยู่อย่างกระจัดกระจาย จึงได้ขึ้นเป็นบัญชีพืชที่ใกล้สูญพันธุ์ของโลก (IUCN Redlist) มีพื้นที่ตำบลติดชายฝั่งอยู่ในพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติแหลมสน[3]

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
ตำบลนาคามีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลม่วงกลวงและตำบลบางหิน (อำเภอกะเปอร์)
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลบางหิน (อำเภอกะเปอร์)
- ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลเขาพัง (อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี) กับตำบลกำพวน (อำเภอสุขสำราญ)
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับทะเลอันดามัน
ประวัติ[แก้]
ท้องที่ตำบลนาคาเดิมเป็นพื้นที่ตำบลกำพวนทั้งหมด ในวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2490 ทางกระทรวงมหาดไทยได้แยกท้องที่หมู่ 5–7 (ในขณะนั้น) ของตำบลกำพวน มาจัดตั้งเป็นตำบลนาคา[4] ขณะนั้นขึ้นการปกครองอยู่กับกิ่งอำเภอกะเปอร์ อำเภอเมืองระนอง และย้ายมาขึ้นกับอำเภอกะเปอร์ใน พ.ศ. 2508[5] ต่อมามีการจัดตั้งกิ่งอำเภอสุขสำราญขึ้นใน พ.ศ. 2535[6] จึงย้ายการปกครองมาขึ้นกับทางกิ่งอำเภอ และยกฐานะเป็นอำเภอใน พ.ศ. 2550[7]ตามโครงการเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ตำบลนาคาจึงกลายเป็นตำบลลำดับที่ 1 ของอำเภอสุขสำราญจนถึงปัจจุบัน
พื้นที่ตำบลนาคาตั้งอยู่ทางทิศเหนือของอำเภอสุขสำราญ และอยู่ทางทิศใต้ของจังหวัดระนอง ระยะทางห่างจากตัวจังหวัด 85 กิโลเมตร ห่างจากตัวอำเภอ 13 กิโลเมตร มีเนื้อที่รวมทั้งสิ้น 285.00 ตารางกิโลเมตร (178,125 ไร่) คิดเป็นเกินครึ่งหนึ่งของพื้นที่อำเภอ สภาพพื้นที่เป็นภูเขาสูงชันและป่าไม้ประมาณร้อยละ 70 และเป็นพื้นที่ราบชายฝั่งประมาณร้อยละ 30 โดยทิศตะวันตกจรดทะเลอันดามันตลอดแนว มี 2 ฤดู คือฤดูฝนและฤดูร้อน[8] ส่วนสภาพสังคมมีโรงเรียนทั้งหมดห้าแห่ง[9] ด้านสาธารณสุขนั้นมีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนไทรงามและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาคา[10]
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]
ตำบลนาคาแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 8 หมู่บ้าน ได้แก่
หมู่ 1 | บ้านบางมัน | (Ban Bang Man) | ||||
หมู่ 2 | บ้านนาพรุ | (Ban Na Phru) | ||||
หมู่ 3 | บ้านบางกล้วยนอก | (Ban Bang Kluai Nok) | ||||
หมู่ 4 | บ้านควนไทรงาม | (Ban Khuan Sai Ngam) | ||||
หมู่ 5 | บ้านฝ่ายท่า | (Ban Fai Tha) | ||||
หมู่ 6 | บ้านแหลมนาว | (Ban Laem Nao) | ||||
หมู่ 7 | บ้านไร่ใน | (Ban Rai Nai) | ||||
หมู่ 8 | บ้านทุ่งถั่ว | (Ban Thung Thua) |
การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]
ท้องที่ตำบลนาคามีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพียงแห่งเดียว คือ องค์การบริหารส่วนตำบลนาคา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาคาทั้งหมด เดิมเป็นสภาตำบลนาคาที่จัดตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2516[11] และยกฐานะขึ้นเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลนาคาใน พ.ศ. 2539[12]
ประชากร[แก้]
พื้นที่ตำบลนาคาประกอบด้วยหมู่บ้านทั้งสิ้นจำนวน 8 หมู่บ้าน มีจำนวนประชากร 7,404 คน แบ่งเป็นชาย 3,648 คน หญิง 3,756 คน (เดือนธันวาคม 2564)[13] เป็นตำบลที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดในอำเภอสุขสำราญ
- หมายถึงจำนวนประชากรได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน
- หมายถึงจำนวนประชากรได้คงเดิมเมื่อเทียบกับปีก่อน
- หมายถึงจำนวนประชากรได้ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน
* ใน พ.ศ. 2558 มีการรวมผู้ที่ไม่ได้สัญชาติไทยในทะเบียนราษฎร ส่งผลให้ข้อมูลจำนวนประชากรปีดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก
หมู่บ้าน | พ.ศ. 2564[14] | พ.ศ. 2563 [15] | พ.ศ. 2562[16] | พ.ศ. 2561[17] | พ.ศ. 2560[18] | พ.ศ. 2559[19] | พ.ศ. 2558[20] |
---|---|---|---|---|---|---|---|
บางมัน | 1,888 | 1,906 | 1,866 | 1,838 | 1,831 | 1,813 | 1,777 |
นาพรุ | 1,659 | 1,653 | 1,630 | 1,619 | 1,607 | 1,577 | 1,542 |
บางกล้วยนอก | 1,489 | 1,497 | 1,463 | 1,465 | 1,440 | 1,419 | 1,395 |
ฝ่ายท่า | 716 | 718 | 724 | 726 | 733 | 735 | 744 |
ควนไทรงาม | 503 | 501 | 507 | 494 | 495 | 499 | 492 |
ทุ่งถั่ว | 494 | 494 | 486 | 477 | 464 | 450 | 448 |
ไร่ใน | 446 | 460 | 464 | 471 | 471 | 475 | 467 |
แหลมนาว | 209 | 208 | 201 | 201 | 197 | 203 | 200 |
รวม | 7,404 | 7,437 | 7,344 | 7,291 | 7,238 | 7,171 | 7,065 |
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๑๕๐ [มีสถานะเทียบเท่าพระราชกฤษฎีกา แก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามความในมาตรา ๑๙ แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๐๓ กำหนดให้บริเวณที่ดินป่าคลองนาคา ซึ่งอยู่ในท้องที่ ตำบลนาคา ตำบลเชียวเหลียง ตำบลบางหิน ตำบลบ้านนา และตำบลกำพวน อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 89 (82 ก): (ฉบับพิเศษ) 8-9. วันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2515
- ↑ "สภาพทางสังคมขององค์การบริหารส่วนตำบลนาคา อำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง". สืบค้นเมื่อ February 3, 2021.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "พระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินหาดแหลมสน และเกาะใกล้เคียง ในท้องที่ตำบลราชกรูด อำเภอเมืองระนอง ตำบลม่วงกลวง ตำบลกะเปอร์ ตำบลบางหิน ตำบลนาคา ตำบลกำพ่วน อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง และตำบลคุระ อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๒๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 100 (135 ก): (ฉบับพิเศษ) 24-27. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-05-27. สืบค้นเมื่อ 2022-07-03. วันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2526
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (26 ง): 1114–1433. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 2022-07-03. วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2490
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอศรีสวัสดิ์ อำเภอสังขละบุรี อำเภอท่าคันโท อำเภอดอกคำใต้ อำเภอแม่ใจ อำเภอจุน อำเภอขามทะเลสอ อำเภอไพศาลี อำเภอท่าวังผา อำเภอบ้านกรวด อำเภอเด่นชัย อำเภอปทุมรัตต์ อำเภอกะเปอร์ อำเภออากาศอำนวย อำเภอดอนเจดีย์ อำเภอจอมพระ และอำเภอสามโก้ พ.ศ. ๒๕๐๘" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 81 (49 ก): 565–569. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-10-01. สืบค้นเมื่อ 2022-07-03. วันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2508
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง ตั้งเป็นกิ่งอำเภอสุขสำราญ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (53 ง): 20. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-07-18. สืบค้นเมื่อ 2022-07-03. วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2535
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอฆ้องชัย...และอำเภอเหล่าเสือโก้ก พ.ศ. ๒๕๕๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 124 (46 ก): 14–21. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2022-07-03. วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550
- ↑ "สภาพแลข้อมูลทั่วไปขององค์การบริหารส่วนตำบลนาคา อำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง". สืบค้นเมื่อ February 3, 2021.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "โรงเรียนในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระนอง เขต 1". สืบค้นเมื่อ February 3, 2021.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "รายชื่อ รพ.สต. จังหวัดระนอง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-09-26. สืบค้นเมื่อ February 3, 2021.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสภาตำบลตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๒๖ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 90 (108 ง): (ฉบับพิเศษ) 1-72. วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2516
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล (จำนวน ๒๑๔๓ แห่ง)" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (9 ง): 5–219. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-25. สืบค้นเมื่อ 2021-02-03. วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2539
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [2] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [3] 2564. สืบค้น 18 มีนาคม 2564.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [4] 2563. สืบค้น 10 มกราคม 2563.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/036/T_0032.PDF 2562. สืบค้น 12 กุมภาพันธ์ 2562.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/041/22.PDF 2561. สืบค้น 26 กุมภาพันธ์ 2561.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat59.htm 2560. สืบค้น 3 มีนาคม 2560.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat58.htm 2558. สืบค้น 16 กุมภาพันธ์ 2559.