อาสนวิหารลีมอฌ
อาสนวิหารนักบุญสเทเฟนแห่งลีมอฌ | |
---|---|
ทางเข้าด้านข้างในปีค.ศ. 2010 หลังการบูรณะซ่อมแซมครั้งใหญ่ | |
45°49′44″N 1°16′00″E / 45.82889°N 1.26667°E | |
ที่ตั้ง | ลีมอฌ จังหวัดโอต-เวียน |
ประเทศ | ประเทศฝรั่งเศส |
นิกาย | โรมันคาทอลิก |
สถานะ | อาสนวิหาร |
ประเภทสถาปัตย์ | กางเขน |
รูปแบบสถาปัตย์ | กอธิกฟล็องบัวย็อง กอธิกแรยอน็อง |
แล้วเสร็จ | ค.ศ. 1888 |
อนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์ (ค.ศ. 1862) |
อาสนวิหารลีมอฌ (ฝรั่งเศส: Cathédrale de Limoges) เรียกชื่อเต็มว่า อาสนวิหารนักบุญสเทเฟนแห่งลีมอฌ (Cathédrale Saint-Étienne de Limoges) เป็นทั้งอาสนวิหารในนิกายโรมันคาทอลิก เป็นที่ตั้งของมุขนายกประจำมุขมณฑลลีมอฌ ตั้งอยู่ติดกับ "สวนพระสังฆราช" (Jardin de l'Évêché) ในเขตเมืองเก่า "ลาซีเต" (La Cité) ของลีมอฌ จังหวัดโอต-เวียน แคว้นนูแวลากีแตน ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่นักบุญสเทเฟน (ปฐมมรณสักขี) เป็นหนึ่งในอนุสรณ์สถานสำคัญที่สุดในลีมอฌคู่กับสถานีรถไฟลีมอฌ และยังถือเป็นคริสต์ศาสนสถานแห่งเดียวในภูมิภาคลีมูแซ็งที่สร้างในแบบกอธิกที่สมบูรณ์แบบ
อาสนวิหารแห่งนี้ได้ขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์เมื่อปี ค.ศ. 1862[1]
ประวัติการก่อสร้าง
[แก้]งานก่อสร้างได้เริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 1273 แล้วเสร็จเมื่อปี ค.ศ. 1888 ภายหลังจากเสร็จสิ้นการเชื่อมส่วนของหอระฆังสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ให้ติดกับบริเวณกลางโบสถ์อย่างสมบูรณ์ ซึ่งการก่อสร้างอาสนวิหารในช่วงแรกเริ่มจากบริเวณร้องเพลงสวดในแบบกอธิกแรยอน็องซึ่งเป็นงานราวสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 13 ที่ ณ ขณะนั้นยังคงติดอยู่กับส่วนบริเวณกลางโบสถ์เดิมในแบบโรมาเนสก์ การก่อสร้างได้หยุดชะงักลงในปี ค.ศ. 1327 เป็นครั้งแรกเนื่องจากปัญหาด้านงบประมาณ ต่อมาในปี ค.ศ. 1378 ชาเปลนักบุญมาร์ซียาลและส่วนหนึ่งของแขนกางเขนฝั่งทิศเหนือก็เสร็จสมบูรณ์ ต่อมาเป็นคราวของหอระฆังแบบโรมาเนสก์ขนาดใหญ่ และในไม่กี่ปีต่อมาบริเวณแขนกางเขนทิศใต้ก็เสร็จสิ้นสมบูรณ์
ช่วงหลังจากสงครามร้อยปี บริเวณกลางโบสถ์สองช่วงแรกก็สร้างเสร็จระหว่างปี ค.ศ. 1458–1499 ต่อมาในช่วงปี ค.ศ. 1516–1541 มุขนายกฌ็อง เดอ ล็องฌัก ก็ได้สร้างส่วนแขนกางเขนและซุ้มประตูนักบุญยอห์น ซึ่งถือเป็นงานชิ้นเอกในแบบกอธิกฟล็องบัวย็อง แต่ต่อมาการก่อสร้างก็ได้หยุดชะงักลงเป็นครั้งที่สองเมื่อมุขนายกในขณะนั้นได้ถึงแก่กรรมลง บริเวณกลางโบสถ์ที่เหลืออีกสามช่วงสุดท้ายเพิ่งจะมาเสร็จสิ้นโดยต่อเข้ากับหอระฆังโดยสมบูรณ์ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 เท่านั้นเอง
ลักษณะทางสถาปัตยกรรม
[แก้]อาสนวิหารแห่งนี้มีงานศิลป์สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาชั้นสูงถึงสองรายการ ได้แก่ ฉากกางเขนซึ่งสร้างจากดำริของมุขนายกฌ็อง เดอ ล็องฌัก และหลุมฝังศพของท่าน ซึ่งเป็นงานแกะสลักเป็นเรื่องราวจากหนังสือวิวรณ์ โดยได้แรงบัลดาลใจมาจากงานของศิลปินชาวเยอรมันนามว่า ดือเรอร์
บริเวณผนังของห้องฝังศพแบบสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ ซึ่งไม่ได้เปิดให้เข้าชมสาธารณะ มีงานภาพปูนเปียกพระคริสต์ทรงพระสิริ
นอกจากนี้บริเวณส่วนอื่นยังพบรูปวาดสมัยยุคกลาง ซึ่งพบได้ตามชาเปลต่าง ๆ รวมทั้งงานภาพปูนเปียกสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 ด้วย
ระเบียงภาพ
[แก้]-
มองจากสวนพระสังฆราช
-
อาสนวิหาร
-
อาสนวิหารยามค่ำคืน
-
ภาพร่างแสดงชาเปลบริเวณพิธี
-
หัวเสาบริเวณระเบียงแนบ
-
แผนผังของอาสนวิหาร
-
อาสนวิหาร พิพิธภัณฑ์สังฆราชแห่งลีมอฌ และสวนพระสังฆราช
-
อาสนวิหารยามค่ำคืน
อ้างอิง
[แก้]บรรณานุกรม
[แก้]- Dictionnaire des églises de France, Belgique, Luxembourg, Suisse (Tome II-B), Robert Laffont, Paris (France) ; p. Missing parameter/s! (Template:P.)73–78.
- Claude Andrault-Schmitt, Limousin gothique, Picard Éditeur, Paris, ISBN 2-7084-0530-6, 1997; p. Missing parameter/s! (Template:P.)215–239.
- Michael T. Davis, « Le chœur de la cathédrale de Limoges », dans Bulletin Monumental, 1986 v. 22 .
- Jean Maury, Limousin roman, Éditions Zodiaque, La Pierre-qui-Vire (France), 1959.