อาสนวิหารแก็งแปร์
อาสนวิหารนักบุญกอร็องแต็ง แห่งแก็งแปร์ | |
---|---|
ฝั่งทางเข้าทิศตะวันตกของอาสนวิหาร | |
47°59′44″N 4°06′08″W / 47.99556°N 4.10222°W | |
ที่ตั้ง | แก็งแปร์ จังหวัดฟีนิสแตร์ |
ประเทศ | ประเทศฝรั่งเศส |
นิกาย | โรมันคาทอลิก |
เว็บไซต์ | http://www.quimper.fr/624-la-cathedrale-saint-corentin.htm |
สถานะ | อาสนวิหาร |
ประเภทสถาปัตย์ | กางเขน |
รูปแบบสถาปัตย์ | กอทิก |
ปีสร้าง | คริสต์ศตวรรษที่ 13 |
แล้วเสร็จ | คริสต์ศตวรรษที่ 15 คริสต์ศตวรรษที่ 19 (ส่วนยอดแหลม) |
อนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์ (ค.ศ. 1862) |
อาสนวิหารแก็งแปร์ (ฝรั่งเศส: Cathédrale de Quimper) หรือชื่อเต็มว่า อาสนวิหารนักบุญกอร็องแต็งแห่งแก็งแปร์ (Cathédrale Saint-Corentin de Quimper) เป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิก และเป็นที่ตั้งของอัครมุขนายกประจำมุขมณฑลแก็งแปร์และเลอง ตั้งอยู่ในเขตเมืองแก็งแปร์ จังหวัดฟีนิสแตร์ ในแคว้นเบรอตาญ ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศให้แก่นักบุญกอร็องแต็งแห่งแก็งแปร์ ซึ่งเป็นมุขนายกองค์แรกของแก็งแปร์ในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 5
อาสนวิหารแห่งแก็งแปร์นี้สร้างขึ้นบนสักการสถานโบราณแบบโรมาเนสก์นามว่า "โบสถ์แม่พระ" ซึ่งสร้างสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 11 และอาสนวิหารแห่งใหม่นี้ยังจัดเป็นอาสนวิหารแบบกอทิกที่เก่าแก่ที่สุดหนึ่งในสามแห่งของแคว้นเบรอตาญ อีกสองแห่งได้แก่ อาสนวิหารเทรกุยเย และอาสนวิหารแซ็ง-ปอล-เดอ-เลอง
อาสนวิหารแห่งนี้ได้ถูกขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์ของประเทศฝรั่งเศสเมื่อปี ค.ศ. 1862[1]
ประวัติ
[แก้]การก่อสร้างได้สันนิษฐานว่าเริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 1239 โดยมุขนายกแรโน คนสนิทของดุ๊กปีแยร์ที่ 1 แห่งเบรอตาญ แต่การก่อสร้างก็ยังไม่ได้เริ่มขึ้นจริงจังจนกระทั่งปี ค.ศ. 1280 ภายใต้การนำของมุขนายกเอว็อง เดอ ลา ฟอแร็สต์ โดยเริ่มต้นขึ้นเป็นรูปเป็นร่างอย่างรวดเร็วมาจนกระทั่งมีปัญหาด้านเทคนิคการก่อสร้าง งบประมาณ และการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 14 ซึ่งเป็นช่วงของความวุ่นวายจากสงครามสืบราชบัลลังก์ ทำให้มีปัญหาล่าช้ามากมาย โดยบริเวณร้องเพลงสวดได้สร้างอย่างรวดเร็วในปี ค.ศ. 1330–1340 แค่ก็ยังมิได้มุงเพดานและหลังคาจนเสร็จจนกระทั่งปี ค.ศ. 1410 ในรัชสมัยของดุ๊กฌ็องที่ 5 แห่งเบรอตาญ
บริเวณหน้าบันทิศตะวันตกได้มีการวางศิลาฤกษ์ในปี ค.ศ. 1424 ซุ้มประตูฝั่งทิศเหนือ (portail des Baptêmes) และทิศใต้ (portail Sainte-Catherine) นั้นเสร็จสิ้นก่อนปี ค.ศ. 1433 ส่วนบริเวณหอทั้งสองยังไม่เสร็จสิ้นจนกระทั่งในคริสต์ศตวรรษที่ 19 จากนั้นได้ก่อสร้างส่วนบริเวณกลางโบสถ์และแขนกางเขนตามลำดับ เพดานของบริเวณกลางโบสถ์นั้นเสร็จในระหว่างปี ค.ศ. 1486–1493
ระเบียงภาพ
[แก้]-
ปลงพระศพพระเยซู
-
ชาเปลแม่พระแห่งลูร์ด
-
งานกระจกสีบริเวณชาเปล
-
งานกระจกสีบริเวณชาเปล
-
นักบุญอีฟ ท่ามกลางคนยากไร้และคนรวย (งานไม้แกะสลักย้อมสีสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 16)
-
ทัศนียภาพของอาสนวิหาร
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Notice No.PA00090326 Base Mérimée - กระทรวงวัฒนธรรมแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส
บรรณานุกรม
[แก้]- (ฝรั่งเศส) René-François Le Men, Monographie de la cathédrale de Quimper, Jacob, Quimper, 1877.
- (ฝรั่งเศส) Jean-Marie Pérouse de Montclos, Guide du patrimoine. Bretagne, Monum. Éditions du patrimoine, Paris (France), (ISBN 2-85822-728-4), 2002, p. 375–383.
- (ฝรั่งเศส) Philippe Bonnet, Quimper, la cathédrale, Zodiaque, Paris (France), 2003, (ISBN 2-7369-0296-3).
- (ฝรั่งเศส) Tanguy Daniel (dir.), Les vitraux de la cathédrale Saint-Corentin de Quimper, Rennes-Quimper, Presses Universitaires de Rennes/Société Archéologique du Finistère, 2005, (ISBN 978-2-7535-0037-2).
- (ฝรั่งเศส) Yves Gallet, « Les ducs, l'argent, les hommes ? Observations sur la date présumée du chevet rayonnant de la cathédrale Saint-Corentin de Quimper (1239) », dans Le prince, l'argent, les hommes au Moyen Âge. Mélanges offerts à Jean Kerhervé, Rennes, Presses Universitaires de Rennes, 2008, (ISBN 978-2-7535-0602-2), p. 103-116.
- (ฝรั่งเศส) Yves Gallet, « Quimper, cathédrale Saint-Corentin. L’architecture (xiiie ‑ xve siècle) », Congrès Archéologique de France, session 2007 : Finistère, Paris, Société Française d'Archéologie, 2009, (ISBN 978-2-901837-34-3), p. 261-292.