ข้ามไปเนื้อหา

อาสนวิหารโบแว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อาสนวิหารนักบุญเปโตรแห่งโบแว
แผนที่
49°25′57″N 2°04′53″E / 49.43250°N 2.08139°E / 49.43250; 2.08139
ที่ตั้งโบแว จังหวัดอวซ
ประเทศ ประเทศฝรั่งเศส
นิกายโรมันคาทอลิก
เว็บไซต์http://www.cathedrale-beauvais.fr
สถานะอาสนวิหาร
ประเภทสถาปัตย์กางเขน
รูปแบบสถาปัตย์กอธิก
แล้วเสร็จค.ศ. 1600
(หยุดการก่อสร้าง)
ความสูงอาคารสูง 67.2 เมตร (220 ฟุต)
(วัดจากด้านนอก)
ขนาดอื่น ๆยาว 72.50 เมตร (237.9 ฟุต)
กว้าง 30.65 เมตร (100.6 ฟุต)
อนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์ (ค.ศ. 1840)

อาสนวิหารโบแว (ฝรั่งเศส: Cathédrale de Beauvais) หรือมีชื่อเต็มว่า อาสนวิหารนักบุญเปโตรแห่งโบแว (Cathédrale Saint-Pierre de Beauvais) เป็นอาสนวิหารนิกายโรมันคาทอลิกและที่ตั้งของมุขนายกประจำมุขมณฑลโบแว นัวยง และซ็องลิส ตั้งอยู่ที่เมืองโบแว จังหวัดอวซ แคว้นโอดฟร็องส์ ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่นักบุญเปโตร เป็นอาสนวิหารแบบกอธิกที่มีบริเวณร้องเพลงสวดที่สูงที่สุดในโลก (48.50 เมตร)

อาสนวิหารแห่งนี้ได้รับการขนานนามว่าเป็นสถานที่แบบสถาปัตยกรรมกอทิกแห่งหนึ่งที่แสดงถึงความสำเร็จสูงสุดและความกล้าหาญทางสถาปัตยกรรม โดยตัวอาคารมีเพียงแขนกางเขน (คริสต์ศตวรรษที่ 16) และบริเวณร้องเพลงสวด พร้อมทั้งมุขโค้งและชาเปลจำนวน 7 หลัง (คริสต์ศตวรรษที่ 13) ซึ่งสามารถเข้าถึงได้จากทางจรมุข นอกจากนี้ยังพบโบสถ์เล็กแบบสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์สร้างราวคริสต์ศตวรรษที่ 10 เรียกว่า "บาเซิฟวร์" (Basse Œuvre) ซึ่งปัจจุบันได้รับการบูรณะจนอยู่ในสภาพดีตั้งอยู่บริเวณที่จะเป็นที่ตั้งของบริเวณกลางโบสถ์อีกด้วย

อาสนวิหารโบแวได้ขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์เมื่อปี ค.ศ. 1840[1]

ประวัติ

[แก้]
แผนผังอาสนวิหาร บริเวณที่มีสีอ่อนคือ บริเวณกลางโบสถ์ (ไม่ได้สร้าง)

งานก่อสร้างเริ่มในปี ค.ศ. 1225[2] ภายใต้การดูแลของมุขนายกมีล เดอ น็องเตย เริ่มทันทีในภายหลังจากเพลิงไหม้หลังคาของบาซิลิกาหลังเก่าซึ่งทำด้วยไม้เป็นครั้งที่สาม ซึ่งเพิ่งจะทำการบูรณะแท่นบูชาจากไฟไหม้ครั้งก่อนเมื่อสามปีที่แล้วหมาด ๆ ในปี ค.ศ. 1272 การก่อสร้างบริเวณร้องเพลงสวดก็แล้วเสร็จเป็นอย่างแรก โดยแบ่งการก่อสร้างเป็นสองช่วง โดยมีช่วงปี ค.ศ. 1232-ค.ศ. 1238 คั่นกลางเนื่องจากประสบปัญหาด้านเงินทุนกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศส

การก่อสร้างในสองช่วงนั้นมีความแตกต่างกันอย่างเล็กน้อย โดยในสมัยของมุขนายกกีโยม เดอ แกรซ[3] ได้มีการเพิ่มความสูงขึ้นไปอีกถึง 4.9 เมตร เพื่อสร้างอาสนวิหารที่มีเพดานโค้งที่สูงที่สุดในยุโรป ซึ่งในที่สุดเพดานโค้งมีความสูงรวมทั้งสิ้น 48 เมตร ซึ่งมากกว่าอาสนวิหารแม่พระแห่งอาเมียงซึ่งกำลังก่อสร้างอยู่ในขณะนั้น ซึ่งมีความสูงของบริเวณกลางโบสถ์เพียง 42 เมตร

ต่อมาในปี ค.ศ. 1284 การก่อสร้างได้หยุดชะงักลงเนื่องจากเพดานโค้งเหนือบริเวณร้องเพลงสวดที่เพิ่งเสร็จใหม่บางส่วนได้ถล่มลงมา การถล่มครั้งนั้นได้สร้างความกระทบกระเทือนให้กับสถาปนิกและวิศวกรชาวฝรั่งเศสที่เชี่ยวชาญด้านกอทิกเป็นอย่างมาก สตีเฟน เมอร์รีย์ นักประวัติศาสตร์ยังได้กล่าวว่าการถล่มครั้งนั้นยังเป็น "การนำพาให้เข้าสู่ยุคของสิ่งปลูกสร้างที่มีขนาดเล็กลง ซึ่งเกี่ยวพันกันกับการลดลงของประชากร สงครามร้อยปี ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 13"

แต่อย่างไรก็ตาม แผนการสร้างในแบบเดิมยังคงไม่เปลี่ยนแปลง และดำเนินต่อไป ในที่สุดบริเวณร้องเพลงสวดก็ถูกสร้างใหม่ที่ความสูงเท่าเดิม แต่เพิ่มเสาบริเวณชาเปลดาวกระจายและบริเวณร้องเพลงสวด เปลี่ยนเพดานโค้งจากสี่เป็นหกแฉก[4] ส่วนบริเวณกลางโบสถ์สร้างขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1500 ถึง ค.ศ. 1548 และต่อมาในปี ค.ศ. 1573 จากความทะเยอทะยานที่จะสร้างหอคอยกลางที่มีความสูงถึง 153 เมตร ได้ถล่มลงในที่สุดเป็นเหตุให้ต้องหยุดการก่อสร้างอีกคราหนึ่ง ซึ่งหอคอยนั้นหากไม่ได้ถล่มลงจะทำให้อาสนวิหารแห่งนี้เป็นอาสนวิหารที่สูงที่สุดในโลกเป็นอันดับสองในเวลานั้น (รองจากโบสถ์เซ็นต์โอลาฟแห่งทาลลินน์) จากนั้นต่อมา มีการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างอย่างเล็กน้อยเท่านั้นเนื่องจากต้องใช้งบประมาณจำนวนมากในการสร้างบริเวณกลางโบสถ์

บริเวณร้องเพลงสวดของอาสนวิหารโบแวได้รับคำชมจากเออแฌน วียอแล-เลอ-ดุกว่าเปรียบเสมือน "อาสนวิหารพาเธนอนแห่งสถาปัตยกรรมกอทิกแบบฝรั่งเศส"

ขนาด

[แก้]

ระเบียงภาพ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. http://www.culture.gouv.fr/public/mistral/merimee_fr?ACTION=CHERCHER&FIELD_1=REF&VALUE_1=PA00115710 กระทรวงวัฒนธรรมแห่งฝรั่งเศส
  2. A formerly often-quoted date of 1247 was based on an error made by an early historian of Beauvais. (Murray 1980:533 note 5)
  3. William of Grez was the first bishop to be buried in the axial Lady Chapel, 1267.
  4. Cruickshank, Dan, บ.ก. (1996). Sir Banister Fletcher's A History of Architecture (20th ed.). Architectural Press. p. 436. ISBN 0-7506-2267-9.