หลวงสุรณรงค์ (ธงไชย โชติกเสถียร)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก หลวงสุรณรงค์)
พลเอก
หลวงสุรณรงค์
(ธงไชย โชติกเสถียร)

ป.จ., ม.ป.ช., ม.ว.ม., ร.ม.
สมุหราชองครักษ์
ดำรงตำแหน่ง
1 มกราคม พ.ศ. 2491 – 26 มิถุนายน พ.ศ. 2507
ก่อนหน้า พลโท พระศิลปศัสตราคม
ถัดไป หม่อมเจ้ากาฬวรรณดิศ ดิศกุล
องคมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
26 มิถุนายน พ.ศ. 2507 – 18 มกราคม พ.ศ. 2529
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด ธงไชย
26 มิถุนายน พ.ศ. 2442
เสียชีวิต 18 มกราคม พ.ศ. 2529 (86 ปี)
บิดา พระยาสรรพกิจปรีชา (ชื่น โชติกเสถียร)
มารดา คุณหญิงฉลวย สรรพกิจปรีชา
คู่สมรส ท่านผู้หญิงจรวย สุรณรงค์
ศาสนา พุทธ
ลายมือชื่อ Thongchai Chotikasathian signature.svg
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้  ไทย
ยศ RTA OF-9 (General).svg พลเอก

พลเอก หลวงสุรณรงค์ (ธงไชย โชติกเสถียร) (26 มิถุนายน พ.ศ. 2442 - 18 มกราคม พ.ศ. 2529) เป็นอดีตสมุหราชองครักษ์ และอดีตองคมนตรีในรัชกาลที่ 9

ประวัติ[แก้]

พลเอก หลวงสุรณรงค์ เกิดเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2442 เป็นบุตรชายของ มหาอำมาตย์ตรี พระยาสรรพกิจปรีชา (ชื่น โชติกเสถียร) กับคุณหญิงสรรพกิจปรีชา (ฉลวย โชติกเสถียร) สมรสกับคุณหญิงจรวย โชติกเสถียร ธิดาของ พระยาพิพิธภัณฑวิจารย์ (เจริญ โชติกเสถียร) กับคุณหญิงสุย

หลวงสุรณรงค์ ได้รับแต่งตั้งเป็นสมุหราชองครักษ์ เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2491[1] จนถึงวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2507 เนื่องจากได้รับแต่งตั้งเป็นองคมนตรี[2] กระทั่งถึงแก่อสัญกรรม เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2529 ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ และนาวาอากาศเอก วีระยุทธ ดิษยะศริน ไปในการพระราชทานเพลิงศพ พลเอก หลวงสุรณรงค์ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส เมื่อเวลา 16.55 น. ของวันพฤหัสบดีที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2529[3]

หลวงสุรณรงค์ มีโอกาสตามเสด็จ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ไปเยือนประเทศต่างๆ ถึง 26 ครั้ง[4]

ตำแหน่ง[แก้]

  • 27 มิถุนายน พ.ศ. 2484 ราชองครักษ์เวร[5]
  • 1 มกราคม พ.ศ. 2491 สมุหราชองครักษ์
  • 26 มิถุนายน พ.ศ. 2507 องคมนตรี

บรรดาศักดิ์[แก้]

  • 3 มิถุนายน พ.ศ. 2473 หลวงสุรณรงค์ ถือศักดินา ๘๐๐[6]

ยศทหาร[แก้]

  • 12 สิงหาคม พ.ศ. 2464 ร้อยตรี[7]
  • 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2466 ร้อยโท[8]
  • 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2470 ร้อยเอก[9]
  • 24 เมษายน พ.ศ. 2474 พันตรี[10]
  • 1 เมษายน พ.ศ. 2483 พันโท[11]
  • 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2485 พันเอก[12]
  • 1 มกราคม พ.ศ. 2491 พลตรี[13]
  • 1 มกราคม พ.ศ. 2494 พลโท[14]
  • 1 มกราคม พ.ศ. 2498 พลเอก[15]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ[แก้]

พ.ศ. 2505 - UK Royal Victorian Order ribbon.svg เครื่องราชอิสริยาภรณ์รอยัลวิกตอเรียน ชั้นที่ 1[21]

พ.ศ. 2505 - GER Bundesverdienstkreuz 6 GrVK Stern Band.svg เครื่องอิสริยาภรณ์คุณธรรมแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ชั้นที่ 4[21]

พ.ศ. 2505 - PRT Order of Prince Henry - Grand Collar BAR.png เครื่องอิสริยาภรณ์อิงฟังตึ เด. เอ็งรีกึ ชั้นสายสร้อย[21]

พ.ศ. 2505 - DNK Order of Danebrog Grand Cross BAR.png เครื่องราชอิสริยาภรณ์แดนเนอโบร ชั้นที่ 1[21]

พ.ศ. 2505 - Order Sint Olaf 1 kl.png เครื่องราชอิสริยาภรณ์นักบุญโอลาฟ ชั้นประถมาภรณ์[21]

พ.ศ. 2505 - Royal Order of the Sword - Commander 1st Class BAR.svg เครื่องราชอิสริยาภรณ์ดาบ ชั้นที่ 1[21]

พ.ศ. 2505 - Cordone di gran Croce OMRI BAR.svg เครื่องอิสริยาภรณ์คุณธรรมแห่งสาธารณรัฐอิตาลี ชั้นที่ 1[21]

พ.ศ. 2505 - Order of Pope Sylvester BAR.svg เครื่องอิสริยาภรณ์เซนต์ซิลเวสเตอร์ ชั้นที่ 1[21]

พ.ศ. 2505 - BEL Kroonorde Grootkruis BAR.svg เครื่องราชอิสริยาภรณ์กูโรนน์ ชั้นที่ 1 [21]

พ.ศ. 2505 - Legion Honneur GO ribbon.svg เครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์ ชั้นกร็องตอฟีซีเย[21]

พ.ศ. 2505 - LUX Ordre de Mérite civil et militaire d'Adolphe de Nassau - Grand-croix BAR.svg เครื่องราชอิสริยาภรณ์อดอล์ฟ นัสโซ ชั้นที่ 1[21]

พ.ศ. 2505 - NLD Order of Orange-Nassau - Grand Officer BAR.png เครื่องราชอิสริยาภรณ์ออเรนจ์-นัสเซา ชั้นนายทัพ[21]

พ.ศ. 2506 - JPN Kyokujitsu-sho 1Class BAR.svg เครื่องราชอิสริยาภรณ์อาทิตย์อุทัย ชั้นที่ 1[22]

อ้างอิง[แก้]

  1. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้สมุหราชองครักษ์พ้นจากตำแหน่งและตั้งสมุหราชองครักษ์
  2. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งองคมนตรี (พลเอก หลวงสุรณรงค์)
  3. ข่าวในพระราชสำนัก (หน้า ๒๗-๒๘)
  4. เรื่องตามเสด็จอเมริกา ; จดหมายถึงเพื่อน จาก หม่อมเจ้าวิภาวดี รังสิต 14 มิถุนายน ถึง 18 สิงหาคม พ.ศ. 2503 กรุงเทพฯ : ประชาชน, 2529
  5. ประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่อง ตั้งราชองครักษ์
  6. พระราชทานบรรดาศักดิ์ (หน้า ๙๓๙)
  7. พระราชทานยศทหารบก
  8. พระราชทานยศทหารและข้าราชการในกระทรวงกลาโหม (หน้า ๔๗๓)
  9. พระราชทานยศทหารบก (หน้า ๔๑๔)
  10. พระราชทานยศ (หน้า ๓๑๗)
  11. ประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่อง พระราชทานยศทหาร (หน้า ๕๓๑)
  12. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
  13. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
  14. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
  15. ประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
  16. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๐, ตอน ๑๒๒ ง ฉบับพิเศษ, ๒๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๖, หน้า ๑๙
  17. ประกาศพระราชทานถานธนกรแห่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดีและเหรียญรามมาลา (หน้า ๑๕๕)
  18. แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน (หน้า ๑๙๕๑)
  19. แจ้งความ ส่งเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลาไปพระราชทาน[ลิงก์เสีย]
  20. แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ (หน้า ๒๐๔๘)
  21. 21.00 21.01 21.02 21.03 21.04 21.05 21.06 21.07 21.08 21.09 21.10 21.11 ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
  22. เครื่องราชอิสริยาภรณ์อาทิตย์อุทัย ชั้นที่ 1