ข้ามไปเนื้อหา

ความสัมพันธ์จีน–อิสราเอล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ความสัมพันธ์จีน–อิสราเอล
Map indicating location of China and Israel

จีน

อิสราเอล

สาธารณรัฐประชาชนจีนกับรัฐอิสราเอลสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการใน ค.ศ. 1992[1][2] ในขณะที่สาธารณรัฐจีนรับรองความเป็นอธิปไตยของอิสราเอลโดยนิตินัยใน ค.ศ. 1949 ประเทศนี้พ่ายแพ้ต่อสงครามกลางเมืองจีน ทำให้พรรคคอมมิวนิสต์จีนขึ้นมามีอำนาจทั่วจีนแผ่นดินใหญ่ ใน ค.ศ. 1950 อิสราเอลเป็นประเทศแรกในตะวันออกกลางที่รับรองสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นรัฐบาลเดียวของจีน[3] แต่พรรคคอมมิวนิสต์จีนไม่ตอบสนองด้วยการสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต เนื่องจากอิสราเอลเข้าร่วมในกลุ่มตะวันตกในช่วงสงครามเย็น ความไม่พอใจนี้ยังคงมีอยู่จนกระทั่งสงครามเย็นสิ้นสุดลงด้วยการล่มสลายของสหภาพโซเวียตใน ค.ศ. 1991

ประเทศจีนเป็นคู่ค้าที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของอิสราเอล และเป็นคู่ค้ารายใหญ่สุดของอิสราเอลในเอเชียตะวันออก[4][5] การค้าทวิภาคีมีปริมาณเพิ่มขึ้นจาก 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐใน ค.ศ. 1992 ไปเป็นมากกว่า 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐใน ค.ศ. 2013[6] อิสราเอลค้าขายเทคโนโลยีและอาวุธกับจีนอย่างมาก[7][8][9] นักวิจารณ์บางคนสังเกตเห็นความคล้ายคลึงกันระหว่างวัฒนธรรมและค่านิยมของทั้งสองชาติ[10] เช่นเดียวกันกับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกัน[11][5] ประเทศจีนเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศบนโลกที่คงความสัมพันธ์อันอบอุ่นร่วมกันกับอิสราเอล รัฐปาเลสไตน์ และโลกมุสลิมส่วนใหญ่[12]

สถานะของจีนในฐานะมหาอำนาจโลกที่เป็นไปได้ กระตุ้นให้อิสราเอลรักษาความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประเทศนี้ และบูรณาการอิทธิพลระดับโลกของจีนเข้ากับการจัดด้านเศรษฐกิจของอิสราเอล[13][14][15] อิสราเอลมีสถานเอกอัครราชทูตของตนเองที่ปักกิ่ง และกงสุลใหญ่ที่กวางโจว, เฉิงตู, ฮ่องกง และเซี่ยงไฮ้ ส่วนจีนมีสถานเอกอัครราชทูตที่เทลอาวีฟ

อ้างอิง[แก้]

  1. "China marks 17 years with Israel" เก็บถาวร 2009-10-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Haaretz. 27 September 2009. Retrieved 11 March 2013.
  2. Kessler, Oren (March 13, 2012). "Shalom, Beijing". Foreign Policy. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 13, 2022. สืบค้นเมื่อ January 14, 2022.
  3. Han, Xiaoxing (1993). "Sino-Israeli Relations". Journal of Palestine Studies. 22 (2): 62–77. doi:10.2307/2537269. ISSN 0377-919X. JSTOR 2537269.
  4. Benmeleh, Yaacov (May 19, 2014). "Israel's Tech Industry Is Becoming All About 'China, China, China". Bloomberg News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-08. สืบค้นเมื่อ 2017-08-23.
  5. 5.0 5.1 Gregory Noddin Poulin, The Diplomat (1 December 2014). "Sino-Israeli Economic Ties Blossoming". The Diplomat. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 May 2021. สืบค้นเมื่อ 12 February 2021.
  6. "China-Israel relations are bound to blossom H.E. GAO YANPING". The Jerusalem Post. 3 April 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-04-22. สืบค้นเมื่อ 2014-06-10.
  7. Chester, Sam (June 28, 2013). "As Chinese-Israeli Relations Enjoy a Second Honeymoon, America Frets". Tablet. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 16, 2021. สืบค้นเมื่อ August 11, 2017.
  8. "Israel, China in Talks to Become Major Financial Allies". Israel National News. July 7, 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 24, 2021. สืบค้นเมื่อ August 11, 2017.
  9. Tepper, Aryeh (September 2015). "China's Deepening Interest in Israel". The Tower Magazine. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-09-01. สืบค้นเมื่อ 2017-07-30.
  10. Walgrove, Amanda (March 25, 2011). "Jewish History in China Boosting Sino-Israeli Relations". Moment. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 9, 2020. สืบค้นเมื่อ August 23, 2017.
  11. Katz, Yaakov (May 15, 2017). "How Israel Used Weapons and Technology to Become an Ally of China". Newsweek. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 27, 2022. สืบค้นเมื่อ July 30, 2017.
  12. Lin, Christina (July 26, 2014). "Will the Middle Kingdom Join the Middle East Peace Quartet?". The Times of Israel. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 July 2014. สืบค้นเมื่อ 29 July 2014.
  13. "China learns Israeli agri-tech". Consulate of Israel in Hong Kong and Macau. May 3, 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 11, 2022. สืบค้นเมื่อ August 23, 2017.
  14. Keeley, Sean (January 24, 2017). "The Eight Great Powers of 2017". The American Interest. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 7, 2020. สืบค้นเมื่อ July 18, 2017.
  15. Evron, Yoram (18 April 2015). "Opinion – US alienation leading to Israeli-Chinese renaissance". Ynetnews. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-04-25. สืบค้นเมื่อ 2017-07-18.

ข้อมูล[แก้]