ข้ามไปเนื้อหา

ฮานาโกะ (ช้าง)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฮานาโกะ
ฮานาโกะ (ถ่ายเมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2549)
สปีชีส์ช้างเอเชีย
เพศเมีย
เกิดพังคชา
พ.ศ. 2490
ประเทศไทย
ตาย26 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 (69 ปี)
สวนสัตว์อิโนกาชิระ มูซาชิโนะ โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
เป็นที่รู้จักสำหรับช้างอายุยืนที่สุดที่ถูกกักขังในญี่ปุ่น
เจ้าของสมหวัง สารสาส (พ.ศ. 2492)
สวนสัตว์อูเอโนะ (พ.ศ. 2492–2497)
สวนสัตว์อิโนกาชิระ (ตั้งแต่ พ.ศ. 2497)

ฮานาโกะ (ญี่ปุ่น: はな子; พ.ศ. 2490 – 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2559)เป็นช้างเอเชีย เพศเมีย ที่ถูกเลี้ยงไว้ที่สวนสัตว์อิโนกาชิระ มูซาชิโนะ โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น[1]

นับเป็นช้างตัวแรกที่มาเยือนญี่ปุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่สอง[2][3] และในเดือนมกราคม พ.ศ. 2556 เมื่ออายุได้ 66 ปี ก็ได้ทำลายสถิติเป็นช้างเอเชียที่อายุยืนที่สุดในประเทศญี่ปุ่น ทำให้เป็นช้างที่มีอายุยืนที่สุดเท่าที่เคยถูกกักขังในประเทศญี่ปุ่น[1][2]

ช่วงชีวิต

[แก้]

แรกเกิดจนมาถึงญี่ปุ่น

[แก้]
ฮานาโกะ พ.ศ. 2552

พังฮานาโกะ เกิดในประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2490[1] เดิมชื่อไทยคือ พังคชา[4][5][6] ก่อนที่จะถูกส่งมาประเทศญี่ปุ่น พังฮานาโกะอาศัยอยู่ในฟาร์มที่กรุงเทพ[7]

อดีตที่ปรึกษาทางการทหารของไทยและนักธุรกิจ[8] สมหวัง สารสาส ได้ซื้อลูกช้างวัย 2 ขวบ จำนวน 1 เชือก ส่งไปให้สวนสัตว์อูเอโนะหลังสงครามโลกครั้งที่สอง[1][9][10] เพื่อเป็นการปลอบโยนเด็ก ๆ ที่ต้องหวาดกลัวสงคราม[11]

พังคชาเดินทางออกจากประเทศไทยโดยเรือโอลาฟ มาร์กส์ ของเดนมาร์ก เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2492 และมาถึงท่าเรือโกเบในวันที่ 2 กันยายน โดยใช้รถไฟบรรทุกสินค้าและรถบรรทุกมาถึงสวนสัตว์อูเอโนะในวันที่ 4 กันยายน ในตอนแรกสวนสัตว์อูเอโนะเรียกช้างว่า คาชาโกะ แต่หลังจากการประกวดหาชื่อสาธารณะในนิตยสารเด็ก[12][13] จึงได้ชื่อใหม่ว่า ฮานาโกะ ตามชื่อ ช้างฮานาโกะตัวเก่า หรือ พังวันดี ซึ่งล้มด้วยการปล่อยให้อดอยากในช่วงสงคราม[4][14] พิธีตั้งชื่อจัดขึ้นที่สวนสาธารณะเมื่อวันที่ 10 กันยายน[15] ช้างอินทิราของขวัญจากอินเดีย มาถึงสวนสัตว์อูเอโนะด้วยเช่นกัน เมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2492 หลังจากการมาถึงของฮานาโกะได้ไม่นาน และมีผู้คนมาเยี่ยมชมสวนสัตว์เกือบ 1 ล้านคนในช่วงสามเดือนจนถึงสิ้นปี[16]

จากอุเอโนะถึงอิโนกาชิระ

[แก้]

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 ช้างฮานาโกะและอินทิราได้เดินทางไปทั่วญี่ปุ่นในฐานะสวนสัตว์เคลื่อนที่ ขณะที่ช้างอินทิราท่องไปทั่วประเทศด้วยรถไฟ ฮานาโกะซึ่งเป็นลูกช้าง ส่วนใหญ่ได้ท่องอยู่ในเขตโตเกียวและได้ไปที่เกาะอิซุโอชิมะเป็นเวลาสองสัปดาห์ นับจากปลายเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2494 และมีเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้น คือช้างได้หลบหนีเข้าไปอยู่ในพุ่มไม้[17] ทัวร์นี้ยังรวมถึงสวนอิโนกาชิระด้วย ซึ่งมาจากการร้องขอจากเมืองมูซาชิโนะและมิตากะ ซึ่งอยากเห็นฮานาโกะและขอให้จัดแสดงฮานาโกะที่นั่น

เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2497 ฮานาโกะถูกย้ายจากสวนสัตว์อูเอโนะไปยังสวนสัตว์อิโนกาชิระ[18] ในช่วงเช้าตรู่ของวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2499 มีอุบัติเหตุทำให้ชายคนหนึ่งที่บุกรุกเข้าไปในคอกช้างเสียชีวิต[7] และอีก 4 ปีต่อมา พ.ศ. 2503 ก็เกิดอุบัติเหตุจนทำให้เจ้าหน้าที่สวนสัตว์เสียชีวิต[1][19][20] ด้วยเหตุนี้ฮานาโกะจึงถูกตราหน้าว่าเป็น ช้างสังหาร จนต้องถูกจับล่ามโซ่และขังเดี่ยว และมีผู้เยี่ยมชมบางส่วนปาก้อนหินใส่ ทำให้ฮานาโกะผอมแห้งเนื่องจากความเครียด[20][21]

สองเดือนหลังจากเกิดอุบัติเหตุ เซโซ ยามาคาวะ ซึ่งได้รับมอบหมายให้ดูแลสวนสัตว์อิโนกาชิระในฐานะผู้ดูแลฮานาโกะ ได้ปลดฮานาโกะออกจากโซ่แล้วพาออกไปที่สนามเด็กเล่น ยามาคาวะดูแลฮานาโกะเป็นเวลากว่า 30 ปีจนกระทั่งเขาเกษียณ และชีวิตของเขายังถูกสร้างเป็นหนังสือและละครโทรทัศน์อีกด้วย[19]

ช่วงต่อมา

[แก้]

เมื่ออายุมากขึ้น ฟันของฮานาโกะหลุดออกเหลือเพียงฟันซี่เดียว คือฟันซี่ซ้ายล่าง ด้วยเหตุนี้ ฮานาโกะจึงได้รับกล้วยและแอปเปิ้ลสับละเอียด[21]

พ.ศ. 2549 อุบัติเหตุเกิดขึ้นอีกครั้ง เจ้าหน้าที่สวนสัตว์ถูกจมูกกระแทก และสัตวแพทย์ถูกจับโยน เพื่อเป็นมาตรการป้องกันอุบัติเหตุ ฤดูร้อน พ.ศ. 2554 วิธีการเลี้ยงจึงเปลี่ยนจากการเลี้ยงโดยตรงเป็นการเลี้ยงแบบทางอ้อม โดยเจ้าหน้าที่สวนสัตว์จะดูแลสัตว์ผ่านรั้ว อย่างไรก็ตาม หัวหน้าผู้ดูแลฮานาโกะกล่าวว่า อุบัติเหตุนั้นเป็นไปไม่ได้ ช้างไม่เหยียบองุ่นสักลูกเดียว พวกเขาฉลาดมากและปฏิบัติด้วยความเข้าใจที่ชัดเจน ชี้ให้เห็นถึงความเป็นไปได้ที่มนุษย์อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุโดยไม่รู้ตัว[19]

ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2558 บล็อกเกอร์ชาวแคนาดาโพสต์ในบล็อกของเขาว่า สัตว์ยืนอยู่โดดเดี่ยวบนคอนกรีต และได้มีการเปิดตัวแคมเปญล่าลายชื่อระดับนานาชาติ โดยมีการรวบรวมลายชื่อมากกว่า 450,000 รายชื่อ[22] ในปีเดียวกันนั้นประเทศไทย ซึ่งเป็นที่ที่ฮานาโกะเกิด รายงานเรื่องเกี่ยวกับฮานาโกะ[5] มีการหารือเกี่ยวกับมาตรการปรับปรุงระหว่างบล็อกเกอร์และสวนสัตว์ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2559[22]

ช่วงสุดท้าย

[แก้]
ดอกไม้และผลไม้รำลึกหลังการล้มของฮานาโกะ
ดอกไม้รำลึกหลังการล้มของฮานาโกะ

ฮานาโกะล้มในวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 อายุ 69 ปี[1][3] ประกาศเบื้องต้นกล่าวถึงสาเหตุการล้มคือวัยชรา[1][3] แต่การชันสูตรซากในวันรุ่งขึ้นคือวันที่ 27 เปิดเผยว่า สาเหตุการล้ม คือ การหายใจล้มเหลว และเป็นโรคข้ออักเสบเรื้อรังบริเวณขาหน้าด้านขวา กล้องวงจรปิดของคอกช้างแสดงให้เห็นว่าฮานาโกะทรุดตัวลงเมื่อเวลาประมาณ 01:25 น. ของวันที่ 26[23] จนกระทั่งเวลาประมาณ 08:30 น. เจ้าหน้าที่สวนสัตว์ก็สังเกตเห็นบางสิ่งที่ผิดปกติ จนกระทั่งหลังเวลา 15.00 น. จึงได้รับยืนยันการล้ม[1] โดยมีผู้ดูแลฮานาโกะกว่า 20 คน[3] เชื่อว่าน้ำหนักของร่างกายที่มากกว่า 2 ตัน กดดันปอดอย่างต่อเนื่องส่งผลให้ระบบหายใจล้มเหลว[23] ซากถูกบริจาคให้กับพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติและวิทยาศาสตร์แห่งชาติ[23]

วันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2559 มีการจัดงานอำลาที่สวนอิโนกาชิระ[24] มีผู้คนมาวางดอกไม้ 2,800 คน[25]

นิทรรศการพิเศษติดตามชีวิตของฮานาโกะจัดขึ้นที่พิพิธภัณฑ์ในสวนอิโนกาชิระตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2559 ถึง พ.ศ. 2560[26]

ในวันครบรอบการเสียชีวิตของฮานาโกะ มีการตั้งแผงขายดอกไม้หน้าอนุสรณ์สถานสัตว์ในสวนอิโนกาชิระ ผู้มาเยี่ยมชมจะวางดอกไม้ แอปเปิ้ล กล้วย การ์ดข้อความ ฯลฯ[27]

รูปปั้นทองสัมฤทธิ์

[แก้]

เมืองมูซาชิโนะเปิดรับบริจาคเพื่อติดตั้งรูปปั้นนี้[28] และใช้เวลาเก้าเดือนในการสร้างโดย อากิ ฟูเอดะ ศิลปินในเมือง[29][30] วันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 รูปปั้นทองสัมฤทธิ์สร้างเสร็จ และตั้งที่ลานทางออกทิศเหนือหน้าสถานีรถไฟคิชิโจจิ[31] และมีการจัดพิธีเปิดตัว[32] ตั้งแต่นั้นมารูปปั้นทองสัมฤทธิ์ของฮานาโกะก็กลายเป็นสถานที่นัดพบยอดนิยมหน้าสถานีคิชิโจจิ

ป้ายทะเบียนดีไซน์ฮานาโกะ

[แก้]

ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2560 เพื่อเป็นการฉลองครบรอบ 70 ปี ของการสถาปนาเมืองมุซาชิโนะ จึงมีการออกป้ายทะเบียนรถมอเตอร์ไซค์รูปทรงฮานาโกะ ออกแบบโดย นาโอโกะ คิตะมูระ นักออกแบบพิเศษของสวนธรรมชาติและวัฒนธรรมอิโนกาชิระ มีการออกป้ายทะเบียนสามสีจำนวนจำกัด (สีขาว สีเหลือง และสีชมพู) ขึ้นอยู่กับความจุของเครื่องยนต์[33]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 1.7 "ゾウ:国内最高齢「はな子」死ぬ69歳 井の頭自然文化園". 毎日新聞. 2016-05-26. สืบค้นเมื่อ 2016-09-19.
  2. 2.0 2.1 "ゾウの「はな子」66歳に 国内最高齢、戦後初めて来日". 福井新聞. 2013-01-20. สืบค้นเมื่อ 2016-09-19.[ลิงก์เสีย]แม่แบบ:リンク切れ
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 ""平和の使者"ゾウの「はな子」死ぬ 国内最高齢「日本一愛され…」". イザ!産業経済新聞社. 2016-05-26. สืบค้นเมื่อ 2016-09-19.
  4. 4.0 4.1 "日本で会えるタイの象5「人気者のはな子1」". 在京タイ王国大使館. 2009-09-09. สืบค้นเมื่อ 2016-09-19. {{cite web}}: ข้อความ "和書" ถูกละเว้น (help)
  5. 5.0 5.1 "น้ำตาไหลพราก! "ฮานาโกะ" ทูตช้างไทย คงไม่มีวันกลับไทย![[หมวดหมู่:บทความที่มีข้อความภาษาไทยอ้างอิงอย่างชัดเจน]]". ASTVプーヂャッガーン (ภาษาタイ語). 2015-12-08. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-09-19. สืบค้นเมื่อ 2016-09-19. {{cite news}}: URL–wikilink ขัดแย้งกัน (help)CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  6. "เปิดประวัติ"ฮานาโกะ" "ช้างไทย"ดังไกลในสวนสัตว์ญี่ปุ่น[[หมวดหมู่:บทความที่มีข้อความภาษาไทยอ้างอิงอย่างชัดเจน]]". en:Nation TV (Thailand) (ภาษาタイ語). 2016-05-26. สืบค้นเมื่อ 2016-09-19. {{cite news}}: URL–wikilink ขัดแย้งกัน (help)CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  7. 7.0 7.1 "象にふみ殺される 忍び込んだ中年男 井之頭の自然文化園で". 朝日新聞(夕刊). 1956-06-14. p. 3.
  8. "ソムアン・サラサス氏(元タイ国軍事顧問)". 草莽全国地方議員の会. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-30. สืบค้นเมื่อ 2016-09-19. {{cite web}}: ข้อความ "和書" ถูกละเว้น (help)
  9. 丸山ゴンザレス (2014-06). "タイと日本の関係は誰がつくってきたのか?". アジア親日の履歴書 : アジアが日本を尊敬する本当のワケを調べてみた. 辰巳出版. ISBN 9784777812967. {{cite book}}: ข้อความ "和書" ถูกละเว้น (help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |year= (help)
  10. "Fans bid farewell to Japan's oldest elephant Hanako[[หมวดหมู่:บทความที่มีข้อความภาษาอังกฤษ]]". Kyodo News 共同通信社. 2016-05-27. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016年8月6日. สืบค้นเมื่อ 2016-09-18. {{cite web}}: URL–wikilink ขัดแย้งกัน (help); ข้อความ "和書" ถูกละเว้น (help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |archivedate= (help); ไม่อนุญาตให้ใช้มาร์กอัปตัวเอียงหรือตัวหนาใน: |publisher= (help)
  11. ฮานาโกะ : ช้างไทยผู้โดดเดี่ยวที่สุดในโลก ที่ถูกส่งไปเยียวยาหัวใจเด็กญี่ปุ่น sarakadeelite
  12. "講談社 2016年5月27日 Facebook". www.facebook.com (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2022-09-12. {{cite web}}: ข้อความ "和書" ถูกละเว้น (help)
  13. 講談社の歩んだ五十年. 昭和編. 講談社. 1959. pp. 710–711. NDLJP:2941670/368. {{cite book}}: ข้อความ "和書" ถูกละเว้น (help)
  14. "ช้างไทยในญี่ปุ่น ตอนที่ 3 (ช้างฮานาโกะ (วันดี) และช้างไทยในอดีต)[[หมวดหมู่:บทความที่มีข้อความภาษาไทยอ้างอิงอย่างชัดเจน]]" (ภาษาタイ語). 在京タイ王国大使館. 2009-10-19. สืบค้นเมื่อ 2016-09-19. {{cite web}}: URL–wikilink ขัดแย้งกัน (help)CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  15. 「はな子さん ガジャ嬢改名」『朝日新聞』1949年9月9日、2面
  16. "Vol.59 象インディラの来日 子どもの願いにネール即決 昭和24年9月(1/2)- 昭和史再訪セレクション - 地球発". 朝日新聞. 2009-09-19. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-26. สืบค้นเมื่อ 2016-09-18. {{cite web}}: ข้อความ "和書" ถูกละเว้น (help)
  17. "はな子の50年(3)大島で"大冒険"巡る各地で熱烈歓迎". 読売新聞 東京朝刊 32面. 2004/3/4. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  18. "井の頭自然文化園のアジアゾウ「はな子」に感謝状を贈呈します". 三鷹市. 2012-01-31. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-04-14. สืบค้นเมื่อ 2016-09-19. {{cite web}}: ข้อความ "和書" ถูกละเว้น (help)
  19. 19.0 19.1 19.2 "「はな子」お世話、今後は柵越しだゾウ 飼育事故多発で". 朝日新聞. 2011-08-23. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011年9月24日. สืบค้นเมื่อ 2016-09-19. {{cite web}}: ข้อความ "和書" ถูกละเว้น (help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |archivedate= (help); ไม่อนุญาตให้ใช้มาร์กอัปตัวเอียงหรือตัวหนาใน: |publisher= (help)
  20. 20.0 20.1 "アジアゾウ「はな子」が人間に背を向け、壁を見ていた理由". バズフィード. 2016-05-27. สืบค้นเมื่อ 2016-09-19.
  21. 21.0 21.1 "父の生き方は象のはな子がみんな教えてくれた". 産経新聞. 2007-02-04. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-09-03. สืบค้นเมื่อ 2016-09-19.
  22. 22.0 22.1 "「はな子」に幸せな余生を=騒動発端のブロガーと対話-井の頭動物園". 時事通信社. 2016-04-03. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-06-30. สืบค้นเมื่อ 2016-09-18.
  23. 23.0 23.1 23.2 "ゾウ「はな子」、死因は呼吸不全 国立科学博物館に寄贈". 朝日新聞. 2016-05-27. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-10. สืบค้นเมื่อ 2016-09-18.
  24. "ゾウ:「はな子」お別れ会 9月3日、井の頭自然文化園 /東京". 毎日新聞. 2016-07-27. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-31. สืบค้นเมื่อ 2016-07-27.
  25. "「はな子、ありがとう」 お別れ会で2800人が献花 東京". 産経新聞. 産経新聞社. 2016-09-04. p. 1-2. สืบค้นเมื่อ 2017-12-31. {{cite news}}: ระบุ |work= และ |newspaper= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  26. 資料館特設展示「アジアゾウはな子の69年」開催中(1/29まで)東京ズーネット/井の頭自然文化園(2016年9月24日)2018年6月23日閲覧。
  27. 「はな子 安らかに眠って」死後2年/献花台 多くの来場者『読売新聞』朝刊2018年5月27日(都民面)。
  28. "東京都武蔵野市twitter @musashino_hope 午後3:50 · 2016年10月6日". twitter. สืบค้นเมื่อ 2022/9/28. {{cite web}}: ข้อความ "和書" ถูกละเว้น (help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  29. "武蔵野市 季刊むさしの ナンバー117 2016年冬号 トピックス01 はな子と歩んだ69 年にありがとう" (PDF). 武蔵野市. สืบค้นเมื่อ 2022/9/28. {{cite web}}: ข้อความ "和書" ถูกละเว้น (help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  30. "武蔵野ジャーナル 2017 SUMMER 「はな子」の銅像がついにお披露目" (PDF). 武蔵野市. สืบค้นเมื่อ 2022/9/28. {{cite web}}: ข้อความ "和書" ถูกละเว้น (help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  31. "「はな子」が銅ゾウに 吉祥寺駅前に来年5月完成へ制作費募る". 東京新聞. 2016-08-30. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016年9月2日. สืบค้นเมื่อ 2016-09-01. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |archivedate= (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadlinkdate= ถูกละเว้น (help)
  32. "ゾウはな子:銅像の除幕式 東京・吉祥寺駅前広場に - 毎日新聞". 毎日新聞. 2017-05-05. สืบค้นเมื่อ 2017-05-16.
  33. "武蔵野市 ゾウのはな子の原付用ナンバープレート交付について". 武蔵野市. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-09-29. สืบค้นเมื่อ 2022/9/28. {{cite web}}: ข้อความ "和書" ถูกละเว้น (help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]