รูป (ศาสนาพุทธ)
ส่วนหนึ่งของ |
ศาสนาพุทธ |
---|
![]() |
รูปในทางพุทธศาสนา มีหลายความหมาย ดังนี้
- เป็นธรรมะคำหนึ่งอย่างเช่นในคำว่า
- นามธรรม แปลว่า สิ่งชำรุดทรุดโทรม, สิ่งที่แตกสลาย, สิ่งที่ผันแปรได้
- หมายถึงรูปร่างที่มองเห็นด้วยตา คือร่างกายหรือตัวตนของคน สัตว์สิ่งของ อันเกิดขึ้นจากการรวมตัวของธาตุ 4 คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม จัดเป็นหนึ่งในขันธ์ 5 (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) มีสภาวะเกิดดับคือ เกิด แก่ เจ็บ และ ตาย
- ใช้เป็นคำแสดงลักษณะหรือลักษณะนามของภิกษุสามเณร เช่นภิกษุ 3 รูป สามเณร 5 รูป
- ในสมัยก่อนใช้เป็นคำแทนตัวเองของภิกษุสามเณรที่พูดกับคฤหัสถ์ เช่นเดียวกับคำว่า อาตมา, ฉัน เช่น "วันนี้รูปไปไม่ได้หรอกโยม รูปไม่ว่าง" หมายความว่า "อาตมาไปไม่ได้ ไม่ว่าง" นั่นเอง
รูป๒๘[แก้]
มหาภูตรูป๔[แก้]
อุปาทายรูป๒๔[แก้]
ปสาทรูป๕[แก้]
จักขุปสาท โสตปสาท ฆานปสาท ชิวหาปสาท กายปสาท
โคจรรูป๔[แก้]
รูปะ สัททะ คันธะ รสะ
ภาวรูป๒[แก้]
ปริสภาวะ ภาวะแห่งบุรุษ อิตถีภาวะ ภาวะแห่งสตรี
หทยรูป๑[แก้]
เป็นรูปที่เกิดจากกรรมเป็นสมุฏฐาน ตั้งอยู่ภายในช่องเนื้อเยื่อหัวใจโตเท่าเมล็ดดอกบุนนาค เป็นที่อาศัยเกิดของจิต (จิตประเภทมโนธาตุ และมโนวิญญาณธาตุ) เพื่อการรู้ธรรมารมณ์
ชีวิตรูป๑[แก้]
ชีวิตรูป ความเป็นชีวิต (ชีวิตินทรีย์) ที่เกิดจากกฎพีชนิยามคือ สมตา (ปรับให้เหมาะสม) ชีวิตา (มีกระบวนการทำงาน) วัฏฏตา (มีระบบสืบพันธุ์)
อาหารรูป๑[แก้]
อาหารรูป
ปริจเฉทรูป๑[แก้]
ปริจเฉทรูป ช่องว่างต่างๆภายในกาย
วิญญัติรูป๒[แก้]
กายวิญญัติ การกระทำทางกาย วจีวิญญัติ การกระทำทางวาจา
วิการรูป๓[แก้]
รูปปัสสะ ลหุตา ความเบาแห่งรูป รูปัสสะมุทุตา ความอ่อนแห่งรูป รูปปัสสะ กัมมัญญตา ความควรแก่การงาน พอเหมาะ พอประมาณ แห่งรูป
ลักขณรูป๔[แก้]
รุปปัสสะ อุจจโย ความเติบโตแห่งรูป รูปปัสสะ สันตติ ความสืบต่อแห่งรูป รุปํสสะ ชรตา ความทรุดโทรมแห่งรูป รูปัสสะ อนิจจัง ความแปรปรวนแห่งรูป
อ้างอิง[แก้]
- พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ. ๙ ราชบัณฑิต พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด, วัดราชโอรสาราม กรุงเทพฯ พ.ศ. 2548