ข้ามไปเนื้อหา

รายชื่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพถ่ายของชำนาญ ยุวบูรณ์
ภาพถ่ายของธรรมนูญ เทียนเงิน
ภาพถ่ายของหม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร
ภาพถ่ายของชัชชาติ สิทธิพันธุ์

ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายบริหารของกรุงเทพมหานคร มีผู้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครไปแล้วทั้งสิ้น 17 คน 20 วาระ จำแนกเป็นผู้ว่าราชการที่มาจากการเลือกตั้ง 8 คน มาจากการแต่งตั้ง 9 คน

ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนแรก คือ ชำนาญ ยุวบูรณ์ ผู้ดำรงตำแหน่งคนแรกที่มาจากการเลือกตั้ง คือ ธรรมนูญ เทียนเงิน ผู้ดำรงตำแหน่งเป็นระยะเวลานานที่สุด คือ หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ดำรงตำแหน่งคนปัจจุบัน คือ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครที่ยังมีชีวิตอยู่มีจำนวน 6 คน ได้แก่ อาษา เมฆสวรรค์, จำลอง ศรีเมือง, พิจิตต รัตตกุล, อภิรักษ์ โกษะโยธิน, หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร และอัศวิน ขวัญเมือง

รายชื่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

[แก้]
ลำดับ รูป ชื่อ ที่มา วาระดำรงตำแหน่ง พรรค
เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ
(สิ้นสุดโดย)
ระยะเวลา
1 ชำนาญ ยุวบูรณ์ แต่งตั้งโดยคณะรัฐมนตรี 1 มกราคม พ.ศ. 2516[1] 22 ตุลาคม พ.ศ. 2516 0 ปี 294 วัน -
2 อรรถ วิสูตรโยธาภิบาล แต่งตั้งโดยคณะรัฐมนตรี 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2516[2] 4 มิถุนายน พ.ศ. 2517 0 ปี 215 วัน -
3 ศิริ สันติบุตร แต่งตั้งโดยคณะรัฐมนตรี 5 มิถุนายน พ.ศ. 2517[3] 13 มีนาคม พ.ศ. 2518 0 ปี 281 วัน -
4 สาย หุตะเจริญ แต่งตั้งโดยคณะรัฐมนตรี 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2518[4] 9 สิงหาคม พ.ศ. 2518 0 ปี 72 วัน -
5 ธรรมนูญ เทียนเงิน เลือกตั้ง พ.ศ. 2518 10 สิงหาคม พ.ศ. 2518 29 เมษายน พ.ศ. 2520 1 ปี 262 วัน ประชาธิปัตย์
6 ชลอ ธรรมศิริ แต่งตั้งโดยกระทรวงมหาดไทย 29 เมษายน พ.ศ. 2520 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 2 ปี 15 วัน -
7 เชาวน์วัศ สุดลาภา แต่งตั้งโดยกระทรวงมหาดไทย 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2522 16 เมษายน พ.ศ. 2524 1 ปี 286 วัน -
8 เทียม มกรานนท์ แต่งตั้งโดยกระทรวงมหาดไทย 28 เมษายน พ.ศ. 2524 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2527 3 ปี 187 วัน -
9 อาษา เมฆสวรรค์ แต่งตั้งโดยกระทรวงมหาดไทย 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2527 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2528 1 ปี 7 วัน -
10 พลตรี จำลอง ศรีเมือง เลือกตั้ง พ.ศ. 2528 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2528 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 6 ปี 15 วัน กลุ่มรวมพลัง
เลือกตั้ง พ.ศ. 2533 7 มกราคม พ.ศ. 2533 22 มกราคม พ.ศ. 2535 พลังธรรม
11 ร้อยเอก กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา เลือกตั้ง พ.ศ. 2535 19 เมษายน พ.ศ. 2535 18 เมษายน พ.ศ. 2539 4 ปี 0 วัน พลังธรรม
12 พิจิตต รัตตกุล เลือกตั้ง พ.ศ. 2539 3 มิถุนายน พ.ศ. 2539 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 4 ปี 49 วัน กลุ่มมดงาน[a]
13 สมัคร สุนทรเวช เลือกตั้ง พ.ศ. 2543 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 28 สิงหาคม พ.ศ. 2547 4 ปี 36 วัน ประชากรไทย
14 อภิรักษ์ โกษะโยธิน เลือกตั้ง พ.ศ. 2547 29 สิงหาคม พ.ศ. 2547 5 ตุลาคม พ.ศ. 2551 4 ปี 82 วัน ประชาธิปัตย์
เลือกตั้ง พ.ศ. 2551 5 ตุลาคม พ.ศ. 2551 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
(ลาออก)[5]
15 หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร เลือกตั้ง พ.ศ. 2552 11 มกราคม พ.ศ. 2552 9 มกราคม พ.ศ. 2556
(ลาออก)[6]
6 ปี 202 วัน[b] ประชาธิปัตย์
เลือกตั้ง พ.ศ. 2556 3 มีนาคม พ.ศ. 2556 18 ตุลาคม พ.ศ. 2559[c]
16 พลตำรวจเอก อัศวิน ขวัญเมือง แต่งตั้งโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2559[9] 24 มีนาคม พ.ศ. 2565
(ลาออก)[10]
5 ปี 157 วัน -
17 ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ เลือกตั้ง พ.ศ. 2565 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2565[11] ปัจจุบัน 2 ปี 197 วัน อิสระ

ดูเพิ่ม

[แก้]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. เป็นสมาชิกพรรคกิจสังคม แต่ไม่ได้ลงเลือกตั้งในนามพรรค
  2. หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร เคยถูกพักงานเนื่องจากศาลอุทธรณ์ภาค 1 รับคำร้องของคณะกรรมการการเลือกตั้ง กรณีที่สุเทพ เทือกสุบรรณ หาเสียงเลือกตั้งสนับสนุนหม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์โดยปราศรัยโจมตีพลตำรวจเอก พงศพัศ พงษ์เจริญ หนึ่งในผู้สมัคร ระหว่างที่หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์พักงาน ผุสดี ตามไท รักษาการแทนตั้งแต่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2557 ต่อมาวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2557 ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง[7]
  3. วันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2559 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้ใช้อำนาจตามมาตรา 44 ของ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ออกคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 50/2559 ให้พักงาน หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร จากตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครโดยไม่พ้นจากตำแหน่ง[8] และวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ได้ใช้อำนาจตามมาตรา 44 ให้พ้นจากตำแหน่ง[9]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร, เล่ม 90 ตอนที่ 16 ฉบับพิเศษ หน้า 3, 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2516.
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร, เล่ม 90 ตอนที่ 141 ฉบับพิเศษ หน้า 6, 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2516.
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร, เล่ม 91 ตอนที่ 100 หน้า 2572, 11 มิถุนายน พ.ศ. 2517.
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งผู้ปฏิบัติหน้าที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร, เล่ม 92 ตอนที่ 109 หน้า 1394, 10 มิถุนายน พ.ศ. 2518.
  5. "สปิริต"อภิรักษ์"ลาออกขอโทษคนกทม.-กกต.คาดเลือกใหม่ 11 ม.ค.นี้". mgronline.com. 2008-11-13.
  6. "เผย ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม.จะลาออกในวันพรุ่งนี้". thaiza. 2013-01-08.
  7. "สุขุมพันธุ์"รอด!ศาลยกคำร้องคดีใบเหลือง เก็บถาวร 2021-06-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, โพสต์ทูเดย์, 5 กันยายน พ.ศ. 2557
  8. ราชกิจจานุเบกษา, คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 50/2559 เรื่อง ประกาศรายชื่อเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ระหว่างการถูกตรวจสอบเพิ่มเติม ครั้งที่ 6 เล่ม 133 ตอนพิเศษ 188 ง หน้า 17, วันที่ 25 สิงหาคม 2559
  9. 9.0 9.1 ราชกิจจานุเบกษา, คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 64/2559 เรื่อง การให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพ้นจากตำแหน่ง และการแต่งตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เล่ม 133 ตอนพิเศษ 238 ง หน้า 9, วันที่ 18 ตุลาคม 2559
  10. ""อัศวิน" เซ็นลาออก "ผู้ว่าฯ กทม." แล้ว ปิดฉาก "คสช." แต่งตั้ง 5 ปี 5 เดือน 5 วัน". bangkokbiznews. 2022-03-24.
  11. "กทม.ติดประกาศนโยบาย "ชัชชาติ" 214 ข้อ สั่งห้ามถ่ายรูปหน้าห้อง ผู้ว่าฯ". www.thairath.co.th. 2022-05-31.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]