มโน
ส่วนหนึ่งของ |
ศาสนาพุทธ |
---|
![]() |
มโน แปลว่า ใจ, ความคิด, อยู่ในกลุ่มคำที่มีความหมายคล้ายกันคือ จิต มนัส เป็นอายตนะภายในอย่างสุดท้ายใน 6 อย่างคือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
มโน ปกติใช้นำหน้าคำอื่นๆ ที่แสดงถึงความเกี่ยวเนื่องกับใจ เช่น
- มโนกรรม การกระทำทางใจ
- มโนทวาร ทวารคือใจ
- มโนทุจริต การประพฤติชั่วด้วยใจ
- มโนสุจริต การประพฤติชอบด้วยใจ
- มโนวิญญาณ ความรู้ทางใจ
- มโนสัมผัส สัมผัสทางใจ
- มโนรม เป็นที่ชอบใจ
มโนหมายถึง สภาวะของจิตที่น้อมจิตไปกำหนดสนใจ ตามเจตสิกที่เข้ามาปรุงแต่งให้จิตเพ่งความสนใจ ในอายตนะต่างๆ โดยเฉพาะ
มโนวิญญาณคือการน้อมจิตไปในธรรมารมณ์ทั้ง 3 คือ1.การน้อมจิตเสพเวทนา 2.การน้อมจิตระลึกถึงความจำในสัญญา(การนึก) และ3.การน้อมจิตปรุงแต่งสังขาร 3 คือกายสังขาร(เคลื่อนไหวร่างกาย) วจีสังขาร(การคิด) จิตสังขาร(ปรุงแต่งอารมณ์แก่จิต)
มโนเป็นทั้งภวังคจิต เป็นทั้งวิถีจิต ตามวาระขณะจิตนั้นๆ
- ภวังคจิต หมายเอา มโนทวาร
- วิถีจิต หมายเอา มโนวิญญาณ
อ้างอิง[แก้]
- พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ. ๙ ราชบัณฑิต พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด, วัดราชโอรสาราม กรุงเทพฯ พ.ศ. 2548