ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อ็อทโทที่ 1 มหาราช"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Darkydury (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Darkydury (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 91: บรรทัด 91:


* [https://www.thoughtco.com/otto-i-profile-1789230 Holy Roman Emperor Otto I: ThoughtCo.]
* [https://www.thoughtco.com/otto-i-profile-1789230 Holy Roman Emperor Otto I: ThoughtCo.]

<br />
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
{{รายการอ้างอิง}}
<references group="lower-alpha"/>
<references group="lower-alpha"/>

รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:01, 14 มีนาคม 2562

ออทโทที่ 1 มหาราช
รูปปั้นในมัคเดอบวร์ค
จักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
ครองราชย์2 กุมภาพันธ์ 962 – 7 เมษายน 973
ราชาภิเษก2 กุมภาพันธ์ 962[1]
ณ กรุงโรม
ก่อนหน้าพระเจ้าเบเรนการ์ที่ 2
ถัดไปจักรพรรดิออทโทที่ 2
กษัตริย์แห่งอิตาลี
ครองราชย์25 ธันวาคม 961 – 7 พฤษภาคม 973
ราชาภิเษก10 ตุลาคม 951[a]
ปาวีอา
ก่อนหน้าพระเจ้าเบเรนการ์ที่ 2
ถัดไปจักรพรรดิออทโทที่ 2
กษัตริย์แห่งแฟรงก์ตะวันออก
ครองราชย์2 กรกฎาคม 936 – 7 พฤษภาคม 973
ราชาภิเษก7 สิงหาคม 936
อาเคิน
ก่อนหน้าพระเจ้าไฮน์ริชที่ 1
ถัดไปจักรพรรดิออทโทที่ 2
ดยุกแห่งซัคเซิน
ครองราชย์2 กรกฎาคม 936 – 7 พฤษภาคม 973
ก่อนหน้าพระเจ้าไฮน์ริชที่ 1 แห่งเยอรมนี
ถัดไปเบอร์นาร์ดที่ 1
ประสูติ23 พฤศจิกายน ค.ศ. 912(912-11-23)
อาณาจักรแฟรงก์ตะวันออก[2]
สวรรคต7 พฤษภาคม ค.ศ. 973(973-05-07) (60 ปี)
เมมเลเบิน, จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
ชายาแอดกิธแห่งอังกฤษ (930–946)
อาเดลาอีเดแห่งอิตาลี (951–973)
ราชวงศ์ออทโท
พระราชบิดาพระเจ้าไฮน์ริชที่ 1
พระราชมารดามาทิลดา
ศาสนาโรมันคาทอลิก

ออทโทที่ 1 มหาราช (เยอรมัน: Otto I. der Große)[3] ทรงเป็นกษัตริย์แห่งอาณาจักรแฟรงก์ตะวันออก (ชื่อเรียกบริเวณที่เป็นประเทศเยอรมนีในยุคนั้น) ในปี ค.ศ. 936 และทรงเป็นจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ตั้งแต่ปี ค.ศ. 962 จนสวรรคตในปี ค.ศ. 973 ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ใหญ่ในพระเจ้าไฮน์ริชที่ 1กับพระนางมาทิลเดอแห่งริงเงิลไฮม์

พระองค์ได้ขึ้นสืบบัลลังก์แห่งดัชชีซัคเซินและบัลลังก์เยอรมันภายหลังที่พระราชบิดาสวรรคตในปี ค.ศ. 936 และออกพระนามว่า พระเจ้าออทโทที่ 1 แห่งเยอรมนี เมื่อขึ้นครองราชสมบัติแล้วพระองค์ก็เจริญรอยตามพระปณิธานของพระราชบิดาที่จะรวบรวมแผ่นดินของชนเยอรมันให้เป็นหนึ่งเดียวอีกครั้ง พระราชอำนาจของพระองค์แผ่ขยายไปอย่างกว้างไกลผ่านชั้นเชิงการเมืองที่เยี่ยมยอด ไม่ว่าจะด้วยวิธีแต่งงานทางการเมืองหรือการแต่งตั้งสมาชิกพระราชวงศ์ของพระองค์ไปปกครองดัชชีและดินแดงต่างๆ นโยบายของพระองค์ได้ลดอำนาจและจำนวนดยุกลงไปมาก ซึ่งแต่ก่อนทำหน้าที่ปกครองดินแดนร่วมกับกษัตริย์ ดยุกจำนวนมากแปรสถานะจากผู้ปกครองอิสระมาเป็นผู้ปกครองใต้พระราชอำนาจของพระองค์ นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงนำศาสนจักรโรมันคาทอลิกเข้ามาสู่อาณาจักรเพื่อเสริมสร้างพระราชอำนาจของพระองค์

หลังทรงจัดการสงครามกลางเมืองระหว่างดัชชีต่างๆได้ พระองค์ก็สามารถมีชัยเหนือพวกมักยาร์ (ฮังการี) ในยุทธการที่เลชเฟิลด์ ค.ศ. 955 ได้ ทำให้ยุโรปตะวันตกพ้นภัยจากการรุกรานของฮังการี[4] นอกจากนี้ การมีชัยเหนือพวกฮังการีนอกศาสนายังทำให้พระองค์มีชื่อเสียงขึ้นมาอย่างมากในฐานะ "ผู้กอบกู้แห่งคริสตจักร" ต่อมาในปี ค.ศ. 961 พระองค์สามารถพิชิตราชอาณาจักรอิตาลี และขยายดินแดนของพระองค์ไปทางเหนือ, ตะวันออก และใต้ ในปีค.ศ. 962 พระองค์ทรงราชาภิเษกขึ้นเป็นจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ โดยให้พระสันตะปาปาสวมมงกุฎให้ในกรุงโรม เหมือนอย่างที่ชาร์เลอมาญเคยทำ


ก่อนครองบัลลังก์

ออทโทเป็นพระโอรสของพระเจ้าไฮน์ริชที่ 1 แห่งลิวดอลฟิงหรือราชวงศ์ซัคเซิน (ขณะนั้นยังไม่เป็นกษัตริย์) กับแมธิล์เดอ พระมเหสีคนที่สอง ข้อมูลชีวิตช่วงวัยเด็กของพระองค์มีไม่มาก แต่เชื่อกันว่าพระองค์น่าจะเคยร่วมทำศึกกับพระเจ้าไฮน์ริชอยู่หลายครั้งในช่วงปลายวัยรุ่น ในปี ค.ศ. 930 ออทโทสมรสกับอีดิธ พระธิดาของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้อาวุโสแห่งอังกฤษ อีดิธให้กำเนิดพระโอรสหนึ่งคนกับพระธิดาหนึ่งคน


พระเจ้าไฮน์ริชประกาศให้ออทโทเป็นผู้สืบบัลลังก์ของพระองค์ หนึ่งเดือนต่อมาพระเจ้าไฮน์ริชสิ้นพระชนม์ ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 936 ดยุคของเยอรมนีได้เลือกออทโทเป็นกษัตริย์ พระองค์ได้รับการสวมมงกุฎจากอาร์ชบิชอปแห่งไมนซ์และอาร์ชบิชอปแห่งโคโลญที่อาเคิน นครซึ่งเคยเป็นที่พำนักโปรดของจักรพรรดิชาร์เลอมาญ พระองค์มีพระชนมายุ 23 พรรษาขณะขึ้นเป็นกษัตริย์

พระเจ้าออทโท

กษัตริย์หนุ่มต้องการที่จะขึ้นมามีอำนาจเหนือเหล่าดยุคซึ่งพระบิดาของพระองค์ไม่เคยทำได้ นโยบายดังกล่าวก่อให้เกิดความขัดแย้งขึ้นมาในทันที เอเบอร์ฮาร์ดแห่งฟรังโกเนีย, เอเบอร์ฮาร์ดแห่งบาวาเรีย และกลุ่มชาวซัคเซินผู้ไม่พอใจที่มีแธงค์มาร์ พระเชษฐาต่างมารดาของพระเจ้าออทโทเป็นผู้นำเริ่มกระด้างกระเดื่องในปี ค.ศ. 937 แต่ถูกพระเจ้าออทโทกำราบเรียบอย่างรวดเร็ว แธงค์มาร์ถูกสังหาร เอเบอร์ฮาร์ดแห่งบาวาเรียถูกปลดจากตำแหน่ง ส่วนเอเบอร์ฮาร์ดแห่งฟรังโกเนียยอมสวามิภักดิ์ต่อกษัตริย์


แต่การสวามิภักดิ์ของเอเบอร์ฮาร์ดเป็นเพียงการแสดงตบตา ในปี ค.ศ. 939 เขาได้ร่วมกับกิเซลแบร์ตแห่งโลธาริงเกียและไฮน์ริช พระอนุชาของพระเจ้าออทโทก่อกบฎต่อพระเจ้าออทโทโดยมีพระเจ้าหลุยส์ที่ 4 แห่งฝรั่งเศสให้การสนับสนุน ครั้งนี้เอเบอร์ฮาร์ดถูกสังหารในสมรภูมิ ส่วนกิเซลแบร์ตจมน้ำเสียชีวิตขณะกำลังหนี ไฮน์ริชยอมสวามิภักดิ์ต่อกษัตริย์และพระเจ้าออทโทเองก็ให้อภัย ไฮน์ริชที่ยังคงคิดว่าตนเองคือคนที่พระบิดาอยากให้ขึ้นเป็นกษัตริย์ได้สมคบคิดวางแผนฆาตกรรมพระเจ้าออทโทในปี ค.ศ. 941 แผนการถูกเปิดโปงและทุกคนที่ร่วมกันสมคบคิดถูกลงโทษยกเว้นไฮน์ริชที่ได้รับการให้อภัยอีกครั้ง ความเมตตาของพระเจ้าออทโททำให้ไฮน์ริชภักดีต่อพระเชษฐานับตั้งแต่นั้นมาและในปี ค.ศ. 947 พระองค์ได้รับพระราชทานตำแหน่งดยุคแห่งบาวาเรีย ตำแหน่งดยุคของเยอรมนีตำแหน่งอื่นๆ ตกเป็นของเหล่าพระญาติของพระเจ้าออทโท


ในช่วงที่การแก่งแย่งชิงดีภายในดำเนินอยู่นั้น พระเจ้าออทโทได้เสริมความแข็งแกร่งในการป้องกันและได้ขยายขอบเขตอาณาจักรของพระองค์ ทรงปราบชาวสลาฟทางฝั่งตะวันออกและได้พื้นที่ส่วนหนึ่งของเดนมาร์กมาอยู่ใต้การปกครอง ทรงตั้งตำแหน่งบิชอปในดินแดนดังกล่าวเพื่อผนึกความเป็นเจ้าประเทศราชของเยอรมนีในดินแดนนั้น โบฮีเมียสร้างปัญหาให้แก่พระเจ้าออทโท แต่พระองค์ก็บีบเจ้าชายโบลสวัฟที่ 1 ให้ยอมจำนนได้ในปี ค.ศ. 950 และบังคับให้จ่ายบรรณาการให้แก่พระองค์ เมื่อฐานในบ้านเกิดแข็งแกร่ง พระเจ้าออทโทไม่เพียงกำจัดการอ้างสิทธิ์ในโลธาริงเกียของฝรั่งเศสได้ แต่พระองค์ยังเข้าไปเป็นตัวลางไกล่เกลี่ยปัญหาภายในของฝรั่งเศสด้วย


ความใส่ใจที่พระเจ้าออทโทมีต่อบูร์กอญก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงภายในราชอาณาจักรของพระองค์ อีดิธได้สิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 946 และเมื่ออาเดอแลด เจ้าหญิงบูร์กอญ พระราชินีม่ายแห่งอิตาลีถูกเบเรนการ์แห่งอิฟเรอาจับตัวเป็นนักโทษในปี ค.ศ. 951 พระนางได้หันมาขอความช่วยเหลือจากพระเจ้าออทโท พระองค์เดินทัพเข้าสู่อิตาลี ยึดตำแหน่งกษัตริย์ของชาวลอมบาร์ด และอภิเสกสมรสกับอาเดอแลด


ในเวลาเดียวกันนั้นในเยอรมนี ลิวดอล์ฟ พระโอรสของพระเจ้าออทโทกับอีดิธได้ร่วมกับบุคคสำคัญหลายคนของเยอรมันก่อปฏิวัติต่อกษัตริย์ ความสำเร็จลอยมาอยู่ตรงหน้าหนุ่มน้อย และพระเจ้าออทโทต้องถอนทัพกลับซัคเซิน แต่ในปี ค.ศ. 954 การรุกรานของชาวมักยาร์เริ่มสร้างปัญหาให้กลุ่มกบฏที่ถูกกล่าวหาว่าสมรบริดกับศัตรูของเยอรมนี การต่อสู้ยังคงดำเนินต่อไปจนกระทั่งลิวอล์ฟยอมจำนนต่อพระบิดาในปี ค.ศ. 955 พระเจ้าออทโทสามารถบดขยี้ชาวมักยาร์ได้ที่สมรภูมิเลชเฟล์ด จากนั้นชาวมักยาร์ก็ไม่เคยบุกเยอรมนีอีกคน พระเจ้าออทโทยังคงประสบความสำเร็จทางทหารอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกับชาวสลาฟ

จักรพรรดิออทโท

เดือนพฤษภาคม ค.ศ. 961 พระเจ้าออทโทสามารถทำให้ออทโท พระโอรสวัย 6 พรรษา (พระโอรสคนแรกที่มีกับอาเดอแลด) ได้รับเลือกและได้รับการสวมมงกุฎเป็นกษัตริย์แห่งเยอรมนี พระองค์จึงกลับไปอิตาลีเพื่อขอให้สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์นที่ 12 คัดค้านเบเรนการ์แห่งอิฟเรอา วันที่ 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 962 สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์นที่ 12 สวมมงกุฎให้พระเจ้าออทโทเป็นจักรพรรดิ แต่ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 963 พระเจ้าออทโทได้ปลดสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์นที่ 12 ออกจากตำแหน่งจากการเป็นต้นคิดสมคิดกับเบเรนการ์วางแผนจะก่อกบฏ


จักรพรรดิออทโทได้แต่งตั้งสมเด็จพระสันตะปาปาเลโอที่ 8 เป็นพระสันตะปาปาคนถัดไป เมื่อสมเด็จพระสันตะปาปาเลโอที่ 8 สิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 965 จักพรรดิเลือกสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์นที่ 13 มาแทนที่พระองค์ สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์นที่ 13 ไม่ค่อยที่นิยมในหมู่ประชาชนที่มีอีกตัวเลือกหนึ่งในใจ การก่อกบฏจึงเกิดขึ้น จักรพรรดิออทโทกลับไปอิตาลีอีกครั้ง ครั้งนี้ทรงพำนักอยู่ที่นั่นเป็นเวลาหลายปีเพื่อจัดการกับความไม่สงบในโรมและมุ่งหน้าลงใต้สู่พื้นที่ของคาบสมุทรที่อยู่ใต้การปกครองของจักรวรรดิไบเซนไทน์ วันคริสต์มาสปี ค.ศ. 967 พระองค์ให้พระโอรสได้รับการสวมมงกุฎเป็นจักรพรรดิร่วมกับพระองค์ การเจรจาตกลงกับชาวไบเซนไทน์ของพระองค์ทำให้เกิดการอภิเษกสมรสระหว่างออทโทผู้ลูกกับเธโอฟาโน เจ้าหญิงไบเซนไทน์ในเดือนเมษายน ค.ศ. 972


หลังจักรพรรดิออทโทกลับถึงเยอรมนีได้ไม่นาน ทรงเรียกประชุมสภาครั้งใหญ่ที่ราชสำนักในเควดลินบวร์ค ทรงสิ้นพระชนม์ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 973 ร่างของพระองค์ถูกฝังเคียงข้างอีดิธในมัคเดอบวร์ค

อ้างอิง

  1. Heather 2014, p. 281.
  2. Freund, Stephan (2013). Wallhausen – Geburtsort Ottos des Großen, Aufenthaltsort deutscher Könige und Kaiser (ภาษาGerman). Schnell und Steiner. ISBN 978-3-7954-2680-4.{{cite book}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  3. Otto I, Holy Roman Emperor[1]
  4. Reuter 1991, p. 254.
  1. Berengar II ruled from 952 until 961 as "King of Italy", but as Otto's vassal.

ดูเพิ่ม