ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "บัญญัติ สุวรรณแว่นทอง"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ZeroSixTwo (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{กล่องข้อมูล นักดนตรี
| ชื่อ = บัญญัติ สุวรรณแว่นทอง
| color =
| ประเภท = นักร้อง/นักแสดง
| ภาพ = Banyat-Suwannawaenthong-Dec-5-2019.jpg
| คำบรรยายภาพ =
| ขนาดภาพ =
| ภาพแนวนอน =
| ชื่อเกิด = บัญญัติ สุวรรณแว่นทอง
| ชื่อเล่น = เดียว
| ชื่ออื่น =
| วันเกิด = พ.ศ. 2531<br/>[[จังหวัดพัทลุง]] [[ประเทศไทย]]
| น้ำหนัก =
| ส่วนสูง =
| แหล่งกำเนิด =
| คู่สมรส = สุนิสา สุวรรณแว่นทอง (หย่าร้าง)​
| เครื่องดนตรี =
| แนวเพลง = [[ลูกทุ่ง]]
| อาชีพ = [[นักร้อง]] / นักแสดง[[หนังตะลุง]]
| ช่วงปี = พ.ศ. 2545 - ปัจจุบัน
| ค่าย = ลูกทุ่งวัฒนธรรม Channel
| name =
}}
'''บัญญัติ สุวรรณแว่นทอง''' หรือ '''เดียว''' (เกิด พ.ศ. 2531<ref>[1]ปานช่วย, รวีวัชร์ (27 มีนาคม 2564). "สัมภาษณ์ บัญญัติ สุวรรณแว่นทอง นายหนังตะลุงร่วมสมัย"</ref>)<ref name="sil">{{cite web |url=https://www.silpa-mag.com/culture/article_37457 |title=“หนังตะลุง” ศิลปะที่สอนจริยธรรมนอกกรอบศาสนา กรณีศึกษาจากหนังตะลุง “น้องเดียว” |last=บัวบาล |first=เจษฎา |date=20 สิงหาคม 2562 |work=ศิลปวัฒนธรรม |publisher=[[มติชน]] |accessdate=12 มิถุนายน 2563}}</ref> เป็น[[นักร้อง]][[เพลงลูกทุ่ง]] นักแสดง[[หนังตะลุง]]และศิลปวัฒนธรรมภาคใต้ มีชื่อเสียงจากแสดงหนังตะลุงล้อเลียนเหตุการณ์บ้านเมืองได้อย่างมีอรรถรสแม้[[ตาบอด|พิการทางสายตา]]ตั้งแต่กำเนิด โดยเริ่มแสดงหนังตะลุงตั้งแต่ยังเป็น[[วัยรุ่น]]และทำเป็นอาชีพจนถึงปัจจุบัน อีกทั้งยังร้องเพลงด้วยน้ำเสียงอันเป็นเอกลักษณ์จนมีผู้นิยมชมชอบอย่างมาก


นอกจากนี้ บัญญัติได้เริ่มทำการแสดงจากการเป็นลูกคู่ประกบ[[ศิลปิน]]ท้องถิ่นที่มีชื่อเสียงในเวลานั้น เช่น [[เอกชัย ศรีวิชัย]] ต่อมาได้รับโอกาสจากค่ายดนตรีท้องถิ่นในการออกอัลบั้มเป็นของตนเองจนมีชื่อเสียงควบคู่กับการแสดงหนังตะลุง ในเวลาต่อมาบัญญัติตั้งคณะ "ลูกทุ่งวัฒนธรรม" เพื่อออกผลงานทางศิลปวัฒนธรรมภาคใต้โดยประยุกต์เข้ากับวัฒนธรรมสมัยใหม่ เช่น ออกเพลงล้อเลียนเพลงที่โด่งดังใน[[ภาคใต้ของประเทศไทย|ภาคใต้]]และเสียดสีเหตุการณ์ในปัจจุบัน โดยเผยแพร่ทาง[[ยูทูบ]]ของคณะและตามงานการแสดงต่าง ๆ
นอกจากนี้ บัญญัติได้เริ่มทำการแสดงจากการเป็นลูกคู่ประกบ[[ศิลปิน]]ท้องถิ่นที่มีชื่อเสียงในเวลานั้น เช่น [[เอกชัย ศรีวิชัย]] ต่อมาได้รับโอกาสจากค่ายดนตรีท้องถิ่นในการออกอัลบั้มเป็นของตนเองจนมีชื่อเสียงควบคู่กับการแสดงหนังตะลุง ในเวลาต่อมาบัญญัติตั้งคณะ "ลูกทุ่งวัฒนธรรม" เพื่อออกผลงานทางศิลปวัฒนธรรมภาคใต้โดยประยุกต์เข้ากับวัฒนธรรมสมัยใหม่ เช่น ออกเพลงล้อเลียนเพลงที่โด่งดังใน[[ภาคใต้ของประเทศไทย|ภาคใต้]]และเสียดสีเหตุการณ์ในปัจจุบัน โดยเผยแพร่ทาง[[ยูทูบ]]ของคณะและตามงานการแสดงต่าง ๆ
บรรทัด 40: บรรทัด 17:
|video1 = [https://www.youtube.com/watch?v=5Dfd4M8_Xn4 การแสดงหนังตะลุง]ของบัญญัติ ที่มีตัวหนังตะลุงที่ทำเป็นรูป[[พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา]] นายกรัฐมนตรี
|video1 = [https://www.youtube.com/watch?v=5Dfd4M8_Xn4 การแสดงหนังตะลุง]ของบัญญัติ ที่มีตัวหนังตะลุงที่ทำเป็นรูป[[พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา]] นายกรัฐมนตรี
}}
}}
ส่วนหนังตะลุงบัญญัติเริ่มเล่นอย่างจริงจังเมื่ออายุได้ 15 ปี โดยในครั้งแรกเขาได้แสดงบนเพิงขายขนมจีนหน้าบ้าน โดยมีชาวบ้านมาชื่นชมในความสามารถในการพากย์เสียงและมุกตลก จนต่อมาบัญญัติได้ก่อตั้งคณะ "ลูกทุ่งวัฒนธรรม"<ref name="psu">{{cite magazine |last=นิลปัทม์ |first=สมัชชา |date= |title=สื่อสันนิวาส : ลมหายใจปลายด้ามขวาน 'ตาใน' ของ 'น้องเดียว' |url=http://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/rlej/include/getdoc.php?id=4981&article=1760&mode=pdf |magazine=รูสมิแล |volume=34 |number=2 |location=[[ปัตตานี]] |publisher=[[มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี]] |access-date=12 มิถุนายน 2563}}</ref> เพื่อทำการแสดงเมื่ออายุได้ 18 ปี ซึ่งได้รับความนิยมอย่างมากจากเอกลักษณ์ของการแสดงหนังตะลุง นอกจากนี้คณะของบัญญัติยังมี[[มโนราห์ (รำ)|มโนราห์]] เพลงบอก และเพลงลูกทุ่งอีกด้วย<ref name="kom" /> บัญญัติกล่าวว่าที่สามารถเล่นหนังตะลุงได้ดีแม้พิการเพราะฝึกฝนและสร้างความคุ้นเคยกับตัวหนังตะลุง อีกทั้งมีการดูสถานการณ์ในขณะที่กำลังทำการแสดงด้วย ไม่เพียงแสดงไปตามบท และแสดงอย่างสุดความสามารถ<ref name="psu"/> โดยการแสดงหนังตะลุงของบัญญัตินั้นหากพื้นที่อำนวยจะใช้จอขนาดใหญ่กว้างคล้ายเวทีแสดงคอนเสิร์ตขนาดใหญ่และมีการฉายภาพด้วย[[เครื่องฉายภาพ]]เป็นฉากพื้นหลังระหว่างการแสดงอีกด้วย ทำให้ขนาดของจอจึงต้องให้ตัวหนังตะลุงขนาดใหญ่และต้องมีผู้ช่วยอีก 1 คน เนื้อหาการแสดงจะสอดแทรกเหตุการณ์ปัจจุบันลงไปในการแสดง ยกตัวอย่าง การแสดงหนังตะลุงโดยใช้ตัวหนังตะลุงรูป[[นายกรัฐมนตรีไทย|นายกรัฐมนตรี]]และเลียนแบบเสียง รูปหนังตะลุงบุคคลสำคัญในสมัยใหม่และอิริยาบถสมัยใหม่ เช่น ตัวหนังตะลุงเล่น[[ไอแพด]] ขี่[[เฮลิคอปเตอร์]]หรือ[[รถยนต์]] [[การ์ตูน|ตัวการ์ตูน]] ใช้ภาษาตามพื้นที่และสถานการณ์ นอกจากนี้ยังได้บันทึกการแสดงเป็น[[แผ่นซีดี]]ออกขายด้วย<ref name="sil"/><ref name="mcot">{{cite web |url=https://www.youtube.com/watch?v=FsXaDhUduk8 |title=Share ชีวิต (9 ก.ค.59) นายหนังตะลุงลูกทุ่งวัฒนธรรม บัญญัติ สุวรรณแว่นทอง |author=[[ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี]] |date=10 กรกฎาคม 2559 |accessdate=12 มิถุนายน 2563}}</ref>
ส่วนหนังตะลุงบัญญัติเริ่มเล่นอย่างจริงจังเมื่ออายุได้ 15 ปี โดยในครั้งแรกเขาได้แสดงบนเพิงขายขนมจีนหน้าบ้าน โดยมีชาวบ้านมาชื่นชมในความสามารถในการพากย์เสียงและมุกตลก จนต่อมาบัญญัติได้ก่อตั้งคณะ "ลูกทุ่งวัฒนธรรม"<ref name="psu">{{cite magazine |last=นิลปัทม์ |first=สมัชชา |date= |title=สื่อสันนิวาส : ลมหายใจปลายด้ามขวาน 'ตาใน' ของ 'น้องเดียว' |url=http://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/rlej/include/getdoc.php?id=4981&article=1760&mode=pdf |magazine=รูสมิแล |volume=34 |number=2 |location=[[ปัตตานี]] |publisher=[[มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี]] |access-date=12 มิถุนายน 2563}}</ref> เพื่อทำการแสดงเมื่ออายุได้ 18 ปี ซึ่งได้รับความนิยมอย่างมากจากเอกลักษณ์ของการแสดงหนังตะลุง นอกจากนี้คณะของบัญญัติยังมี[[มโนราห์ (รำ)|มโนราห์]] เพลงบอก และเพลงลูกทุ่งอีกด้วย<ref name="kom" /> บัญญัติกล่าวว่าที่สามารถเล่นหนังตะลุงได้ดีแม้พิการเพราะฝึกฝนและสร้างความคุ้นเคยกับตัวหนังตะลุง อีกทั้งมีการดูสถานการณ์ในขณะที่กำลังทำการแสดงด้วย ไม่เพียงแสดงไปตามบท และแสดงอย่างสุดความสามารถ<ref name="psu"/> โดยการแสดงหนังตะลุงของบัญญัตินั้นหากพื้นที่อำนวยจะใช้จอขนาดใหญ่กว้างคล้ายเวทีแสดงคอนเสิร์ตขนาดใหญ่และมีการฉายภาพด้วย[[เครื่องฉายภาพ]]เป็นฉากพื้นหลังระหว่างการแสดงอีกด้วย ทำให้ขนาดของจอจึงต้องให้ตัวหนังตะลุงขนาดใหญ่และต้องมีผู้ช่วยอีก 1 คน เนื้อหาการแสดงจะสอดแทรกเหตุการณ์ปัจจุบันลงไปในการแสดง ยกตัวอย่าง การแสดงหนังตะลุงโดยใช้ตัวหนังตะลุงรูป[[นายกรัฐมนตรีไทย|นายกรัฐมนตรี]]และเลียนแบบเสียง รูปหนังตะลุงบุคคลสำคัญในสมัยใหม่และอิริยาบถสมัยใหม่ เช่น ตัวหนังตะลุงเล่น[[ไอแพด]] ขี่[[เฮลิคอปเตอร์]]หรือ[[รถยนต์]] [[การ์ตูน|ตัวการ์ตูน]] ใช้ภาษาตามพื้นที่และสถานการณ์ นอกจากนี้ยังได้บันทึกการแสดงเป็น[[แผ่นซีดี]]ออกขายด้วย<ref name="sil">{{cite web|last=บัวบาล|first=เจษฎา|date=20 สิงหาคม 2562|title=“หนังตะลุง” ศิลปะที่สอนจริยธรรมนอกกรอบศาสนา กรณีศึกษาจากหนังตะลุง “น้องเดียว”|url=https://www.silpa-mag.com/culture/article_37457|work=ศิลปวัฒนธรรม|publisher=[[มติชน]]|accessdate=12 มิถุนายน 2563}}</ref><ref name="mcot">{{cite web |url=https://www.youtube.com/watch?v=FsXaDhUduk8 |title=Share ชีวิต (9 ก.ค.59) นายหนังตะลุงลูกทุ่งวัฒนธรรม บัญญัติ สุวรรณแว่นทอง |author=[[ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี]] |date=10 กรกฎาคม 2559 |accessdate=12 มิถุนายน 2563}}</ref>


ในปี พ.ศ. 2558 ได้รับการว่าจ้างจากไพฑูรย์ อินทศิลา ผู้สื่อข่าว[[เดลินิวส์]]ประจำ[[จังหวัดนครศรีธรรมราช]] ให้ไปแสดงในงานบุญสารทเดือนสิบจังหวัดนครศรีธรรมราชและมีการลงข่าวในสื่อต่าง ๆ จนเป็นที่รู้จักอย่างมาก และมีตารางการแสดงสดยาวข้ามเดือนข้ามปี<ref>{{cite web |url=https://www.facebook.com/profile.php?id=100000770139657&sk=media_set&set=a.822330684469262&type=3 |title=ฮือฮา.!คอนเสิร์ตหนังตะลุง“น้องเดียว "ตาบอดยอดอัจฉริยะ |last=อินทศิลา |first=ไพฑูรย์ |date=29 มีนาคม 2558 |accessdate=12 มิถุนายน 2563}}</ref>
ในปี พ.ศ. 2558 ได้รับการว่าจ้างจากไพฑูรย์ อินทศิลา ผู้สื่อข่าว[[เดลินิวส์]]ประจำ[[จังหวัดนครศรีธรรมราช]] ให้ไปแสดงในงานบุญสารทเดือนสิบจังหวัดนครศรีธรรมราชและมีการลงข่าวในสื่อต่าง ๆ จนเป็นที่รู้จักอย่างมาก และมีตารางการแสดงสดยาวข้ามเดือนข้ามปี<ref>{{cite web |url=https://www.facebook.com/profile.php?id=100000770139657&sk=media_set&set=a.822330684469262&type=3 |title=ฮือฮา.!คอนเสิร์ตหนังตะลุง“น้องเดียว "ตาบอดยอดอัจฉริยะ |last=อินทศิลา |first=ไพฑูรย์ |date=29 มีนาคม 2558 |accessdate=12 มิถุนายน 2563}}</ref>

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:18, 15 พฤษภาคม 2565

นอกจากนี้ บัญญัติได้เริ่มทำการแสดงจากการเป็นลูกคู่ประกบศิลปินท้องถิ่นที่มีชื่อเสียงในเวลานั้น เช่น เอกชัย ศรีวิชัย ต่อมาได้รับโอกาสจากค่ายดนตรีท้องถิ่นในการออกอัลบั้มเป็นของตนเองจนมีชื่อเสียงควบคู่กับการแสดงหนังตะลุง ในเวลาต่อมาบัญญัติตั้งคณะ "ลูกทุ่งวัฒนธรรม" เพื่อออกผลงานทางศิลปวัฒนธรรมภาคใต้โดยประยุกต์เข้ากับวัฒนธรรมสมัยใหม่ เช่น ออกเพลงล้อเลียนเพลงที่โด่งดังในภาคใต้และเสียดสีเหตุการณ์ในปัจจุบัน โดยเผยแพร่ทางยูทูบของคณะและตามงานการแสดงต่าง ๆ

บัญญัติแม้จะมีผลงานการแสดงที่เป็นน่าพึงใจ สร้างชื่อเสียงจนได้รับการเชิดชูเกียรติ แต่บัญญัติมักมีข่าวในทางลบอยู่บ้าง เช่น กรณีที่แสดงหนังตะลุงต่อว่าพระสงฆ์จนต่อมาบัญญัติต้องไปขอขมาในเวลาต่อมา หรือกรณีชู้สาวต่อคู่สมรสของตน

ประวัติ

บัญญัติเป็นหนึ่งในบุตร 4 คน มีบิดาเป็นขาวอำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง โดยบัญญัติพิการทางการมองเห็นตั้งแต่กำเนิด เมื่ออายุได้ 5 ปี บิดาเสียชีวิตลง ครอบครัวจึงย้ายไปอยู่ที่ภูมิลำเนาของมารดาที่อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช[1]

การแสดง

บัญญัติได้ติดตามผลงานทางศิลปวัฒนธรรมภาคใต้ตั้งแต่เยาว์วัย เช่น เพลงบอก หนังตะลุง เพลงของเอกชัย ศรีวิชัย ทำให้บัญญัติมีความชื่นชอบในศิลปะเหล่านี้อย่างมาก และอยากมีชื่อเสียงจากการแสดงศิลปะเหล่านี้ จึงเริ่มฝึกหัดตั้งแต่อายุได้ 10 ปี จากนั้นได้เริ่มตระเวนไปแสดงกับวงธงชัยโชว์ และรู้จักกับเชาวรัตน์ รักษาพล ครู กศน. ผู้ก่อตั้งวงครูเชาว์โชว์ จึงได้เริ่มแสดงทอล์กโชว์ด้วยกันในบางโอกาส

ต่อมาเมื่ออายุได้ 14 ปี บัญญัติได้ร่วมเดินสายการแสดงกับศรีวิชัยโชว์ของเอกชัย ศรีวิชัย โดยการร้องเพลง เมื่อออกงานได้ประมาณ 10 คืน เหล่าผู้ชมจึงได้มอบเงินประมาณ 100,000 บาทด้วยความเอ็นดู เอกชัยจึงสมทบทุนให้เพิ่มเติม หลังจากนั้นบัญญัติได้นำเงินก้อนนี้ไปซื้อที่ดินเพื่อสร้างบ้านให้มารดา[1]

บัญญัติขณะแสดงหนังตะลุง เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2562
วิดีโอหลายคลิปจากแหล่งข้อมูลภายนอก
video icon การแสดงหนังตะลุงของบัญญัติ ที่มีตัวหนังตะลุงที่ทำเป็นรูปพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี

ส่วนหนังตะลุงบัญญัติเริ่มเล่นอย่างจริงจังเมื่ออายุได้ 15 ปี โดยในครั้งแรกเขาได้แสดงบนเพิงขายขนมจีนหน้าบ้าน โดยมีชาวบ้านมาชื่นชมในความสามารถในการพากย์เสียงและมุกตลก จนต่อมาบัญญัติได้ก่อตั้งคณะ "ลูกทุ่งวัฒนธรรม"[2] เพื่อทำการแสดงเมื่ออายุได้ 18 ปี ซึ่งได้รับความนิยมอย่างมากจากเอกลักษณ์ของการแสดงหนังตะลุง นอกจากนี้คณะของบัญญัติยังมีมโนราห์ เพลงบอก และเพลงลูกทุ่งอีกด้วย[1] บัญญัติกล่าวว่าที่สามารถเล่นหนังตะลุงได้ดีแม้พิการเพราะฝึกฝนและสร้างความคุ้นเคยกับตัวหนังตะลุง อีกทั้งมีการดูสถานการณ์ในขณะที่กำลังทำการแสดงด้วย ไม่เพียงแสดงไปตามบท และแสดงอย่างสุดความสามารถ[2] โดยการแสดงหนังตะลุงของบัญญัตินั้นหากพื้นที่อำนวยจะใช้จอขนาดใหญ่กว้างคล้ายเวทีแสดงคอนเสิร์ตขนาดใหญ่และมีการฉายภาพด้วยเครื่องฉายภาพเป็นฉากพื้นหลังระหว่างการแสดงอีกด้วย ทำให้ขนาดของจอจึงต้องให้ตัวหนังตะลุงขนาดใหญ่และต้องมีผู้ช่วยอีก 1 คน เนื้อหาการแสดงจะสอดแทรกเหตุการณ์ปัจจุบันลงไปในการแสดง ยกตัวอย่าง การแสดงหนังตะลุงโดยใช้ตัวหนังตะลุงรูปนายกรัฐมนตรีและเลียนแบบเสียง รูปหนังตะลุงบุคคลสำคัญในสมัยใหม่และอิริยาบถสมัยใหม่ เช่น ตัวหนังตะลุงเล่นไอแพด ขี่เฮลิคอปเตอร์หรือรถยนต์ ตัวการ์ตูน ใช้ภาษาตามพื้นที่และสถานการณ์ นอกจากนี้ยังได้บันทึกการแสดงเป็นแผ่นซีดีออกขายด้วย[3][4]

ในปี พ.ศ. 2558 ได้รับการว่าจ้างจากไพฑูรย์ อินทศิลา ผู้สื่อข่าวเดลินิวส์ประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช ให้ไปแสดงในงานบุญสารทเดือนสิบจังหวัดนครศรีธรรมราชและมีการลงข่าวในสื่อต่าง ๆ จนเป็นที่รู้จักอย่างมาก และมีตารางการแสดงสดยาวข้ามเดือนข้ามปี[5]

ในการแสดงเพลงนั้น บทเพลงส่วนใหญ่ประพันธ์โดยฉลอง ตี้กุล หรือชื่อในวงการเพลง อาจารย์หมี เหนือคลอง ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ที่อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ อดีตผู้รับเหมาที่ประสบอุบัติเหตุจากรถจักรยานยนต์จนเป็นอัมพาตอยู่แรมปีที่สะสมบทเพลงที่แต่งขึ้นด้วยความอุตสาหะถึง 200 เพลงในสมาร์ตโฟนแต่ยังไม่ให้ผู้ใดนำไปร้อง กระทั่งฉลองได้ดูการแสดงของบัญญัติในแผ่นซีดีจึงประทับใจและติดต่อไปเพื่อมอบเพลงให้ไปร้อง บัญญัติรู้สึกชอบเพลงดังกล่าวจึงนำไปร้องอยู่เรื่อยมา จนออกเป็นอัลบั้มขายดี เช่น ลมหายใจปลายด้ามขวาน พระเอกนายหนัง รักน้องต้องคลำ[2]

รางวัลและเกียรติยศ

วันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2558 พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในขณะนั้นได้มอบโล่เชิดชูเกียรติคนพิการตอนแบบให้แก่บัญญัติ ณ สวนเกษตรทฏษฎีใหม่ตามรอยพระเจ้าอยู่หัว อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช[6]

วันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2559 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะดำรงพระอิศริยยศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชไปในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคใต้ ประจำปีการศึกษา 2559 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ในการนี้ พระราชทานปริญญา ศิลปศาสตรบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชานาฏศิลป์และแสดง มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราชแก่บัญญัติ ตามที่สภามหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราชอนุมัติปริญญากิตติมศักดิ์ดังกล่าวเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2559[7]

วันที่ 5 มิถุนายน 2562 บัญญัติได้รับรางวัลค่าของแผ่นดิน ด้านการส่งเสริมและอนุรักษ์ภาษาท้องถิ่น จากสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ณ อาคารนวมภูมินทร์ วชิราวุธวิทยาลัย[8][9]

ชีวิตส่วนตัว

บัญญัติอยู่กินฉันท์สามีภรรยากับสุนิสา สุวรรณแว่นทอง ยาวนานนับสิบกว่าปีกระทั่งมีบุตรด้วยกัน 2 คน ต่อมาได้จดทะเบียนสมรสในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562[10] บัญญัติและสุนิสาเปิดเผยว่ารู้จักตั้งแต่เมื่อยังอายุ 18 ปี ในช่วงแรกปฏิสัมพันธ์กันยากมากเนื่องจากสุนิสาเป็นคนไม่ชอบพูดซึ่งผิดกับบัญญัติ แม้สุนิสาจะหน้าตาดีจนมีผู้ชายคนมาขอคบเป็นจำนวนมากแต่สุนิสาเลือกคบหากับบัญญัติเพราะเป็นคนตรง[11] โดยบัญญัติมีความคาดหวังเล็ก ๆ ว่าบุตรจะได้สืบทอดศิลปวัฒนธรรมที่ตนทำไว้ แต่ก็มิได้ห้ามปรามไปทางอื่นแต่อย่างใด[4] ซึ่งในปัจจุบั​นบัญญัตินั้นได้ทำการหย่าร้างกับสุนิสาเป็นที่เรียบร้อยแล้วด้วยสาเหตุปัญหาในครอบครัว

ข้อครหา

บัญญัติตกข่าวคราวอยู่บ้างจากการไม่ไปเล่นตามที่ตกลงไว้ เช่น เมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2556 ชาวบ้านอำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง ประท้วงที่บัญญัติไม่ได้แสดงหนังตะลุงแบบเต็มวงตามที่ตกลงไว้ แต่จะแสดงคอนเสิร์ตทอล์กโชว์แทน ในงานบำเพ็ญกุศล ประจำปี 2556 ครบรอบ 10 ปี ในวันคล้ายวันมรณภาพพระครูสิทธิมงคล (หลวงปู่รื่น ติสสเทโว) อดีตเจ้าอาวาสวัดน้ำพราย ต่อมาเชาวรัตน์ได้ชี้แจงต่อสื่อว่าเกิดความผิดพลาดในการรับงานเนื่องจากช่วงสงกรานต์มีงานมาก จึงจัดหนังตะลุงของบัญญัติให้ในวันที่ 26 เมษายนแทน และได้พูดคุยทำความเข้าใจกับผู้จัดงานแล้ว[12]

กรณีต่อคณะสงฆ์

เมื่อคืนวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2562 ช่วงก่อนการแสดงแก้บนตามที่มีผู้ว่าจ้าง ณ วัดเนินพิจิตร อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา มีผู้ส่งข่าวมาแจ้งว่ามีพระบางรูปในวัดพูดว่าจะไม่จ้างคณะของบัญญัติเล่นเพราะราคาสูงถึง 80,000 บาทต่อคืน แถมยังเล่นเพียงคนเดียวอีกด้วย ทำให้บัญญัติไม่พอใจอย่างมากจนแสดงด้วยการใช้ภาษาที่ด่าสาดเสียพระต้นเรื่อง แม้มีผู้เข้าไปห้ามปรามก็มิได้ลดอาการลง หลังการแสดงยังอัดคลิปเปิดในกรณีดังกล่าวอีกหลายคลิปด้วย จนต่อมาพระราชวรเวที เจ้าคณะจังหวัดสงขลามีหนังสือเวียนแจ้งเจ้าคณะทุกอำเภอให้ระงับการแสดงหนังตะลุงคณะนี้จนกว่าบัญญัติจะบันทึกคลิปขอขมาคณะสงฆ์ลงบนยูทูบและลบคลิปที่กล่าวร้ายทั้งหมดลง[13] และวัชนะ งามขำ นายกสมาคมศิลปินพื้นบ้าน จังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวต่อสื่อให้บัญญัติไปขอขมาพระสงฆ์เสีย[14] ส่วนเอกชัย ศรีวิชัยโทรไปหาบัญญัติเพื่อเตือนสติ[15] กระทั่งเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม บัญญัติได้ไปทำพิธีขอขมาคณะสงฆ์ที่วัดมหัตตมังคลาราม (วัดหาดใหญ่ใน) อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา[13]

ต่อมาในวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2563 ช่องยูทูบของบัญญัติได้อัปโหลดเพลงฉันผิดเวลาที่บัญญัติเป็นผู้แต่งคำร้องและร้องเพลง โดยล้อเลียนจากเพลงรักผิดเวลาของรัชนก สุวรรณเกตุ (เจนนี่ ได้หมดถ้าสดชื่น) ซึ่งเพลงของบัญญัติดังกล่าวมีเนื้อหาวิจารณ์เสียดสีพระสงฆ์ที่ฉัน (กิน) หลังเวลาเพล ทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ทุกช่องทางบนสื่อสังคมของบัญญัติ ต่อมาบัญญัติออกมาชี้แจงทางยูทูบว่าหากไม่ชอบให้เลิกติดตามตนไป ไม่ได้จะลบลู่พระพุทธศาสนาซึ่งตนนับถือแต่อย่างใด พร้อมยังท้าทายให้มาจับกุมตนหากตนทำผิดกฎหมายบ้านเมือง และเกลียดการที่ด่าตนว่าไอ้บอดอย่างมาก เพราะตนไม่ได้ประสงค์จะเกิดมาพิการ[16]

ผู้จัดการออนไลน์มีความเห็นว่า ที่บัญญัติเป็นเช่นนี้อาจเนื่องมาจากที่ตนและพี่น้องไม่มีใครสามารถอุปสมบทเพื่อทดแทนพระคุณบิดาผู้ล่วงลับและมารดาที่เลี้ยงดูตนมาได้ตามประเพณี เนื่องจากบัญญัติพิการทางการมองเห็น ซึ่งเป็นข้อห้ามตามพระวินัย ส่วนพี่น้องของบัญญัติที่ยังมีชีวิตอยู่เป็นผู้หญิงทั้งสิ้น จึงเป็นปมในใจของบัญญัติเสมอมา ทำให้ในการแสดงหนังตะลุงบางครั้งบัญญัติมักบริภาษพระสงฆ์ที่ประพฤติตนไม่เหมาะสม[13]

กรณีต่อสุนิสา

ในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2562 บัญญัติแจ้งความที่สถานีตำรวจภูธรทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช ว่าสุนิสานำรถยนต์ออกไป 2 คันซึ่งมีสมุดรับงานการแสดงอยู่ ตนจึงอยากให้ตำรวจสกัดรถดังกล่าวเพื่อขอสมุดดังกล่าวคืน โดยเหตุเกิดจากสุนิสาจับได้ว่าบัญญัติคบหญิงอื่นและทะเลาะกันในบ้านพักในอำเภอทุ่งสงจนเกิดเหตุดังกล่าวขึ้นมา[17]

ต่อมาสุนิสาได้ไปพบตำรวจที่สถานีตำรวจเดียวกันในวันที่ 5 ธันวาคม แล้วชี้แจงว่าตนยังเป็นผู้รับงานให้ตามเดิม ไม่ได้หนีไปที่ใด ยังอยู่บ้านเลี้ยงบุตรตามปกติ ส่วนตัวตนอย่างให้กลับเป็นเหมือนแต่ก่อนมากกว่าเลิกร้างกัน และติดต่อบัญญัติไม่ได้[18]

กระทั่งวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2562 บัญญัติออกมาแถลงข่าว ณ โรงแรมแกรนด์เซาท์เทิร์น อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช ว่าตนเสียใจที่พบว่าสุนิสากลั่นแกล้งตนโดยการเปิดบัญชีฝากเงินของตนในชื่อสุนิสา ตนจึงไม่สามารถทำธุรกรรมได้ โดยเมื่อปี พ.ศ. 2557 ตนจะขอนำเงินไปซื้อที่ดินให้มารดาแต่สุนิสาไม่ยอม จึงทะเลาะและจบที่การถอนเงินทั้งหมดแล้วแบ่งครึ่ง จากนั้นเมื่อมีรายรับตนจะให้สุนิสานำเงินเข้าบัญชีโดยตนเป็นผู้มอบอำนาจให้ด้วยความไว้วางใจ ทั้งนี้ไม่ได้ทำบัตรเอทีเอ็มแต่อย่างใด แต่กลับมีบัตรเอทีเอ็มขึ้นมา ทำให้ตนไม่พอใจมาก อีกทั้งภรรยาเคยทำให้ตนเสียใจเพราะไม่ทำอาหารให้เนื่องจากง่วงนอน ส่วนกรณีที่การคบหญิงอื่นนั้น บัญญัติกล่าวว่าหญิงนั้นเป็นภรรยาของตน เนื่องจากคิดว่าตนจะไม่กลับมาคืนดีกับสุนิสาอีกจึงหาภรรยาใหม่ จากนี้จะไม่กลับไปหาสุนิสาอีกแล้วเพราะไม่เชื่อใจเรื่องเงินทอง[19]

ถึงกระนั้นก็ตาม บนเฟซบุ๊กของบัญญัติและสุนิสาพบว่ายังคงติดต่อและอาศัยร่วมบ้านเดียวกันหลังเหตุการณ์นี้ผ่านไป

ผลงาน

บัญญัติมีผลงานด้านศิลปวัฒนธรรมภาคใต้ออกมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ดังปรากฏดังต่อไปนี้

ผลงานเพลง

เพลงเดี่ยว/ไม่ทราบอัลบั้มที่แน่ชัด

  • ลมหายใจปลายด้ามขวาน (ก่อนปี 2556)
  • รักน้องต้องคลำ (ก่อนปี 2556)
  • ไข่อยากข้าว (ก่อนปี 2558)
  • ผิงไฟใต้ฟ้าหนาว (ก่อนปี 2558)
  • วอนดาว (ก่อนปี 2558)
  • คนซื้อเบอร์หุ้น (ก่อนปี 2558)
  • ลมพัดวันนัดพบ (ก่อนปี 2558)
  • หยบแลน้อง (ก่อนปี 2558)
  • หยบแลน้อง (สามช่า) (ก่อนปี 2558)
  • อย่าลืมอ้าย (ก่อนปี 2558)
  • วอนแฟนเพลง (ก่อนปี 2558)
  • พ่อแห่งสยาม (ก่อนปี 2558)
  • เมียพี่ได้เพื่อน (ก่อนปี 2558)
  • ขอยานท้าย (ก่อนปี 2558)
  • น้ำผึ้ง-น้ำปลา (ก่อนปี 2558)
  • รำวงเหล็กไฟ (ก่อนปี 2558)
  • จำนำทำเพลง (ก่อนปี 2558)
  • โทรไม่ติด (ก่อนปี 2558)
  • ปริญญา ป.05 (ก่อนปี 2558)
  • พี่เข้อกหัก (ก่อนปี 2558)
  • แหล่ชีวิต (ก่อนปี 2558)
  • พ่อจตุคามพ่ายจตุแคง (ก่อนปี 2558)
  • หัวใจเผ็ดหวี้ (ก่อนปี 2558)
  • นายหนังครวญ (ก่อนปี 2558)
  • เตือนใจคนไกลบ้าน (ก่อนปี 2558)
  • อยู่ได้ด้วยแรงใจ (ก่อนปี 2558)
  • กิ๊ก (ก่อนปี 2558)
  • ยังไงก็รัก (ก่อนปี 2558)
  • ยับอีเป็นอื่น (ก่อนปี 2558)
  • เรารักสู (ก่อนปี 2558)
  • เลิกเมียเพราะแมว (ก่อนปี 2558)
  • อย่าว่าเขา (ก่อนปี 2558)
  • ฟ้าขาดดาว บ่าวขาดแฟน (ก่อนปี 2558)
  • นายมือไฮโล (2558)
  • พลาดท่าน้ำตาตก (2558)
  • ด่าผัวโพสเฟส (2560)
  • ไม่ชินคำว่าลุง (2560)
  • มหาลัยวัวฝูง (2560) (ล้อเลียน มหาลัยวัวชน ของวงพัทลุง)
  • เท่งเมียทุ่ม (2560)
  • ชวนน้องเที่ยวใต้ (2561)
  • นางฟ้าป่าสะตอ (2561)
  • ตั๊กแตนกลางนา (2561)
  • คูนผลัดใบใจผลัดรัก (2561)
  • นางในฝัน (2561)
  • แสงสว่างในความมืด (2561)
  • ชัดเจนพี่เณรบูรณ์ (2561)
  • ขอตายในหราง (2561)
  • ไม่มีน้ำตาต่อหน้าเธอ (2561)
  • คุณธรรมนำชีวิตลิขิตชาติ (2561)
  • เสียงครวญจากพ่อ (2561)
  • หกเมีย (2561)
  • แมงพลัด (2561)
  • ไก่แห่ค่อมร้าย (2562)
  • อิจฉาทอม (2562)
  • ฝากลมส่งรัก (2562)
  • ฝากเพลงเข้าฝัน (2562)
  • ติดหนี้ทั้งอำเภอ ไม่ใช่เธอเจ้าเดียว (2562) (ล้อเลียน เลิกคุยทั้งอำเภอเพื่อเธอคนเดียว ของนารีนาท เชื้อแหลม (ลิลลี่ ได้หมดถ้าสดชื่น))
  • สุขเถิดบัวคำ (2562)
  • เงินเกเร (2562)
  • คอยรักอยู่ปักษ์ใต้ (2562)
  • คนสร้างสุข (2562)
  • สาวหนาวฝน (2562)
  • เหล้าซื้อเองหรือเปล่า (2562) (ล้อเลียน โสดจริงหรือเปล่า ของวงแทมมะริน)
  • รักเศร้าวันเผาผี (2562)
  • นี่แหละชีวิต (2562)
  • เป็นแฟนเก่าให้เจ้าก่ะได้ (2562)
  • ไม่ขวางทางรัก (2562)
  • ไปดีเถิดน้อง (2562)
  • ประชุมสายเมียน้อย (2562)
  • วันนี้ไม่มีน้ำตา (2562)
  • ให้เป็นคือเก่าได้บ่ (2562)
  • เป็นได้แค่คนที่รอ (2562)
  • เสียวัวเสียแฟน (2562)
  • น้ำตาคนขายเบอร์ (2562)
  • ขอตายก่อนเจอน้อง (2562)
  • ชุมชนอลเวง (2562)
  • เกิดชาติไหนก็แล้วแต่ขอมีแม่คนเดิม (2562)
  • แกล้งหึงฉันเพื่อปันใจ (2562)
  • มาลัยชีวิต (2562)
  • แวววับกลับเอง (2562)
  • ความลับไม่มีในโลก (2562)
  • ขอจนบนความจริง (2562)
  • ฆ่ารัก (2563)
  • มะล่องก่องแก่งมะเร็งตับ (2563) (ล้อเลียน มะล่องก่องแก่ง ของสุพจน์ กุลสอน (พจน์ สายอินดี้))
  • ขี้หกแล้วหล่าว (2563)
  • คว่ำหม้อ (2563) (ล้อเลียน เฝ้าหมอ ของ วีรยา โยธาจันทร์ (เตย))
  • นกกวักมหาเสนียด (2563) (ล้อเลียน นางกวักมหาเสน่ห์ ของ เสรี รุ่งสว่าง)
  • ขายควายให้วัวเรียน (2563)
  • กลอนโนราห์ บูชาพ่อท่านคล้าย (2563)
  • สัญญารักคำชะโนด (2563)
  • ซุปเปอร์สามยอดชาย ตู่ ป้อม เทือก (2563) (ล้อเลียน ซุปเปอร์วาเลนไลน์ (เจน นุ่น โบ) ของวงซุปเปอร์วาเลนไลน์)
  • กักตัวในห้องน้ำ (2563) (ล้อเลียน กักตัวที่ห้องอ้าย ของพัทธ์ธิรา สิงห์ศร และสิริรัตน์ รังภูรีย์ (มีนนี่-กีตาร์ ได้หมดถ้าสดชื่น))
  • ฉันผิดเวลา (2563) (ล้อเลียน รักผิดเวลา ของรัชนก สุวรรณเกตุ (เจนนี่ ได้หมดถ้าสดชื่น))

อัลบั้ม พื้นบ้านตำนานเพลง (ก่อนปี 2558)

  • อยากบวชให้แม่
  • ดวงดาวไม่มีแสง
  • ข้าด้อยเพียงดิน
  • อ้ายบ่หล่อ
  • รอเป็นผัวหลวง
  • จากใจเมียหลวง
  • ฝากน้องถึงห้องนอน
  • โลกแห่งจินตนาการ
  • สาวผมงาม
  • กิ๊กสแป
  • ปัญญาไทย IT
  • วัวชนคนเลี้ยง

อัลบั้ม แสงไฟจากใจแฟน (ก่อนปี 2558)

  • แสงไฟจากใจแฟน
  • ขอบคุณที่เธอรัก
  • อ้อนเมียหลวงขอมีน้อย
  • วันนี้ที่บ้านนา
  • เพียงพอตามรอยพ่อหลวง
  • หนุ่มตะลุงรำพัน
  • สังคมวันนี้
  • อนุรักษ์ลูกทุ่ง

อัลบั้ม พระเอกนายหนัง (ก่อนปี 2558)

  • พระเอกนายหนัง
  • กลิ่นฟางนางลืม
  • ตัดท่องวันน้องแต่ง
  • ขอต่ออีกคืน
  • ดวงมารยอดรัก
  • เดี๋ยวฆ่ากันตาย
  • ต้องตายด้วยความคิดถึง
  • ผัดไข่รอน้อง
  • ภูมิปัญญารักษาไทย
  • ห่วงจังเลย
  • อย่าลืมแม่

อัลบั้ม ลมหายใจในโรงพัก (ก่อนปี 2558)

  • แกงเป็ดเห็ดผัด
  • ข้าวยำน้ำบูดู
  • จุดเทียนเวียนหลาด (ล้อเลียน จุดเทียนเวียนเมีย ของวงลูกคลัก)
  • ชอบคนสวย
  • ผัวเมียเสียสละ
  • พรก
  • รัดดวง (ริดสีดวง)
  • ลมหายใจในโรงพัก
  • ส่งน้องถึงห้องน้ำ
  • หยบโทร
  • เห็นดูไข่

อัลบั้ม รอธารน้ำใจ (2560)

  • ธนาคารความรัก
  • รอธารน้ำใจ
  • เมฆบังฟ้า
  • วอนดาวเดือนเตือนน้อง
  • สยามนามไทย
  • พันปีไม่เปลี่ยน
  • เทพธิดาหลงฟ้า
  • สัจจธรรมชีวิต
  • สาวลืมบ่าวแล้ว
  • หลง

หนังตะลุง

  • ดอกไม้ในมือมาร
  • แรงบุญช่วยมารดา
  • บุญกรรมผู้ลิขิต
  • วังแม่ลูกอ่อน
  • ศิลปิน ศีลธรรม
  • วิวาห์อลเวง
  • บังลังก์รัก
  • เทพบุตรจำแลง
  • รักข้ามภพ
  • ทางรักพิทักษ์ธรรม
  • สาวงาม สามพระยา
  • กลหลคนสองเพศ
  • กำแพงศักดินา
  • ฮาสองหน
  • เอียดนุ้ยปะทะน้องเดียว ดับเบิ้ลฮา
  • เอกชัย ปะทะ น้องเดียว

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 ฝั่งชลจิตร, จำลอง (31 มกราคม 2555). "หนังน้องเดียว". คมชัดลึก. คมชัดลึก. สืบค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. 2.0 2.1 2.2 นิลปัทม์, สมัชชา. "สื่อสันนิวาส : ลมหายใจปลายด้ามขวาน 'ตาใน' ของ 'น้องเดียว'". รูสมิแล. Vol. 34 no. 2. ปัตตานี: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. สืบค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2563. {{cite magazine}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  3. บัวบาล, เจษฎา (20 สิงหาคม 2562). ""หนังตะลุง" ศิลปะที่สอนจริยธรรมนอกกรอบศาสนา กรณีศึกษาจากหนังตะลุง "น้องเดียว"". ศิลปวัฒนธรรม. มติชน. สืบค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. 4.0 4.1 ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี (10 กรกฎาคม 2559). "Share ชีวิต (9 ก.ค.59) นายหนังตะลุงลูกทุ่งวัฒนธรรม บัญญัติ สุวรรณแว่นทอง". สืบค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. อินทศิลา, ไพฑูรย์ (29 มีนาคม 2558). "ฮือฮา.!คอนเสิร์ตหนังตะลุง"น้องเดียว "ตาบอดยอดอัจฉริยะ". สืบค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. ไทยรัฐออนไลน์ (29 ตุลาคม 2558). "พม.ยกย่องเชิดชูเกียรติ'หนังน้องเดียว'คนพิการต้นแบบสู้ชีวิต". ไทยรัฐออนไลน์. ไทยรัฐ. สืบค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. โพสต์ทูเดย์ (28 กันยายน 2559). "ปลื้ม!"นายหนังตะลุงตาบอดยอดอัจฉริยะ"รับพระราชทานปริญญาบัตร". โพสต์ทูเดย์. โพสต์ทูเดย์. สืบค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ (5 มิถุนายน 2562). "รางวัล ค่าของแผ่นดิน ด้านการส่งเสริมและอนุรักษ์ภาษาท้องถิ่น". สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี. คลังทรัพยากรการศึกษาแบบเปิด. สืบค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (5 มิถุนายน 2562). "พิธีมอบรางวัล "ค่าของแผ่นดิน"". สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี. คลังทรัพยากรการศึกษาแบบเปิด. สืบค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  10. โพสต์ทูเดย์ (7 กุมภาพันธ์ 2562). ""หัวใจไม่บอด"น้องเดียวนายหนังตะลุงดังผู้พิการสายตาควงภรรยาจดทะเบียนสมรส". โพสต์ทูเดย์. โพสต์ทูเดย์. สืบค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  11. เนชั่น (8 พฤศจิกายน 2562). "เปิดตัวเมีย "น้องเดียว" นายหนังตะลุงตาบอด ผู้ชายจีบทั้งซอย คนรวยประเคนรถเก๋ง สินสอดครึ่งล้าน!". เนชั่นทีวี. เนชั่นมัลติมีเดียกรุ๊ป. สืบค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  12. MGR Online (15 เมษายน 2556). "ชาวห้วยยอดประท้วง "หนังน้องเดียว" เบี้ยวแสดงตะลุง". ผู้จัดการออนไลน์. ผู้จัดการ. สืบค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  13. 13.0 13.1 13.2 ผู้จัดการออนไลน์ (22 ตุลาคม 2562). "ไขปมไฟในใจ "นายหนังตาบอด" กับบทเรียน "น้ำผึ้งหยด(น้อง)เดียว" อันมากค่าต่อสังคม?!". ผู้จัดการออนไลน์. ผู้จัดการ. สืบค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  14. อมรินทร์ทีวี (26 ตุลาคม 2562). "นายกฯศิลปินพื้นบ้าน จี้ "หนังน้องเดียว" ขอขมายุติดราม่า แสดงตะลุงหมิ่นสงฆ์". อมรินทร์ทีวี. อมรินทร์ทีวี. สืบค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  15. อมรินทร์ทีวี (27 ตุลาคม 2562). "ครูมาเอง! "เอกชัย" โทรเตือนสติ "น้องเดียว หนังตะลุง" 【Hot Uncut】 ประเด็นร้อน one บันเทิง". ช่องวัน. จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่. สืบค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  16. คมชัดลึก (29 เมษายน 2563). "'น้องเดียว หนังตะลุง' ซัดแหลกท้ามาจับที่บ้าน ลั่นอย่ามาด่าว่าไอ้บอด". คมชัดลึก. คมชัดลึก. สืบค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  17. ข่าวสด (4 ธันวาคม 2562). "อีกแล้ว! "หนังน้องเดียว" แจ้งจับเมียเชิดเก๋ง-สมุดคิวงาน หลังเมียจับได้มีกิ๊ก". ข่าวสดออนไลน์. ข่าวสด. สืบค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  18. เดลินิวส์ (5 ธันวาคม 2562). "'จิ๊ป'ยันไม่ได้หนีไปไหน ทนายแฉ'น้องเดียว'ไม่รับสายเมีย". เดลินิวส์. เดลินิวส์. สืบค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  19. ข่าวสด (14 ธันวาคม 2562). "หนังน้องเดียว ตั้งโต๊ะแถลง ปมช็อกสมุดเงินฝาก รับมีเมียใหม่ เผยเรื่องที่ทำน้ำตาตก". ข่าวสดออนไลน์. ข่าวสด. สืบค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น