พาหุสัจจะ
หน้าตา
ส่วนหนึ่งของชุดบทความ |
ศาสนาพุทธ |
---|
![]() |
พาหุสัจจะ (บาลี: พาหุสฺสจฺจ, จาก พหุสฺสุต + -ณฺย ปัจจัยในภาวตัทธิต) แปลว่า ความเป็นผู้ได้สดับตรับฟังมาก หมายถึงการได้ศึกษาเล่าเรียนมาก การมีความรู้ประสบการณ์มาก เรียกบุคคลผู้มีภาวะอย่างนั้นว่าพหูสูต คือผู้ได้ศึกษาเล่าเรียนมากมาก ผู้มีความรู้มาก ผู้คงแก่เรียน นักปราชญ์ หนังสือบางฉบับเรียกว่า "หัวใจนักปราชญ์"
พาหุสัจจะ เกิดจากการศึกษา และการศึกษาที่ดีเกิดจากการศึกษา ๔ แบบ คือ ศึกษาด้วยการฟัง ด้วยการคิด ด้วยการสอบถาม และด้วยการจดจำบันทึก
มีคาถาบทหนึ่งที่ถือว่าเป็น หัวใจนักปราชญ์ คือ "สุ จิ ปุ ลิ วินิมุตโต กถํ โส ปณฺฑิโต ภเว" แปลว่า ผู้ปราศจาก สุ จิ ปุ ลิ จะเป็นบัณฑิตได้อย่างไร
- สุ ย่อมาจาก สุต (จาก สุ ธาตุ) แปลว่า ฟัง, ได้ยิน
- จิ ย่อมาจาก จินฺต (จาก จินฺตฺ ธาตุ) แปลว่า คิด
- ปุ ย่อมาจาก ปุจฺฉา (จาก ปุจฺฉฺ ธาตุ) แปลว่า ถาม
- ลิ ย่อมาจาก ลิขิต (จาก ลิขฺ ธาตุ) แปลว่า จด, เขียน
อ้างอิง
[แก้]- พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ. ๙ ราชบัณฑิต พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด, วัดราชโอรสาราม กรุงเทพฯ พ.ศ. 2548